กมธ.ยกร่างฯปรับแก้ต่อม.64-เลิศรัตน์ยันไม่มีล็อบบี้

กมธ.ยกร่างฯปรับแก้ต่อม.64-เลิศรัตน์ยันไม่มีล็อบบี้

กมธ.ยกร่างฯปรับแก้ต่อม.64-เลิศรัตน์ยันไม่มีล็อบบี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรรมาธิการยกร่างฯ ปรับแก้ต่อในมาตรา 64 สิทธิของพลเมืองที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนฯ ขณะวานนี้พิจารณาได้ 14 มาตรา เป็นไปตามเป้าหมาย 'พล.อ.เลิศรัตน์' ยัน ไม่มีการล็อบบี้ ขอสื่อหยุดเสนอข่าวบิดเบือนให้ ปชช. สับสน

บรรยากาศที่รัฐสภา เช้านี้ การรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด ถึงแม้ไม่มีการประชุมใหญ่ แต่ สมาชิก สนช. และ สปช. ยังคงร่วมประชุมคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่เวลา 09.00 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา นัดที่ 5 ซึ่งการประชุมวานนี้ สามารถพิจารณาได้ 14 มาตรา ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยในมาตรา 53 พลเมืองย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มีการปรับแก้ถ้อยคำเล็กน้อยไม่กระทบกับหลักการ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แขวนบางวรรคในบางมาตรา อาทิ มาตรา 60 วรรค 2 การให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ มาตรา 62 วรรค 2 พลเมืองย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูลจากรัฐ ก่อนการอนุญาต หรือการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรา 62 วรรค 3 การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ

สำหรับวันนี้ เริ่มพิจารณาต่อที่มาตรา 64 สิทธิของพลเมืองที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นธรรม

 

'เลิศรัตน์' ยัน ไม่มีล็อบบี้ ปรับแก้ต่อ ม.64

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ว่าเมื่อวานที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาตั้งแต่มาตรา 50-64 เรื่องสิทธิและเสรีภาพ และวันนี้จะมีการพิจารณาต่อในมาตรา64 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพลเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างหนัก เช่น การประเมิณสิ่งแวดล้อม ระดับพื้นที่ระดับยุทธศาสตร์ และจะเข้าสู่ส่วนที่ 3 เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ คาดจะเสร็จสิ้นภายในวันนี้ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกรอบที่กำหนด

สำหรับเรื่องที่นานาชาติกำลังให้ความสนใจในประเด็นจับ 14 นักศึกษานั้น พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่าอยากให้มองความสำคัญกับเรื่องรัฐธรรมนูญที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตามโรดแมป และคิดว่าจะร่างเสร็จในสิ้นเดือนนี้ ก่อนเข้าสู่ความเห็นของ สปช. และนำไปสู่การทำประชามติในเดือนมกราคม ดังนั้นกลุ่มบุคลที่จะเคลื่อนไหว ต้องเข้าใจและยอมรับถึงสิ่งที่เกิดขึ้นโดยผู้ที่มีความคิดเห็นต่างนั้นถือเป็นเรื่องปกติในสังคม แต่อยากให้มองทั้ง 2 ด้าน พร้อมยืนยันไม่มีการล็อบบี้ให้ สปช. อย่างแน่นอน  ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เขียนขึ้นเพื่อบ้านเมือง ประเทศชาติ พร้อมขอให้สื่อหยุดนำเสนอข่าวที่บิดเบือน เพราะห่วงจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการทำงานของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ สปช.

 

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook