เตรียมดูสุริยุปราคาแบบบางส่วนพรุ่งนี้เชียงใหม่ชัดสุดห้าโมงเย็น

เตรียมดูสุริยุปราคาแบบบางส่วนพรุ่งนี้เชียงใหม่ชัดสุดห้าโมงเย็น

เตรียมดูสุริยุปราคาแบบบางส่วนพรุ่งนี้เชียงใหม่ชัดสุดห้าโมงเย็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เผยพรุ่งนี้ (26 ม.ค.)เกิดสุริยุปราคาแบบบางส่วน ระบุเชียงใหม่เริ่มเห็นตั้งแต่เวลา 16.05 น.คาดเห็นชัดสุดเวลา 17.02 น.ระบุเป็นสุริยุปราคาครั้งแรกของปีดาราศาสตร์สากล 2009 ชี้เกิดอีกครั้งแบบเต็มดวง22 ก.ค.นี้ ตั้งกล้องดูดาวที่หอดูดาวบัณฑิต รศ. บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (26 ม.ค.) จะเกิดปรากฎการณ์ สุริยุปราคา บางส่วน ซึ่งเป็น สุริยุปราคาแบบวงแหวน โดยจะมองเห็นได้ตามเส้นทางที่พาดผ่านมหาสมุทรอินเดียและด้านตะวันตกของ ประเทศอินโอนีเซีย ซึ่งประเทศไทยจะเห็นแบบบางส่วนในทั่วทุกภูมิภาค และจ. เชียงใหม่ จะเริ่มเห็นการบังกันของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ตั้งแต่ เวลา 16.05 น.เป็นต้นไปและจะเห็นจัดบังกันมากที่สุดในเวลา 17.02 น.จะสิ้น สุดการบังในเวลา 17.53 น.รวมแล้วจะเกิดการบังทั้งสิ้น 18.8% ดังนั้นเครือข่ายสารสนเทศดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียน ภายใต้ความร่วม มือระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยดารา ศาสตร์แห่งชาติ และภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอ เชิญผู้สนใจเข้าร่วมชมและติดตามการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนบริเวณ ระเบียงหน้าห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ ชั้น 6 อาคารคณะวิทยา ศาสตร์ (SCB2) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างเวลา 15.30- 17.30 น. ของวัน ที่ 26 ม.ค. ทั้งนี้ การเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ถือเป็นสุริยุปราคาครั้งแรกของปีดาราศาสตร์สากล (International Year of Astronomy 2009) และคาดว่าจะเกิดสุริยุปราคา ครั้งต่อไปในวันที่ 22 ก.ค. อีกครั้งแต่จะเกิดเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง สังเกตเห็นตามแนวคราส พาดผ่านประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และมหาสมุทร แปซิฟิกใต้ สำหรับจ.เชียงใหม่ จะสังเกตเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ใน เวลา 07.02 - 09.11 น. และสังเกตเห็นการบังกันทั้งสิ้น 63.4% สำหรับการสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคาจะต้องสังเกตการณ์ผ่านอุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นเฉพาะเช่น แผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์ หรือการสังเกต ผ่านกล้องรูเข็มหรือกล้องโทรทรรศน์พร้อมระบบฉายภาพ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยว กับการเกิดและการสังเกตสุริยุปราคาและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ สามารถติดตามได้ที่ www.astroschool.on.th และwww.narit.or.th ตั้งกล้องดูดาวที่หอดูดาวบัณฑิตรองรับชมสุริยคราส เมื่อเวลา11.40 น. วันนี้ (25 ม.ค. 52) นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า จากที่จะเกิดปรากฏการณ์ด้านดาราศาสตร์สุริคราสบางส่วนในประเทศไทยในวันที่ 26 ม.ค. 52 เห็นได้ทั่วประเทศไทยเริ่มเข้าคราส เฉลี่ย15 .50 น.สิ้นสุดเวลา17 50น. โดยพื้นที่ภาคใต้จะเห็นส่วนเว้าแหว่งบน ดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้น ที่หอดูดาวบัณฑิตตลาดบางบ่อ อ.แปลงยาวจ.ฉะเชิงเทรา ได้นำกล้องโทรทัศน์ จำนวน 5 ตัวติดตั้งแผ่กรองแสงให้ผู้สนใจได้ชมสุริยคราส บางส่วนในการศึกษาปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งนี้ด้วยพร้อมกับเตรียมบันทึกภาพ ปรากฏการณ์ดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้วย นอกจากนี้ที่โรงเรียนไผแก้ววิทยาอ.แปลงยาวจ.ฉะเชิงเทรา ได้จัดกิจกรรม นำนักเรียนได้ชมปรากฏการณ์โดยนำกล้องโทรทัศน์ขนาด 9 เศษ1ส่วน4 นิ้วและ ขนาด 4 นิ้วรวม 2 ตัวพร้อมแผ่นกรองแสงให้นักเรียนได้ศึกษาสุริยะคราสบางส่วน นี้ด้วยเช่นกัน นายวรวิทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการชมปรากฏการณ์สุริยะคราสนี้ ห้ามสังเกตุการณ์ด้วยตาเปล่าเด็ดขาดควรดูผ่านกระจกรมควันหนาๆแบบโบราณ ส่องดูและห้ามส่องดูนานๆเพราะจะมีผลต่อสุขภาพตาได้นายวรวิทย์กล่าวในที่สุด ขณะที่ นางเกสร รัตนโมรา ตำแหน่งครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดแก้ว พิจิตร) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรีอ.เมืองจ.ปราจีนบุรีกล่าวว่า นำนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 - มัธยมศึกษาปีที่3 รวม120 คนร่วมชม ปราฏการณ์ดาราศาสตร์โดยใช้แผ่นฟิล์มเอกเรย์พร้อมใช้สัญญาณนกหวีดเป่าให้ กำหนดระยะการชมเนื่องจากเกรงอันตรายต่อสายตา นางเกสรกล่าวในที่สุด ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมระยะช่วงเวลาที่เห็นสุริยะคราสบางส่วนใน แต่ละพื้นที่ดังนี้กรุงเทพฯ เริ่มเข้า คราส 15 นาฬิกา53 นาที1 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา59 นาที52วินาทีโดยคราส จะสิ้นสุดเวลา 17 นาฬิกา58นาที54 วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง 33.1% เชียงใหม่เริ่มเข้าคราส16 นาฬิกา5นาที24 วินาทีคราสลึก สุด 17นาฬิกา2 นาที18 วินาทีคราสสิ้นสุด 17นาฬิกา53นาที32 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 18.7 % หนองคาย เริ่มเข้าคราส 16นาฬิกา2นาที1วินาทีคราสลึกสุด17นาฬิกา2นาที24 วินาทีคราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา56นาที28วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง 25.3 % อุตรดิตถ์ เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา02นาที05 วินาทีคราสลึก สุด 17นาฬิกา1 นาที58 วินาทีคราสสิ้นสุด 17นาฬิกา55นาที25 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 22.8% พิษณุโลก เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา0 นาที8วินาทีคราสลึก สุด 17นาฬิกา1 นาที36วินาทีคราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา56นาที28 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 24.9% อุดรธานีเริ่มเข้าคราส16 นาฬิกา0นาที58 วินาทีคราสลึก สุด 17 นาฬิกา2 นาที12วินาทีคราสสิ้นสุด 17นาฬิกา56นาที56 วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง 26.6 % นครสวรรค์เริ่มเข้าคราส15 นาฬิกา57 นาที30 วินาทีคราสลึก สุด 17 นาฬิกา00นาที58 วินาทคราสสิ้นสุด 17นาฬิกา57นาที24 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 2725 % นครราชสีมา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา55 นาที48 วินาทีคราสลึก สุด 17 นาฬิกา00 นาที54 วินาทีคราสสิ้นสุด 17นาฬิกา58 นาที38 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 31.9% อุบลราชธานีเริ่มเข้าคราส15 นาฬิกา56 นาที16วินาทีคราสลึก สุด 17 นาฬิกา01นาที17 วินาทีคราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา55นาที48วินาทีดวง อาทิตย์ถูกบัง 34.7% ชลบุรี เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา52นาที19วินาทีคราสลึก สุด 16 นาฬิกา59 นาที45 วินาทีคราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา59 นาที13 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 34.6 % สุราษฎร์ธานี เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา42นาที45วินาทีคราสลึก สุด 16 นาฬิกา56 นาที07 วินาทีคราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา59 นาที59วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 43.6 % ภูเก็ต เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา42 นาที45 วินาทีคราสลึก สุด 16 นาฬิกา56นาที07 วินาทีคราสสิ้นสุด 17นาฬิกา59 นาที59วินาทีดวง อาทิตย์ถูกบัง 43.6% สงขลา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา39นาที12วินาทีคราสลึก สุด 16นาฬิกา54 นาที44 วินาทีคราสสิ้นสุด 18นาฬิกา00 นาที11 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง5028 % ปัตตานี เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา38นาที54 วินาทีคราสลึก สุด 16 นาฬิกา54นาที37 วินาทีคราสสิ้นสุด 18 นาฬิกา00 นาที14 วินาทีดวง อาทิตย์ ถูกบัง 52.7 % ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มเข้า คราส 15นาฬิกา52 นาที56 วินาทีคราสลึกสุด 16 นาฬิกา59 นาที51วินาทีคราสสิ้น สุด 17 นาฬิกา59นาที05วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 33.94 % หอดูดาวบัณฑิตจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 52นาที46 วินาทีคราสลึกสุด 16 นาฬิกา59นาที50วินาทีคราสสิ้น สุด 17 นาฬิกา59 นาที11 วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง34.40 %
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook