เปรียบเทียบอำนาจ พ.ร.บ.มั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เด็ดขาดรุนแรง แค่ไหน เพียงไร ?

เปรียบเทียบอำนาจ พ.ร.บ.มั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เด็ดขาดรุนแรง แค่ไหน เพียงไร ?

เปรียบเทียบอำนาจ พ.ร.บ.มั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เด็ดขาดรุนแรง แค่ไหน เพียงไร ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบัน "กฎหมายรักษาความมั่งคงของชาติ" นั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 3 ฉบับ ได้แก่ พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551, พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งในการที่รัฐจะนำกฎหมายพิเศษดังกล่าวมาประกาศใช้ จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนั้นๆ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นเพียงพอในการที่จะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว เนื่องจาก กฎหมายรักษาความมั่นคงของชาตินั้น มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน

ลำดับความรุนแรงของกฎหมาย ?

ลำดับแรก คือ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
ลำดับต่อมา คือ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ลำดับสุดท้ายคือ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งถือเป็นกฎหมายรักษาความมั่นคงที่มีระดับความเข้มข้นมากที่สุด

องค์กรที่ใช้อำนาจ ?

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร : กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการและเสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการ

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน : นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจมีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นเพื่อจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก : เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจเหนือองค์กรพลเรือน


ประกาศเมื่อใด ?

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร : ประกาศใช้ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน : ประกาศใช้ในกรณีเกิดเหตุที่อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือส่วนหนึ่งของประเทศอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ทรัพย์สิน การรบ สงคราม หรือภัยพิบัติสาธารณะ ฯลฯ

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก : ประกาศใช้ในกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยจากภัยที่มาทั้งจากภายนอกหรือภายในประเทศเช่นเมื่อมีสงครามหรือการจลาจลเกิดขึ้น

สิทธิในการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ?

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร : สามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการชุมนุมทางการเมืองได้
พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน : ไม่สามารถการชุมนุมทางการเมือง หากมีการฝ่าฝืนรัฐสามารถใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมตามหลักการสากลได้
พ.ร.บ.กฎอัยการศึก : ไม่สามารถการชุมนุมทางการเมือง


อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ?

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร : กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจพิเศษเกี่ยวกับการตรวจค้น จับกุม และควบคุมตัวบุคลไว้ดังเช่นในกฎอัยการศึกและพรก.ฉุกเฉิน

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน : พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะใช้มาตรการพิเศษเกี่ยวกับการตรวจค้น การจับกุม และควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมในการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามที่กำหนด แต่ในการจับกุมนั้นต้องมีหมายจับตาม พรก.ฉุกเฉิน ที่ศาลออกให้

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก : เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจในการ ปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม และกักตัวบุคคล ได้โดยทันทีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นเป็นราชศัตรู หรือได้ฝ่าฝืนกฎอัยการศึก หรือคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร โดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา และไม่ต้องแจ้งเหตุแห่งการต้องกักตัวแต่อย่างใด ทหารสามารถจับกุมบุคคลได้โดยไม่ต้องมีหมายศาลและแม้ไม่ใช้การกระทำผิดซึ่งหน้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook