แพทย์แนะใส่ใจสัญญาณเสี่ยงหลังเหตุรุนแรง

แพทย์แนะใส่ใจสัญญาณเสี่ยงหลังเหตุรุนแรง

แพทย์แนะใส่ใจสัญญาณเสี่ยงหลังเหตุรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมสุขภาพจิต แนะ ดูแลใจ สังเกตสัญญาณเสี่ยง 8 ข้อ หลังเจอเหตุรุนแรง

น.พ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุความรุนแรง เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะเกิดอาการต่างๆ เช่น โกรธ หงุดหงิด วิตกกังวล เศร้า อาจมีอารมณ์รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม หรือเฉื่อยชาลงมากกว่าเดิม ครุ่นคิดถึงภาพ และเหตุการณ์ความรุนแรงที่ได้พบ ซึ่งอาการดังกล่าวที่เกิดขึ้นนี้ ถือเป็นปฏิกิริยา "ปกติ"  ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ "ไม่ปกติ" โดยอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่ไม่ควรเกิน 1 เดือน ที่สำคัญ ต้องเข้าใจว่า ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ไม่ใช่ผู้เจ็บป่วยทางจิตและไม่ใช่ผู้อ่อนแอแต่อย่างใด อาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการแสดงออกทางจิตใจ และพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้แนะให้สังเกต 8 สัญญาณเตือน ที่บ่งชี้ว่า บุคคลต้องได้รับการช่วยเหลือจากจิตแพทย์หรือบุคลากรสุขภาพจิต ได้แก่ 1.มีความสับสนรุนแรง  2. รู้สึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่ซ้ำ ๆ  3.หลีกหนีสังคม 4.ตื่นกลัวเกินเหตุ 5.วิตกกังวลมากเกินไปจนทำอะไรไม่ได้ 6.ซึมเศร้าอย่างรุนแรง 7.ติดสุราและสารเสพติด และ 8.มีอาการทางจิต หลงผิด ประสาทหลอน ฯลฯ

สำหรับการดูแลจิตใจตนเองและคนรอบข้าง เมื่อประสบเหตุรุนแรง ทำได้โดย พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ใช้สุรา พยายามหากิจกรรมทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ปรึกษา พูดคุย เรื่องไม่สบายใจ หรือขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด  ตลอดจนขอรับคำปรึกษา ได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook