ป.ป.ช.ตีตกคดีอภิสิทธิ์สลายชุมนุมปี53

ป.ป.ช.ตีตกคดีอภิสิทธิ์สลายชุมนุมปี53

ป.ป.ช.ตีตกคดีอภิสิทธิ์สลายชุมนุมปี53
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ป.ป.ช. มีมติให้ข้อกล่าวหากรณี 'นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' กับพวกสลายการชุมนุมปี 53 ตกไป แต่ชงให้สอบฟันผิดทหารต่อ

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ได้แถลงมติที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีคำร้องขอให้ถอดถอนและ คำกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และพลเอกอนุพงษ์  เผ่าจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก  กับพวก ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมนปช. จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ตามคำพิพากษาของศาลว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มิใช่การชุมนุมโดยสงบตามรธน. และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จึงมีเหตุจำเป็นที่ ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง  ซึ่งคดีการเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อปี 2553 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับดำเนินการเป็นคดีพิเศษ จึงมีมติให้ส่งเรื่องการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ทหารที่เป็นผู้กระทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว  รวมถึงนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ ซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 66 ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการต่อไปด้วยสำหรับประเด็นการกล่าวหา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา  กับพวก กรณีละเว้นไม่สั่งระงับยับยั้ง ทบทวนวิธีการ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังทหารนั้น จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์การขอคืนพื้นที่ชุมนุม ดังนั้นข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวน  ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม กับพวก ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการ ในเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาเล็งเห็นผลแต่อย่างใด คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปเช่นกัน


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook