ลิงกังดำในอินโดนีเซียเสี่ยงสูญพันธุ์ เหตุเพราะชาวบ้านนิยมกินเนื้อ

ลิงกังดำในอินโดนีเซียเสี่ยงสูญพันธุ์ เหตุเพราะชาวบ้านนิยมกินเนื้อ

ลิงกังดำในอินโดนีเซียเสี่ยงสูญพันธุ์ เหตุเพราะชาวบ้านนิยมกินเนื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลิงกังดำ หรือ Black crested macaques กำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทั้งจากถิ่นที่อยู่อาศัยลดน้อยลง และเนื้อของมันยังเป็นอาหารอันโอชะของชาวท้องถิ่นอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ มีรายงานว่า ลิงกังดำที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ของอินโดนีเซียนั้น มีจำนวนลดลงทุกที สาเหตุมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันเหลือน้อยลง อีกทั้งพวกมันยังถูกล่าโดยชาวบ้านในท้องถิ่นห่างไกล เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร

Yunita Siwi นักกิจกรรมผู้ก่อตั้งโครงการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกลิงกล่าวว่า  ลิงพวกนี้มีที่อยู่อาศัยลดน้อยลง ก็ทำให้พวกมันมีจำนวนน้อยลงมากแล้วยังต้องเจอปัญหาการถูกไล่ล่าเพื่อเป็นอาหารอีก โดยคนพื้นเมืองของเกาะ Sulawesi นิยมรับประทานเนื้อของลิงพวกนี้

เจ้าหน้าที่และนักกิจกรรมได้พยายามจะหาทางทำให้ชาวเกาะ Sulawesi เลิกกินเนื้อลิงที่ใกล้จะสูญพันธุ์เหล่านี้ พวกมันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Macaca nigra พวกมันเป็นสัตว์ป่าที่พบได้ในอินโดนีเซีย เป็นลิงที่เฉลียวฉลาดและไม่ก้าวร้าว ปัจจุบันมีลิงกังดำประมาณ 2,000 ตัวอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวน พื้นที่ 21,750 เอเคอร์ ในอินโดนีเซีย แต่ก็ยังมีอีกประมาณ 3,000 ตัว ที่อาศัยอยู่นอกเขต ทั้งในป่า และที่อื่น ๆ ทางตอนเหนือของเกาะ Sulawesi ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกล่า

Nita วัย 32 ปีบอกว่า เขาชอบรสชาติของเนื้อลิงกังดำ มันเผ็ดร้อน คล้าย ๆ กับเนื้อหมูป่า หรือเนื้อสุนัข เนื้อลิงกังดำนี้ ยังถูกนำมาขายกับเนื้อสัตว์แปลกอีกหลายอย่าง เช่นเนื้องู เนื้อค้างคาว เนื้อสุนัข ธุรกิจท่องเที่ยวมีการนำเสนอเนื้อสัตว์แปลกให้ลูกทัวร์ชาวต่างชาติได้ลิ้มลอง ยิ่งปริมาณความต้องการเนื้อลิงสูง นักล่าก็ต้องเข้าไปล่ากันในท้องที่ห่างไกลมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนของลิงกังดำที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติบนเกาะ Sulawesi นั้นลดลงมากกว่า 80 เปอร์เซนต์ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่เคยมีลิงพวกนี้อยู่ประมาณ 300 ตัวต่อตารางกิโลเมตร ในปี 1980 เหลือเพียงแค่ 45 ตัว ต่อตารางกิโลเมตร ในปี 2011

กลุ่มนักกิจกรรมกล่าวว่า จำนวนที่ลดน้อยลงอย่างมาก ทำให้ต้องมีโครงการปกป้องพวกมัน ทั้งการให้ความรู้แก่ชาวบ้าน การบรรจุเรื่องราวของการอนุรักษ์ลงไปในหลังสูตรการศึกษา รวมทั้งการออกกฏหมายลงโทษผู้ล่าด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook