เด็กไทยอยากไปร.ร.38% คลั่งเกม-ทีวี-อินเทอร์เน็ต

เด็กไทยอยากไปร.ร.38% คลั่งเกม-ทีวี-อินเทอร์เน็ต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มี 27% เท่านั้นที่อ่านหนังสือเป็นงานอดิเรก ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการที่เด็กได้รับสื่อจากทางอินเทอร์เน็ต ทีวี และสิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ส่วนทัศนะต่อการไปเรียนหนังสือ พบว่า ในปี 2551 เด็กอยากไปโรงเรียน 38%ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีเด็กอยากไปโรงเรียน 43% โดยเฉพาะปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาครึ่งชีวิตที่ตื่น 7-8 ชั่วโมง หมดไปกับการเล่นเกม ดูทีวี เล่นอินเทอร์เน็ต ความบันเทิงไร้สายต่างๆ เป็นสิ่งทำลายสมาธิของเด็ก และมีเด็ก 25% รู้สึกปลอดภัยมากเมื่อมาโรงเรียน

ดร.อมรวิชช์ กล่าวอีกว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลร่วมกับกรมสุขภาพจิตล่าสุด จากเด็ก 1,063 คนทั่วประเทศในเด็กชั้นอนุบาล และชั้นป.1-2 เพื่อติดตามสภาวการณ์ไอคิวและอีคิวของเด็กไทย พบว่ามี 5 ปัจจัยโดยเด็กที่มีไอคิวสูง พ่อแม่จะชอบกอด เล่น และตอบคำถามเวลาที่เด็กถาม รวมถงสอนให้รู้จักวางแผน ค่าเฉลี่ยในการรับพฤติกรรมนั้นๆ 67-90% แต่หากเด็กที่ไอคิวต่ำจะมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมนั้นๆ ที่ได้รับจากพ่อแม่ 56-70% ทั้งนี้ พ่อแม่ที่มีพฤติกรรมเอาใจใส่ต่อลูกทั้งเรื่องการเรียน การกิน การเล่น ออกกำลังกายของลูก มีผลต่อระดับไอคิวสูง

ดร.อมรวิชช์ กล่าวอีกด้วยว่า ส่วนครูที่มีพฤติกรรม 5 ประการ ได้แก่ 1.ให้เหตุผลเวลาสั่งงานหรือบอกให้ทำอะไร 2.เป็นแบบอย่างที่ดี 3.พูดคุยกับนักเรียนอย่างสนิทสนม 4.ให้เวลาในการเป็นที่ปรึกษาและรับฟังปัญหาของเด็กแต่ละคน และ 5.ดูแลเรื่องอาหารของนักเรียนให้ถูกต้องตามโภชนาการ ส่งผลต่อไอคิวและอีคิวของเด็กเป็นอย่างมาก และครูช่วงอายุ 46-55 ปี เป็นกลุ่มที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์เรียนรู้ส่งเสริมไอคิวอีคิวได้ดีที่สุด รวมถึงมีครู 20% ที่รู้สึกมีความรู้เข้าใจเรื่องไอคิวเป็นอย่างดี มี 10% ที่ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดสร้างสรรค์โดยเป็นนักประดิษฐ์ของต่างๆ และ 50% ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีงานอดิเรกตามความสนใจหรือเวลาเล่นเกมต่างๆ อย่างพอเพียง

// //

ตะลุยข่าว : THE GREEN POLICE กองปราบฯ สู่ศตวรรษที่ 21

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกสามารถระงับยับยั้งปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ ตรงกันข้ามกับประเทศไทย กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการกล่าวถึงในระดับนานาชาติว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook