คุณชายอดัม เผยความหมาย "กราบบังคมลา" ไม่เหมาะใช้โพสต์

คุณชายอดัม เผยความหมาย "กราบบังคมลา" ไม่เหมาะใช้โพสต์

คุณชายอดัม เผยความหมาย "กราบบังคมลา" ไม่เหมาะใช้โพสต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(27 ต.ค.) หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เฉลิมชาตรี ยุคล แนะนำเรื่องประโยคที่ใช้ในการโพสต์ลงโซเชียล โดยระบุว่า "นั่งอ่านโพสต์หลายท่านแสดงความอาลัยถวาย เห็นว่ามีโพสต์ที่หลายๆคนเขียน “กราบบังคมลา / กราบบังคมทูลลา” พระองค์ท่านอยู่ คือแบบนี้ครับ ....อย่าไปกราบบังคมทูลลาท่านเลยครับ

ปกติแล้วถ้าผมจะไปกราบบังคมทูลลาพระเจ้าแผ่นดิน ก็หมายความว่าผมจะลาไปตายนะครับ ผมเชื่อว่าคงยังไม่มีใครอยากลาใครไปตายในเวลานี้นะครับ เราอยากถวายความอาลัยมากกว่าครับ ดังนั้น การกราบบังคมลา / กราบบังคมทูลลา แปลว่า ลาไปตายน่ะครับ ......

ปล. มีห้องห้องหนึ่งในพระบรมมหาราชวังที่เป็นห้องให้ญาติเรานำจดหมายไป “กราบบังคมทูลลา” อยู่ครับ ถ้าอยากกราบบังคมทูลลาก็แจ้งแล้วเข้าไปกราบบังคมทูลลาได้ที่ห้องนี้ครับ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยโพสต์เฟซบุ๊กแนะนำแนวทางการใช้ถ้อยคำไว้ โดยความตอนหนึ่งระบุว่า

คำว่า "กราบบังคมลา/กราบบังคมทูลลา" ใช้ในเวลาที่ข้าราชการหรือข้าราชสำนักตาย แล้วทำหนังสือกราบบังคมทูลลาพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต ไม่ใช้คำนี้กับพระองค์ท่าน

ถ้าจะกล่าวในทำนองว่าถวายความเคารพแด่พระองค์ท่าน ใช้ว่า "กราบถวายบังคม" หรือ "น้อมถวายบังคม" โดยไม่มีคำว่า "ลา/ทูลลา"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook