ปอท.เปิดโครงการห้ามมึน ห้ามซื่อห้าม ขี้เกียจ

ปอท.เปิดโครงการห้ามมึน ห้ามซื่อห้าม ขี้เกียจ

ปอท.เปิดโครงการห้ามมึน ห้ามซื่อห้าม ขี้เกียจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปอท. เปิดโครงการป้องกันคาถากันภัยผู้ใช้อีเมล์และมนุษย์เฟซบุ๊ก 'ห้ามมึน ห้ามซื่อ ห้ามขี้เกียจ'

พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย ผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. แถลงเปิดโครงการประชาสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนและข้าราชการตำรวจ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อ "คาถากันภัยผู้ใช้อีเมล์และมนุษย์เฟซบุ๊ก "ห้ามมึน ห้ามซื่อ ห้ามขี้เกียจ" โดย พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ ระบุว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความว่าถูกแฮกเฟซบุ๊กและอีเมล์หลอกผู้อื่นโอนเงินจำนวนมาก มูลค่าความเสียหายกว่า 20 ล้านบาท ทางตำรวจจึงได้ทำการสืบสวน พบว่าพฤติกรรมของคนร้ายจะใช้วิธีการสุ่มพาสเวิร์ดเฟซบุ๊ก อาทิ เบอร์โทรศัพท์ หรือ วันเดือนปีเกิด สร้างหน้าเพจเฟซบุ๊กปลอม แจ้งเตือนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กว่ารหัสผ่านจะหมดอายุ หรือ มีผู้แฮกเฟซบุ๊กอยู่ ให้กดไปที่หน้าเพจดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน ซึ่งวิธีนี้คนร้ายจะได้รหัสผ่านไปทันทีและมีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่แนบเนียน และวิธีที่ 3 คนร้ายจะปล่อย spyware เข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อดูรหัสผ่าน จึงขอฝากเตือนประชาชนห้ามตั้งรหัสผ่านเฟซบุ๊ก หรืออีเมล์ เป็นหมายเลขโทรศัพท์ หรือวันเดือนปีเกิด เนื่องจากง่ายต่อการคาดเดา หากต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านควรเข้าไปเปลี่ยนที่เว็บไซต์ของเฟซบุ๊กโดยตรง หรือใช้ระบบ OTP ที่ใช้ตั้งค่าในเฟซบุ๊กเพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเข้าใช้งานเฟซบุ๊กได้

ขณะที่การใช้งานอีเมล์ ทั้งผู้ใช้ทั่วไป และบริษัทต่าง ๆ ที่จะต้องติดต่อลูกค้าผ่านทางอีเมล์ ควรตั้งค่าระบบป้องกันพิเศษ หรือ OTP ในอีเมล์ ให้ส่งรหัสผ่าน มายังโทรศัพท์มือถือ เพื่อยืนยันก่อนใช้งาน ป้องกันคนร้ายสวมรอย หลอกให้ลูกค้าโอนเงิน และควรป้องกันตัวเองโดยสังเกตว่าหากบริษัทลูกค้า หรือมีผู้ติดต่อส่งอีเมล์แจ้งเปลี่ยนเลขที่บัญชีในการโอนเงิน จะต้องโทรศัพท์สอบถามบุคคล หรือบริษัทของลูกค้าก่อนทุกครั้ง พร้อมติดตั้งโปรแกรมสแกนไวรัสที่ถูกกฎหมาย

ทั้งนี้ ตำรวจ ปอท. ยังได้ร่วมมือกับทุกธนาคาร อบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้ความรู้กับลูกค้า ป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ และตำรวจ ปอท. ยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. ห้ามมึน อย่าเป็นผู้ใช้งานเพียงอย่างเดียว ควรสนใจหาความรู้ป้องกันอาชญากรรมใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 2. ห้ามซื่อ ควรเป็นคนช่างสังเกต ไม่หลงเชื่ออะไรง่าย ๆ เพราะทุกสิ่งในโลกออนไลน์ สามารถปลอมได้ และ 3. อย่าขี้เกียจ หากผู้ให้บริการเว็บไซต์ มีการเปิดให้ตั้งค่าระบบความปลอดภัยเพิ่มเติม


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook