ฝนตกกว่า 10 ชั่วโมง ส่งผลให้น้ำเทือกเขาภูพานเริ่มหลาก จนท.เฝ้าระวังใกล้ชิด

ฝนตกกว่า 10 ชั่วโมง ส่งผลให้น้ำเทือกเขาภูพานเริ่มหลาก จนท.เฝ้าระวังใกล้ชิด

ฝนตกกว่า 10 ชั่วโมง ส่งผลให้น้ำเทือกเขาภูพานเริ่มหลาก จนท.เฝ้าระวังใกล้ชิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (16 ก.ค. 2561) เวลา 17.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่ฝนได้ตกลงมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบชั่วโมงที่ผ่านมา พบว่าปริมาณน้ำบนเทือกเขาภูพานที่กินพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดสกลนครประกอบด้วย อำเภอเมือง, พรรณนานิคม, นิคมน้ำอูน, ภูพาน, ส่องดาว และอำเภอสว่างแดนดิน เริ่มทะลักลงมาสู่พื้นที่ที่ลาดลุ่มทั้งลำห้วย และอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณเพิ่มปริมาณเพิ่มสูง เช่นที่ลำห้วยกุดนาแซง ที่จะไหลลงสู่ลำน้ำอูน

ทำให้ถนนระหว่างบ้านสายร่องข่า ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานิคม จ.สกลนคร ถึงบ้านโนนกุง ต.นางัง อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ถูกน้ำกัดเซาะขาดระยะทาง 50 เมตร ปริมาณน้ำท่วมสูง 1 เมตร ส่งผลให้สัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านไม่ได้

นางพรทิพย์ เขื่อนกองแก้ว ชาวบ้านถ่อน ต.เชิงชุม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร บอกว่า ฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้ลำห้วยเกิดน้ำหลาก โดยเฉพาะลำน้ำอูนที่ผ่านพื้นที่อำเภอพรรณานิคมที่เอ่อท่วมทุกปี

ปีที่แล้วปริมาณน้ำสูงเมตรกว่า ปีนี้น่าจะเท่าๆ กัน ซึ่งมีฝนตกอีก 1-2 วันนี้จะเกิดน้ำท่วมเหมือนปีที่แล้ว

ทั้งนี้สำนักงานชลประทานจังหวัดสกลนครรายงานระดับน้ำ ลำน้ำสงคราม ลำน้ำยาม ลำห้วยปลาหาง ลำน้ำก่ำ ลำน้ำพุง และลำน้ำอูน คิดเป็น 76.67 เปอร์เซ็นต์ ของความจุน้ำ และค่าเฉลี่ยมีปริมาณน้ำสูงกว่าฝั่ง 00.50 เชนติเมตร – 80.00 เซนติเมตร

ส่วนหนองหารวันนี้ (16 ก.ค. 2561) ระดับเก็บกัก 157.000 ม.รทก. ระดับเก็บกัก 156.370 ม.รทก. ปริมาณน้ำเก็บกัก 266.924 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำเก็บกักวันนี้ 189.416 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 70.96 ปริมาณน้ำระบายสะสม 226.093 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่าง 13.491 ล้านลบ.ม. ต่อวัน ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสม 327.089 ล้าน ลบ.ม.

นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้ให้เจ้าหน้าที่ยกบานประตูน้ำหนองหาร สูง 3 เมตร ทั้ง 3 บาน และพร่องน้ำออกจากหนองหารได้ 16 ล้าน ลบ.ม./วัน พร้อมระบุว่าจะต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำให้รอบคอบ รอบด้าน

เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ปริมาณฝน หรือพายุเพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ แต่เราสามารถเตรียมความพร้อมรับมือได้ คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น โดยการพร่องน้ำอย่างเป็นระบบ และต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook