เพื่อไทยเดินหน้า ดิสเครดิต องค์กรอิสระ หวังรอดคดีทางการเมือง

เพื่อไทยเดินหน้า ดิสเครดิต องค์กรอิสระ หวังรอดคดีทางการเมือง

เพื่อไทยเดินหน้า ดิสเครดิต องค์กรอิสระ หวังรอดคดีทางการเมือง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"กรณีกลุ่มบุคคลของพรรคเพื่อไทย ไปยื่นต่อศาลอาญาเพื่อฟ้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีวินิจฉัยร่างแก้ไข รธน.ประเด็นที่มาของสว.เป็นโมฆะ เป้าหมายเพียงต้องการดิสเครดิต หรือลดความน่าเชื่อถือของ ตุลาการศาล รธน.เท่านั้น คนที่ไปยื่นก็อ่านกฏหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 5 เข้าใจ ที่ผ่านมาพรรคนี้ต้องการยุบศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระมาโดยตลอด ต้องการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา สว.เพื่อให้ได้เสียงข้างมากให้ถึง 3ใน5จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการถอดถอนตุลาการ หรือ องค์กรอิสระอื่น" นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ประธานคณะกรรมการกฏหมาย พรรคประชาติปัตย์ ให้ความเห็นกับทีมข่าวsanook.com

ประเด็นร้อนทางการเมืองที่น่าสนใจนี้เกิดขึ้น เมื่อ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยพล.ต.อ.วิรุฬ พื้นแสน ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แถลงถึงการเดินทางไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญาเพื่อขอความเป็นธรรมจากกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว.เป็นโมฆะ ฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันกระทำหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มาตรา 83 และมาตรา 91

และยังอ้างด้วยว่า การฟ้องศาลอาญาในครั้งนี้เพราะพวกตนเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากได้สถาปนาอำนาจพิจารณาวินิจฉัยขึ้นมาเอง เป็นการขยายแดนอำนาจออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และอยู่เหนือองค์กรอื่นของรัฐ เป็นการก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภา ซึ่งมีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย จึงต้องพึ่งศาลอาญาเพื่อขอความเป็นธรรม

เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้มีประเด็นสงสัยว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจคุ้มครอง หรือ อำนาจวินิจฉัยของศาลไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั้งสามารถฟ้องร้องต่อตุลาการที่ตัดสินคดีไปแล้วต่อศาลอื่นได้อีกหรือ ซึ่งนายวิรัตน์ ได้อธิบายว่า การพิจารณาคดี ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นการพิจารณาเป็นองค์คณะเป็นกลุ่ม โดยใช้เสียงข้างมากมีอำนาจใช้ดุลพินิจในเรื่องที่มีการร้องเรียนเข้ามา ไม่ว่าองค์กรอิสระ นิติบัญญัติ ส.ส. ส.ว. หรือพิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างองค์กร และที่รัฐสภาขอความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องมา

และในการวินิจฉัย ตาม รธน.มาตรา 216 วรรค 5 ระบุชัดเจนว่า คำตอบ คำวินิจฉัยของศาลรธน.ให้ถือเป็นที่สุดและผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นคำวินิจฉัยจึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดกฏหมายอื่นจะมาแย้งไม่ได้ ดังนั้นเชื่อว่า เมื่อยื่นฟ้องไปยังศาลอาญา ศาลคงยกคำร้องและเชื่อว่าคนที่ยื่นก็เข้าใจกฏหมายอ่านกฏหมายรู้ เพียงแต่หวังผลทางการเมืองเท่านั้น

สำหรับวันที่ 12 มีนาคม 2557 มีประเด็นที่การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญคือ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.สร้างอนาคตไทย หรือ พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานว่า การออกพ.ร.บ.ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook