เปิดประวัติ "อาซาผะ" มือฆ่าเด็ก 5 ศพ จิตป่วยตั้งแต่ปี 2555

เปิดประวัติ "อาซาผะ" มือฆ่าเด็ก 5 ศพ จิตป่วยตั้งแต่ปี 2555

เปิดประวัติ "อาซาผะ" มือฆ่าเด็ก 5 ศพ จิตป่วยตั้งแต่ปี 2555
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จิตแพทย์ตั้งโต๊ะแถลง เปิดประวัติข้อมูลอาการป่วย "อาซาผะ" มือฆ่าโหดเด็ก 5 ศพ พบเข้ารักษาตั้งแต่ปี 2555 แต่ยังไม่รู้แรงจูงใจ

(28 ก.ย.) นายแพทย์ปริทรรศ ศิลปกิจ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ พร้อมทีมแพทย์ตั้งโต๊ะแถลงข่าวสื่อมวลชนกรณี นายอาซาผะ มือมีดแทงดับ 5 ศพเด็กที่ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ และการลงพื้นที่ประเมินสภาพจิตใจครอบครัวผู้สูญเสีย เผยข้อมูล "อาซาผะ" เคยรักษาอาการป่วยทางจิตตั้งแต่ปี 2555 เตรียมประสานโรงพยาบาลนครพิงค์ รับตัวรักษาต่อ

นายแพทย์ปริทรรศ ระบุว่า ครอบครัวผู้สูญเสียยังอยู่ในอาการโศกเศร้า เพราะต้องสูญเสียคนในครอบครัวไปพร้อมๆ กันและที่สำคัญยังเป็นเด็กเล็กๆ บางคนยังกินอาหารไม่ได้ ไร้เรี่ยวแรง ซึ่งได้ประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำตำบลและอำเภอให้ดูแลอย่างใกล้ชิด

ตอนนี้ทีมแพทย์เป็นห่วงทั้งครอบครัวผู้ก่อเหตุและครอบครัวผู้สูญเสียในเรื่องการปรับสภาพจิตใจ เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นค่อนข้างสะเทือนใจ สำหรับประวัติการรักษาตัวผู้ก่อเหตุนั้น ก่อนที่จะมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสวนปรุง เคยรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มาก่อน แต่ไม่ได้รักษาต่อเนื่องทำให้ อาการรุนแรงขึ้น และเข้าได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพบาลแห่งนี้ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2558 ด้วยอาการควบคุมตัวเองลำบาก พร้อมกับอาการทาง จิตทั่วไป หูแว่ว ประสาทหลอน

โดยได้รับการแอดมิทภายเป็นเวลา 16 วัน ถือว่าอาการค่อนข้างหนัก ซึ่งทีมแพทย์ได้ให้การรักษาปรับตัวยาให้เหมาะสมอย่างใกล้ชิด กระทั่งสภาพจิตใจดีขึ้น ยาที่ใช้ไม่มีผลข้างเคียง จึงอนุญาตให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้ โดยออกจากโรงพยาบาลเมื่อใน วันที่ 5 สิงหาคม และในวันที่ 28 สิงหาคม บิดาของนายอาซาผะ ก็ยังมารับยารักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลไชยปราการ กระทั่งเกิดเรื่องเศร้าสลดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่สามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า เหตุใด นายอาซาผะ จึงก่อเหตุ จะต้องมีการพูดคุยสอบถามก่อนว่าอะไรคือมูลเหตุจูงใจให้ทำ ทั้งนี้ จะได้ประสานไปยัง โรงพยาบาลนครพิงค์ ที่ นายอาซาผะ กำลังรักษาตัวอยู่ พร้อมทั้งนำตัวมารักษาต่อ

นายแพทย์ปริทรรศ ยังระบุด้วยว่า สำหรับข้อมูลผู้ป่วยอาการทางจิตที่ต้องเข้ารับการ รักษาตัวในปัจจุบัน ถือว่ามีเยอะพอสมควรประมาณ 0.1% ต่อประชากร แต่อาการจะไม่รุนแรง มากมารับยาแล้วก็กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้ ยกเว้นบางรายอาจมีเสพยา ดื่มสุรา ควบคู่ไปด้วย ก็มีบ้างแต่ถือว่าน้อยมาก

สำหรับการสังเกตอาการของผู้ป่วยทางจิตนั้น แนะนำให้เฝ้าสังเกตหากเมื่อใดผู้ป่วยเริ่มมีท่าทีที่หลุดออกจากความเป็นจริง หรือมีอาการเหม่อลอย ทั้งจากการเผชิญกับภาวะเครียด รวมถึงการขาดยาเป็นเวลาเกินกำหนดขอรีบแจ้งไปยังโรงพยาบาลประจำตัวผู้ป่วย หรือโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นอีก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook