ศาลรธน.ไม่รับเรืองไกรยื่นสุเทพชุมนุมผิด

ศาลรธน.ไม่รับเรืองไกรยื่นสุเทพชุมนุมผิด

ศาลรธน.ไม่รับเรืองไกรยื่นสุเทพชุมนุมผิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง 'เรืองไกร' ยื่นให้วินิจฉัย 'สุเทพ' ทำม็อบพ่วงตั้งสภาประชาชน ขัดมาตรา 68 ชี้ ชุมนุมสงบ ปราศจากอาวุธ

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องกรณีที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภาระบบสรรหา ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 68 ว่าการกระทำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ในการนำมวลชนบุกรุกสถานที่ราชการ อันมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 มาตรา 365 ประกอบมาตรา 362 และมีการชุมนุมเพื่อขับไล่ระบอบทักษิณ เสนอระบบปกครองใหม่

โดยให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ และกำจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น นั้น ถือเป็นการกระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ อีกทั้งการที่จะมีการตั้งสภาประชาชน เพื่อสร้างนายกรัฐมนตรี ในฝันนั้น ไม่มีปรากฏในรัฐธรรมนูญด้วย

ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้อง เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และกระทำในนามประชาชน ส่วนการยึดสถานที่นั้น ขณะนี้ไม่เกิดขึ้นแล้ว และสถานการณ์พัฒนาไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงยังไม่มีมูลที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของกลุ่ม 40 ส.ว. ยื่นเรื่องให้พิจารณาวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ไว้พิจารณา

 

ศาล รธน.รับคำร้องวินิจฉัย "สมศักดิ์" และพวกผิดแก้ ม.190

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 6:2 มีคำสั่งรับคำร้องของ นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ที่ร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 68 ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา พร้อมสมาชิกรัฐสภารวม 314 คน นั้น กระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่

กรณีที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 ซึ่งเป็นการจำกัดอำนาจของรัฐสภาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ทำหนังสือสัญญาของฝ่ายบริหารให้ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการทำหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา อีกทั้งในการดำเนินการประชุมรัฐสภานั้น ยังขัดต่อข้อบังคับ และขัดรัฐธรรมนูญด้วย ถือเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องยกเลิกการกระทำและให้ถูกลงโทษตามมาตรา 68 วรรค 3 และวรรค 4 ด้วย

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีมีมูลเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1 จึงมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook