ชุดนักศึกษาสัญลักษณ์ของปัญญาชนหรือคนถูกริดรอนสิทธิ์

ชุดนักศึกษาสัญลักษณ์ของปัญญาชนหรือคนถูกริดรอนสิทธิ์

ชุดนักศึกษาสัญลักษณ์ของปัญญาชนหรือคนถูกริดรอนสิทธิ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(ภาพประกอบข่าว)

เป็นที่กล่าวขานกันไปทั่วมหาวิทยาลัยและลุกลามไปถึงโลกออนไลน์กับโปสเตอร์สุดแรงในการต่อต้านใส่ชุดนักศึกษา ซึ่งโปสเตอร์ดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาหญิงคนหนึ่ง เธอเลือกใช้เนื้อหาอันล่อแหลมเป็นจุดขายส้รางความดึงดูดใจต่อผู้พบเห็น

โดยนักศึกษาหญิงคนนี้มองว่าเครื่องแบบอันทรงเกียรติคือเครื่องมือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสถานศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นที่อบรมสั่งสอนการเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นและยืนหยัดกับประชาธิปไตย

ซึ่งหากเปรียบว่าประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้วหรือยังไม่พัฒนามีเหตุผลอย่างไรกับเครื่องแบบนักศึกษา จะเห็นได้ว่าบางประเทศไม่มีระเบียบข้อบังคับประการใดในการเข้าห้องเรียนหรือเข้าสอบ

ประเทศญี่ปุ่น มองว่าเครื่องแบบการศึกษาเป็นการสั่งสมเยาวชนให้พร้อมต่อการเป็นส่วนหนึ่งของวินัยในสังคม

ระเทศอินเดีย มองว่าเครื่องแบบอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการลดความแตกต่างระหว่างชนชั้นในโรงเรียน

ประเทศฝรั่งเศส ไม่มีการใช้เครื่องแบบในโรงเรียนเนื่องจากความเชื่อในอิสระเสรีภาพของปวงชนเหนือสิ่งอื่นใด

ประเทศอิตาลีและเยอรมนี ยังคงมองเรื่องของเครื่องแบบเป็นเรื่องที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ทางการทหารที่โหดร้ายของประเทศ ซึ่งในประเทศที่กล่าวมาข้างต้นไม่มีการบังคับใช้เครื่องแบบในมหาวิทยาลัย

ประเทศไทย เป็นเพียงหนึ่งในสี่ประเทศในโลกที่มีการบังคับใช้เครื่องแบบนักศึกษา (ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม) เหตุผลที่ต้องมีเครื่องแบบนักศึกษาในสมัยอดีตนั้นมองว่าเพื่อให้เชิดชูและรักษาเกียรติของสถาบัน เป็นเครื่องแบบของปัญญาชนแสดงความอ่อนน้อมสุภาพอ่อนโยนและมีระเบียบวินัย

หลายประเทศมีเหตุผลแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ความจริงแล้วเครื่องแบบคงไม่สำคัญเท่ากับตัวตนของผู้ส่วมใส่ เครื่องแบบเป็นเพียงสัญลักษณ์การแสดงออกในเชิงความหมายเท่านั้น แต่อัตลักษณ์ที่แท้จริงขึ้นอยู่กับการประพฤติตัว ถึงแม้เครื่องแบบจะแสดงสถานะน่านับถือเพียงใด ถ้าผู้ส่วมใสไม่ปฎิบัติตนให้เป็นที่น่านับถือ เครื่องแบบนั้นคงไม่มีความหมาย สิทธิเสรีภาพเป็นของคนทุกคนที่พึงมีควรใช้ให้เกิดประประโยชน์และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร

เห็นทีเรื่องนี้ถ้าหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นคงต้องว่ากันยาว นานาทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้สุดท้ายคงอยู่ที่สถาบันจะออกข้อบังคับอย่างไร แต่เมื่อข้อบังคับออกมาแล้วเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมคนส่วนใหญ่ การปฏิบัติตามควรหรือไม่?? 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook