เจ้าหน้าที่ตรวจค่าก๊าซพิษบ่อบำบัดน้ำเสีย 5 ศพ ไม่พบผิดปกติ

เจ้าหน้าที่ตรวจค่าก๊าซพิษบ่อบำบัดน้ำเสีย 5 ศพ ไม่พบผิดปกติ

เจ้าหน้าที่ตรวจค่าก๊าซพิษบ่อบำบัดน้ำเสีย 5 ศพ ไม่พบผิดปกติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พ.ต.ท.สมเกียรติ นนทแก้ว รองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสารณภัย หรือ ปภ. เปิดเผยเหตุ นักศึกษาสัตวแพทย์ฝึกงานพลัดตกลงในบ่อบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานย่านบางนา ก่อนที่เพื่อนและคนในโรงงานจะลงไปช่วย แต่เสียชีวิตด้วยกันรวม 5 คน ว่าในส่วนของขั้นตอนการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ หรือ การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพื้นที่อับอากาศ โดยเฉพาะสถานที่เป็นพื้นที่ปิดหรือมีช่องทางอากาศและออกซิเจนเข้าได้น้อย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เครื่องช่วยหายใจ และต้องมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณอย่างชัดเจน ให้ผู้ที่อยู่ด้านบนเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะผูกด้วยเชือกหรือไฟฉาย

รวมถึงก่อนที่จะลงปฏิบัติงานต้องรู้ว่าสถานที่นั้นมีก๊าซชนิดใดอยู่ภายในเพราะก๊าซแต่ละชนิดทำอันตรายต่อร่างมนุษย์แตกต่างกัน แต่โดยส่วนมากตามสถานที่อับอากาศหรือบ่อบำบัดน้ำเสียที่มักจะเกิดเหตุบ่อยครั้ง จะมีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า ซึ่งทำอันตรายต่อระบบการหายใจของมนุษย์ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เป็นเหตุให้หมดสติและเสียชีวิต โดยผู้ที่จะเข้าช่วยเหลือต้องมีอุปกรณ์และความรู้ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

นายอนันต์ พรหมดนตรี ผู้อำนวยการงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สมุทรปราการ  เปิดเผยภายหลังนำเจ้าหน้ากรมควบคุมมลพิษ เข้าตรวจสอบค่าปริมาณก๊าซพิษภายในบ่อบำบัดน้ำเสีย ภายในโรงงานที่นักศึกษาและคนงานพลัดตกลงไปเสียชีวิต 5 ราย พบว่า ปริมาณค่าก๊าซแอมโมเนียอยู่ในระดับ 42 พีพีเอ็ม (ปริมาณที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ อยู่ที่ 300 พีพีเอ็ม) และก๊าซไข่เน่าหรือก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ อยู่ที่ระดับ 11 พีพีเอ็ม (ปริมาณที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ อยู่ที่100)

ซึ่งก๊าซทั้งสองตัว อยู่ในระดับต่ำกว่าข้อกำหนด ที่จะสามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ ส่วนการตรวจสอบฝาปิดท่อที่เกิดเหตุพบว่าอยู่ในสภาพปกติ ไม่ร่องรอยการผุกร่อน จึงไม่สรุปได้ว่าพลัดตกลงไปได้ หรืออาจจะมีการเปิดทิ้งไว้ ต้องรอเจ้าหน้าพิสูจน์หลักเข้าตรวจสอบอีกครั้ง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook