ลงชื่อ-นามสกุลหลังสลากฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเจ้าของ

ลงชื่อ-นามสกุลหลังสลากฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเจ้าของ

ลงชื่อ-นามสกุลหลังสลากฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเจ้าของ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากกรณีของคดีหวย 30 ล้านบาท ที่ยังหาเจ้าของที่แท้จริงอย่างแน่ชัดไม่ได้ ทำให้เกิดกระแสและคำถามขึ้นมาในสังคมว่า ผู้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลควรทำอย่างไร เพื่อพิสูจน์หรือยืนยันว่าสลากฯ ใบนั้นเป็นของตัวเอง โดยมีการแนะนำให้เขียนชื่อ-นามสกุล เอาไว้ด้านหลัง แต่ก็กลับพบว่า การสลักชื่อลงไปนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะแสดงความเป็นเจ้าของในสลากฯ ใบนั้น

สำนักข่าวพีพีทีวีได้สอบถามกับ ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย โฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า การเขียนชื่อและนามสกุลลงไปด้านหลังสลากกินแบ่งรัฐบาล ไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นเจ้าของสลากฯ แต่เป็นเพียงผู้ครอบครองเท่านั้น

หากมีคนขโมยสลากฯ โดยที่ไม่ได้มีการแจ้งอายัดสลากฯ หรือไม่มีคำสั่งศาลมาถึงสำนักงานสลากฯ ก็ต้องทำการออกเงินรางวัลให้กับผู้ที่มาขึ้นเงิน เพราะไม่ถือว่ายักยอกสลากฯ มา ดังนั้นหากสลากฯ ที่ถูกรางวัลหายไป หลังจากที่มีการออกผลรางวัลไปแล้ว สำนักงานสลากฯ ทำได้เพียงระงับอายัดการจ่ายรางวัลเท่านั้น

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ ยังระบุว่า สลากกินแบ่งฯ เป็นเพียงทรัพย์สินทั่วไป ควรเก็บไว้อย่างดีเหมือนของมีค่า ระวังไม่ควรทำหาย และจดจำ 3 สิ่งที่สำคัญบนสลากฯ คือ เลข 6 ตัวบนสลากฯ เลขชุด และเลขงวดบนสลากฯ ที่จะเป็น 3 จุดสำคัญในการลงบันทึกประจำวันและบ่งบอกได้ว่าสลากฯ ใบนี้เป็นของตัวเอง

ทั้งนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น นาย ก. ถูกสลากฯ รางวัลที่ 5 ก่อนจะนำไปแลกรางวัลหรือขายสลากฯ ให้กับร้านค้าแผงที่ซื้อมา ถือว่าเป็นการซื้อขาด ทางร้านค้าก็จะจ่ายเงินและนำสลากฯ ใบนั้นมาขึ้นรางวัลแทน ร้านค้าจะรวบรวมรางวัลทั้งหมดมาขึ้นเงินกับสำนักสลากฯ หากสลากฯ ใบนั้นไม่มีปัญหาก็จะดำเนินจ่ายเงินให้ทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook