เยียวยาจิตใจแม่ท้องเหยื่อฆาตกร 5 ศพ ทำใจไม่ได้สูญเสียลูกและหลาน

เยียวยาจิตใจแม่ท้องเหยื่อฆาตกร 5 ศพ ทำใจไม่ได้สูญเสียลูกและหลาน

เยียวยาจิตใจแม่ท้องเหยื่อฆาตกร 5 ศพ ทำใจไม่ได้สูญเสียลูกและหลาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหยื่อฆาตรกร 5 ศพ ทีมจิตแพทย์เตรียมเข้าเยี่ยม เยียวยาจิตใจแม่ท้อง หลังอยู่ในอาการโศกเศร้

ทีมจิตแพทย์โรงพยาบาลสวนปรุงเตรียมเข้าเยี่ยมเหยื่อฆาตกร 5 ศพ หวังฟื้นฟูสภาพจิตใจ พร้อมเข้าดูสภาพจิตผู้ต้องหา ก่อนหาข้อสรุปคดี ด้านรักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุงเผยเชียงใหม่มีผู้ป่วยทางจิตประมาณ 0.1% ต่อประชากร แนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการก่อนเกิดโศกนาฏกรรม

จากกรณี นายอาซาผะ สีวัวะ อายุ 22 ปี ผู้ป่วยทางจิตใช้มีดไล่สังหารเด็กที่บ้านใหม่หนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ จนมีเด็กเสียชีวิต 5 คน และบาดเจ็บอีก 1 คน

ล่าสุด นายแพทย์ปริทรรศ ศิลปกิจ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ พร้อมทีมแพทย์ เตรียมเข้าเยี่ยม นางยี่กอ เหยื่อฆาตรกรที่ตั้งครรภ์ 7 เดือน โดยจะเข้าไปดูอาการทางร่างกาย และเข้าไปประเมินและสอบถามสภาพจิตใจก่อนเข้าเยียวยาเพื่อให้มีสภาพจิตที่ดีขึ้น

อาการล่าสุดของ นางยี่กอ ซึ่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ มีอาการบาดเจ็บที่แขนขวา และใบหน้า แต่อาการดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตามสภาพทางจิตใจยังไม่สามารถพูดจาได้เป็นปกติ และร้องไห้ตลอดเวลา เนื่องจากยังอยู่ในอาการช็อกจากการสูญเสียบุตรจากเหตุฆาตกรรมที่เกิดขึ้น

สำหรับ นายอาซาผะ สีวัวะ ผู้ต้องหาที่ป่วยทางจิตนั้น เริ่มฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ รู้สึกตัวเป็นบางครั้ง และยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังจากอาการบาดเจ็บเลือดคลั่งในสมอง ซึ่งในส่วนของผู้ต้องหาทางทีมจิตแพทย์โรงพยาบาลสวนปรุงจะเข้าไปเฝ้าสังเกตอาการ โดยหากสามารถพูดคุยตอบโต้ได้ ทางทีมแพทย์จะมีการสอบถามเพื่อประเมิณสถานะภาพทางจิต หาเจตนา และเหตุจูงใจของการก่อเหตุ โดยจะนำข้อมูลสภาพจิตของผู้ต้องหาส่งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหาข้อสรุปของคดีต่อไป

ด้าน นายแพทย์ปริทรรศ เผยว่า ในจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ป่วยทางจิตที่รุนแรง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เฉลี่ยประมาณ 0.1% ต่อประชากร แต่ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงมากนัก และเป็นผู้เข้ารับรักษาช่วงสั้นๆ และไปกินยาต่อที่บ้านก็จะเป็นปกติยกเว้นบางรายที่อาจไปดื่มเหล้าและเสพยาที่อาจะกำเริบรุนแรง

กรณีที่เป็นผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาล ควรต้องเมตตา ไม่ควรแสดงท่าทีรังเกียจ หรือล้อเลียนยั่วยุ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเครียด ทั้งนี้จะสังเกตได้หากว่าผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ เนื้อตัวสะอาด เรียบร้อย ยิ้มแย้ม และพูดจาเป็นปกติ แต่เมื่อใดที่เริ่มผิดสังเกตก็จะมีเนื้อตัวมอมแมมมากขึ้น ไม่ค่อยดูแลตัวเอง อาจะเริ่มพูดพึมพำคนเดียว กลางคืนไม่นอนเหมือนคุยกับใคร หรือเริ่มมีอารมณ์หงุดหงิด รวมถึงบางรายมีอาการซึมแยกตัว ก็ให้ลองไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ดู

อย่างไรก็ตาม ที่กลัวมากคือสังคมจะมีทัศนคติเชิงลบต่อผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งจะทำให้คนเหล่านี้ถูกผลักออกนอกการรักษา และจะทำให้มีโอกาสเป็นรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะย้อนกลับมาทำอันตรายให้กับสังคม 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook