รองอสส.ชี้การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจจนท.

รองอสส.ชี้การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจจนท.

รองอสส.ชี้การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจจนท.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้ จะให้อำนาจ จนท.มาก และสามารถแทรกแซงสิทธิเสรีภาพเรื่องส่วนตัวได้

นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า จะให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้มาก สามารถแทรกแซงสิทธิเสรีภาพเรื่องส่วนตัวได้ เช่น การดักฟังโทรศัพท์บางเรื่องที่ธรรมดาไม่เป็นความผิด แต่กฎหมายฉบับนี้ให้เป็นความผิด เช่นการชุมนุมกันเกินเท่านั้น เท่านี้คน

- เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นี้ ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย

- หากมีการออกคำสั่งใดๆ ที่เป็นคำสั่งทางปกครอง หรือมีการปฏิบัติหน้าที่โดยเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้วเกิดความเสียหายต่อประชาชน ศาลปกครองไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษา

- ห้ามการเดินทางหรือเคลื่อนย้าย ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนดห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด ห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร

- ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด

- ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ ออกคำสั่ง รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งกีดขวาง ยึดหรืออายัดสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด

- ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในการซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด เรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐาน

- ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ถึง 7 วัน และควบคุมไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น สถานีตำรวจ ที่คุมขังทัณฑสถาน หรือเรือนจำ


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook