เซเว่น อีเลฟเว่น มอบโอกาสเพื่อผู้พิการทางสายตา ผ่าน “เมนูอักษรเบรลล์”

เซเว่น อีเลฟเว่น มอบโอกาสเพื่อผู้พิการทางสายตา ผ่าน “เมนูอักษรเบรลล์”

เซเว่น อีเลฟเว่น มอบโอกาสเพื่อผู้พิการทางสายตา ผ่าน “เมนูอักษรเบรลล์”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณคิดว่าการสร้างนวัตกรรมสักอย่าง ต้องยิ่งใหญ่แค่ไหน ต้องใช้ทุนเท่าไหร่ หรือต้องล้ำหลุดโลกขนาดไหน? ถ้านวัตกรรมที่คุณกำลังนึกถึงคือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนคนทั้งโลก อาจไม่ใช่กับสิ่งนี้ เพราะนวัตกรรมที่เรากำลังจะพูดถึงไม่ได้เปลี่ยนคนทั้งโลก แต่เปลี่ยนโลกของคนตาบอดให้สามารถมีชีวิตประจำวันที่ง่ายขึ้น และได้เลือกในสิ่งที่เขาเหล่านั้นไม่เคยได้เลือก โดยเริ่มต้นขึ้นจากจุดเล็กๆ สู่แรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ในใจใครหลายคน

สำหรับคนหลายคน เวลาเข้าร้าน “เซเว่น อีเลฟเว่น” คือเวลาแห่งความสนุกที่จะได้เลือกซื้อของกิน ของใช้ต่างๆ ในแต่ละวัน รวมถึงยังคอยมองหาขนมหรือของกินใหม่ๆ มาลองทานอยู่เสมอ แต่ไม่ใช่กับผู้พิการทางสายตา เพราะเขาเหล่านี้ไม่มีแม้แต่โอกาสจะได้เลือกในสิ่งที่ชอบ เพราะการที่พวกเขาจะรู้ว่าในร้านนั้นมีของสิ่งใดบ้าง เป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่ง

เพราะสังเกตอย่างใส่ใจ จึงเกิดเป็นทางแก้ปัญหาใหม่

สิ่งที่เซเว่น อีเลฟเว่น ได้เรียนรู้จากการใส่ใจ สังเกตลูกค้าผู้พิการทางสายตา คือ ลูกค้ามักสั่งแต่เมนูซ้ำเดิมอยู่ทุกวัน เนื่องจากพวกเขาไม่ทราบว่า มีเมนูอะไรที่สามารถสั่งได้อีกบ้าง จึงเกิดเป็นไอเดียในการทำ “เมนูอักษรเบรลล์” เพื่อผู้พิการทางสายตาได้รับรู้เมนู ไม่ต่างกับที่พวกเรามองเห็น เปรียบเสมือนการเป็นดวงตาให้หนึ่งในกิจกรรมในชีวิตประจำวันของพวกเขา ได้มีโอกาสในการเลือกเมนูที่ตนเองสนใจได้ เหมือนกับคนปกติ

โดยเมนูอักษรเบรลล์นี้ ไม่ได้เป็นเพียงการแปลภาษาเป็นอักษรเบรลล์ธรรมดาเท่านั้น แต่ได้ศึกษาและได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจาก ‘ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด’ ที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือในเรื่องการจัดพิมพ์หนังสืออักษรเบรลล์ในทุกขั้นตอนจนทำให้ได้เมนูอักษรเบรลล์เพื่อผู้พิการทางสายตาออกมาเป็นรูปเล่ม

อาร์ม-ธีรเมธ สัมพันธสิทธิ์ (ซ้ายสุด) และ อาร์ม-อรรถพล ชนะมาร (ขวาสุด)อาร์ม-ธีรเมธ สัมพันธสิทธิ์ (ซ้ายสุด) และ อาร์ม-อรรถพล ชนะมาร (ขวาสุด)

จากประสบการณ์ฝึกงานสู่แรงบันดาลใจ

นวัตกรรมที่สร้างประโยชน์และความประทับใจให้กับผู้พิการทางสายตาได้มากขนาดนี้ หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่ามีจุดเริ่มต้นจากการฝึกงาน โดย “ธีรเมธ สัมพันธสิทธิ์” และ “อรรถพล ชนะมาร” สองนวัตกรหนุ่มน้อย ที่ได้เข้าไปฝึกปฏิบัติงานจริงที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ใกล้กับย่านที่มีผู้พิการทางสายตาอาศัยอยู่ เมื่อครั้งเรียนอยู่ในชั้นปวช. สาขาธุรกิจค้าปลีก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ จึงได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกงาน มาสร้างเป็นนวัตกรรม “เมนูอักษรเบรลล์เพื่อผู้พิการทางสายตา” และได้นำมาใช้จริงในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในที่สุด

เสียงสะท้อนแห่งความภูมิใจ

เมื่อทำสำเร็จแล้ว เมนูเล่มนี้ได้ถูกนำมาให้ผู้พิการทางสายตาที่มาใช้บริการในร้าน ได้ลองใช้และสั่งของจริง ซึ่งก็ช่วยให้เขาเหล่านั้นเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายมากขึ้น จนมีเสียงสะท้อนกลับมาจากผู้ใช้งานว่า ดีใจที่มีคนใส่ใจและนึกถึง ซึ่งนำความภาคภูมิใจมาสู่ผู้คิดค้น และชาวเซเว่น อีเลฟเว่นทุกคนเป็นอย่างมาก ที่ได้พัฒนานวัตกรรมการบริการ สร้างประโยชน์ที่แตกต่างให้กับลูกค้าที่แม้จะเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่เซเว่น อีเลฟเว่นตระหนักถึงความสำคัญเสมอ และยังได้ช่วยเหลือผู้พิการที่อาจมีความยากลำบากในการใช้ชีวิต ให้สามารถเลือกเติมความสุขจากเมนูในร้าน ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

โครงการต่อยอด และการขยายผลในอนาคต

หลังจากประสบความสำเร็จจากการทำเมนูอักษรเบรลล์แล้ว เซเว่น อีเลฟเว่นยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ด้วยยังหวังสร้างโครงการพัฒนาเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง

จากการที่ผู้พิการทางสายตาในสมัยนี้สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ จึงมีการนำแนวคิดของ ‘เมนูอักษรเบรลล์’ ไปพัฒนาต่อเป็น ‘แอปฯ ในรูปแบบเสียง’ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้พิการทางสายตามากขึ้น พร้อมกับเพิ่มหมวดสินค้าลงในเมนูเพื่อเพิ่มความหลากหลาย โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัยอยู่ นอกจากนี้ยังได้มองไปถึงการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางด้านอื่นๆอย่าง ผู้พิการที่นั่งรถเข็น อีกด้วย

พลังของการสังเกตุเรื่องราวที่เกิดขึ้นใกล้ตัว และไอเดียการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งต่อสังคม ด้วยนวัตกรรม ‘เมนูอักษรเบรลล์’ ของนักเรียนตัวเล็กๆ เพียงแค่ 2 คน และความตั้งใจของ เซเว่น อีเลฟเว่น ที่จะช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาให้ได้รับความสะดวกสบายในชีวิตมากขึ้น จึงนับเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวน่าภูมิใจที่เกิดขึ้นในสังคม ตรงตามปณิธานของซีพี ออลล์ ที่มุ่งมั่นอยู่เสมอ นั่นคือ “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”

(Advertorial)

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook