ปธ.สภายันไร้อำนาจถอนกม.ปรองดอง-ขออย่าโยงทักษิณ

ปธ.สภายันไร้อำนาจถอนกม.ปรองดอง-ขออย่าโยงทักษิณ

ปธ.สภายันไร้อำนาจถอนกม.ปรองดอง-ขออย่าโยงทักษิณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวก่อนการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยยืนยันว่า ตนเองไม่มีอำนาจถอนร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ทั้ง 4 ฉบับ ออกจากระเบียบวาระการประชุมได้ เนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันหน้าคุยกัน เพื่อหาจุดร่วมในการลดความขัดแย้ง ส่วนการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สไกป์มายังพรรคเพื่อไทย เมื่อวานที่ผ่านมา และให้เดินหน้ากฎหมายนิรโทษกรรมนั้น ขออย่านำมาพาดพิง เพราะไม่เกี่ยวกัน นอกจากนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังกล่าวปฏิเสธ ถึงกรณีที่รัฐภาจัดทำเว็บไซต์เฟซบุ๊กกฎหมายนิรโทษกรรม จนมีประชาชนไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมากนั้น ตนเองยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว และไม่ได้เป็นผู้สั่งการ และมองว่า น่าจะเป็นส่วนของชั้นเจ้าหน้าที่เท่านั้น อภิสิทธิ์จี้ถอนปรองดอง-จุดยืนชัดไม่ถกเจริญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวก่อนการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยย้ำว่า ก่อนที่จะเดินหน้ากฎหมายนิรโทษกรรมนั้น ต้องถอนร่างกฎหมายปรองดองทั้ง 4 ฉบับ ออกจากสภาก่อน และตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะเข้าไปพูดคุย เพราะเป็นเรื่องของเจ้าของร่าง ทั้งนี้ การออกกฎหมายนิรโทษกรรม จะต้องจำกัดขอบเขตที่ชัดเจน ซึ่งต้องไม่เกี่ยวข้องกับคดีทางอาญา หรือคดีทุจริต และที่สำคัญ ต้องแสดงความจริงใจว่าไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์คนใดคนหนึ่ง หากมีเป้าหมายซ้อนเร้น จะยิ่งนำไปสู่ความขัดแย้งขึ้นอีก ส่วนคำเชิญของ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในการหารือแนวทางความปรองดองนั้น ขอยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วม เพราะพรรคมีจุดยืนชัดเจน 'ถาวร' อ้างนิรโทษฯช่วย 'ทักษิณ'พ้นผิดชัดไม่ถก'เจริญ' นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าจะมีการปรองดอง ต้องให้เป็นไปตามแนวทาง คอป. คือ ค้นหาความจริงแล้วดำเนินการตามกฎหมายกับคนที่กระทำผิด จากนั้นจะเป็นการนิรโทษฯ หรืออภัยโทษ ก็จะเป็นการปรองดองที่ถูกต้อง และผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจะต้องพึงพอใจด้วย ไม่ใช่เอากฎหมายเป็นตัวตั้งโดยเสียงข้างมากเป็นหลัก ว่า ต่อไปใครถ้าทำผิดกฎหมายก็มาออกกฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งไม่มีการปรองดองที่ไหนในโลกใช้วีธีการแบบนี้ ทั้งนี้มี พ.ร.บ.ปรองดอง ค้างอยู่ 4 ร่าง เมื่อถึงจุดนั้นก็จะมีการเลื่อนกฎหมายขึ้นมาแล้วร่วมกันพิจารณา แล้วเอาเสียงข้างมากเป็นหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะเสียงข้างมากจะใช้กับกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ประเทศจะสงบได้เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่เกิดจากการนิรโทษกรรมให้คนผิด นี่ไม่ใช่การปรองดองแต่เป็นการช่วยเหลือคนทำผิด คนที่กระทำผิดเราถือว่าชั่วแล้ว คนที่ไปช่วยเหลือคนกระทำผิด ไม่ให้ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ยิ่งชั่วหนักกว่า  ทั้งนี้ นายถาวร กล่าวว่า ประชาชนรู้สึกกังวลเกรงจะเกิดวิกฤติขึ้นอีกรอบ เพราะฉะนั้นขอความกรุณาถ้าจะช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ขอให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้เรียบร้อย และที่สำคัญคนที่ตกเป็นจำเลยในศาลที่เป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับการประกันตัวมาหมดแล้ว เหลือคนทำผิดในข้อหาอุกฉกรรจ์ที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว และขอทำความเข้าใจที่ไม่เข้าไปร่วม เพราะเรารู้ และเราก็เสนอแนวทางของเรา ไม่ใช่เป็นการระแวงแต่เป็นการจับได้ไล่ทัน ภรรยาร่มเกล้า แจงไม่ถกนิรโทษฯเพราะไม่เชื่อใจนางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ผู้เสียหายจากการชุมนุม เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า  เมื่อวานนี้ ที่ไม่เข้าร่วมหารือนิรโทษกรรมนั้น ส่วนตัว ได้ทำหนังสือชี้แจ้งต่อ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ถึงเหตุผล 4 ข้อ ที่ไม่เข้าร่วมแล้ว คือ 1. รัฐบาลอย่าเร่งรัดนิรโทษกรรม 2. หากออกกฎหมาย ต้องระมัดระวังออย่างสูง ต้องกำหนดความผิดเงื่อนไขที่ชัดเจน 3. ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วม และ 4. ต้องนำข้อเสนอของ คอป. มาปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่าเห็นแต่ประโยชน์ฝ่ายตนเอง ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วย ที่เปิดโอกาสให้รับฟังทุกฝ่าย แต่มองว่ากรณีดังกล่าวต้องใช้เวลาในการไว้เนื้อเชื่อใจ เพราะฝ่ายตรงข้าม ไม่มีการแสดงความจริงใจให้เห็น และฝ่ายตน ก็ไม่ได้รับความยุติธรรม แต่ยังรู้สึกคลายความกังวล ที่ผลเมื่อวานนี้ไม่มีการเร่งรัดนิรโทษกรรม นอกจากนี้ นางนิชา ยังกล่าวว่า องค์ประกอบของการปรองดองมีหลายเรื่อง เช่น กระบวนการข้อเท็จจริง และ สานเสวนา พร้อมเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรม นำข้อเท้จจริงมาเปิดเผย ว่า มีผู้ถูกกระทำกี่เรื่อง มีนักโทษกี่คน และหากมีการปล่อยตัวนักโทษ กระทรวงยุติธรรม ต้องชี้แจงว่า คดี 91 ศพ ที่ฝ่ายตนเองเสียหาย ทำอะไรให้บ้าง เพราะไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ปธ.วิปรัฐแย้มสภายังไม่บรรจุวาระนิรโทษฯ นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่าระเบียบวาระ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย นั้น เพิ่งผ่านไปเพียง 1 สัปดาห์ ดังนั้น ต้องดูว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะนำไปบรรจุในวาระหรือไม่ หากบรรจุแล้ว จึงจะสามารถเลื่อนได้ และหากจะเลื่อนต้องใช้เสียง ส.ส.เกินครึ่งหนึ่ง คือ 250 คนขึ้นไป โดยมีสมาชิกรับรอง จึงจะพิจารณาในสัปดาห์ต่อไปได้ ซึ่งในกรณีนี้พรรคร่วมรัฐบาล ได้ทำการปรึกษาหารือกันเบื้องต้นแล้ว เพราะระเบียบวาระยังไม่อยู่ในสภา และมีพระราชบัญญัติ ค้างอยู่ถึง 10 ฉบับ ส่วน ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองนั้น ยังอยู่ในระเบียบวาระ แต่ยังค้างการพิจารณาไว้ เพราะต้องรอการศึกษาข้อดีข้อเสียของการปรองดองก่อน รวมถึงต้องพิจารณาในส่วนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เกือบ 2,000 คน จากคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ยังไม่ได้รับการพิจารณา นอกจากนี้ นายอำนวย ยังกล่าวว่า หากมีการบรรจุวาระต้องทำการพูดคุยกัน เพื่อลดความขัดแย้ง และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ที่ ส.ส. จะต้องดำเนินการ ซึ่งส่วนตัวไม่รู้สึกหนักใจในการทำหน้าที่แต่อย่างใด ภท. ยัน ไม่ร่วมถกนิรโทษ แต่หนุนปรองดองนายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวยืนยันว่า พรรคภูมิใจไทย จะไม่เข้าร่วมหารือเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม กับ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เพราะขณะนี้ยังไม่เห็นความจำเป็น ที่จะเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อย่างไรก็ตาม พรรคภูมิใจไทย มีจุดยืนที่จะสนับสนุนการปรองดอง เพื่อให้บ้านเมือง ลดความขัดแย้ง ส่วนกรณีที่ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ไปเข้าร่วมประชุมกับ นายเจริญ เมื่อวานที่ผ่านมานั้น ก็เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับพรรค และรู้อยู่แล้วว่า นายเรืองศักดิ์ อยู่กลุ่มมัชฌิมา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook