นรรัตน์เผยใช้เวลา60วันสรรหาปธ.ศาลรธน.แทนวสันต์

นรรัตน์เผยใช้เวลา60วันสรรหาปธ.ศาลรธน.แทนวสันต์

นรรัตน์เผยใช้เวลา60วันสรรหาปธ.ศาลรธน.แทนวสันต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาธิการวุฒิสภา 'นรรัตน์ พิมเสน' เผย ขั้นตอนสรรหา ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แทน 'วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์' ใช้เวลา 60 วัน 'จรัญ' ปิดปากเงียบ วสันต์ ลาออก โยน ถามเจ้าตัวเอง

นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงกรณีที่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ลาออกจากตำแหน่งประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า คณะกรรมการสรรหา 5 ท่าน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านและประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ จะเลือกมา 1 คน ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน โดยจะเปิดรับสมัครบุคคลภายใน 7 วัน ซึ่งทางคณะกรรมการสรรหา จะมอบหมายให้เลขาธิการวุฒิสภา เป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติ จากนั้นจะเปิดประชุมเป็นครั้งที่ 2 พิจารณาเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และจะเสนอประธานวุฒิสภา ซึ่งใช้ระยะเวลา 30 วันเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติ ตามมาตรา 121 ของรัฐธรรมนูญ จากนั้นจะเสนอที่ประชุมสภาเพื่อจะลงมติเห็นชอบ เป็นการลงคะแนนลับ ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ที่ได้รับความเห็นชอบ

นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องประชุมกับตุลาการที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 8 ท่าน เพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเลือกเสร็จ ประธานวุฒิสภา จะนำรายชื่อกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

 

จรัญ ปิดปากเงียบ วสันต์ ลาออก-โยนถามเจ้าตัวเอง

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง การลาออกของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ไม่ขอให้สัมภาษณ์ หรือ แสดงความคิดเห็นใด ๆ ในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล และตนไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะพูดได้ มีอะไรให้ไปถามเจ้าตัวเองดีกว่า  ด้าน นายวสันต์ หลีกเลี่ยงที่จะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนทุกกรณีเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ วุฒิสภา กำลังดำเนินการสรรหา ประธานตุลาการฯ คนใหม่ นายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะทำหน้าที่เป็น ประธานการประชุม ซึ่งการประชุมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะมีขึ้น ในวันที่ 31 ก.ค.นี้ คาดว่าจะมีวาระการประชุมเรื่องพ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ว่าขัด หรือแย้งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 39 ว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของจำเลยหรือไม่ ส่วนการพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ถึงสมาชิกภาพ ส.ส. ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เลื่อนการพิจารณาจากการประชุมครั้งที่แล้วนั้น ยังไม่แน่ใจว่า จะเข้าวาระหรือไม่ เช่นเดียวกับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เนื่อง
จากอยู่ระหว่างรอผู้ถูกร้องส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งหากมีผู้ส่งคำชี้แจง ก็อาจเข้าเป็นวาระ

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook