กทม.เสี่ยงรับสารพิษก่อมะเร็งในอากาศอันดับ13เอเชีย

กทม.เสี่ยงรับสารพิษก่อมะเร็งในอากาศอันดับ13เอเชีย

กทม.เสี่ยงรับสารพิษก่อมะเร็งในอากาศอันดับ13เอเชีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า จากการทำวิจัยนำข้อมูลตัวอย่างค่าฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ของกรมควบคุมมลพิษ จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้ง 7 สถานี ตั้งแต่ปี 2549 - 2552 ตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็ง จากฝุ่นละอองในอากาศ พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งอยู่ที่ระดับ 554 พิโคกรัม เกินค่ามาตรฐานถึง 2.2 เท่า โดยจุดที่มีค่าความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งสูงสุด อยู่บริเวณ การเคหะชุมชนดินแดง มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นอยู่ที่ 990 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สูงกว่าค่ามาตรฐาน 3.96 เท่า รองลงมา ได้แก่ สถานีตำรวจโชคชัย 4 อยู่ที่ 704 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การไฟฟ้าธนบุรี อยู่ที่ 603 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่ามาตรฐาน 2.8 และ 2.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ร้อยละ 80 ของสารก่อมะเร็งที่พบในอากาศของพื้นที่กรุงเทพฯ มีสาเหตุจากไอเสียของยานพาหนะ จึงแนะนำภาครัฐหันกลับไปรณรงค์ให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว โดยพบว่า กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 13 ของเอเชีย ที่ประชาชนมีความเสี่ยงที่ได้รับสารก่อมะเร็งจากฝุ่นละอองในอากาศ เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook