นักวิทย์ญี่ปุ่นถ่ายติดภาพ"ปลาหมึกยักษ์" 8 เมตร ในทะเลลึกแปซิฟิค

นักวิทย์ญี่ปุ่นถ่ายติดภาพ"ปลาหมึกยักษ์" 8 เมตร ในทะเลลึกแปซิฟิค

นักวิทย์ญี่ปุ่นถ่ายติดภาพ"ปลาหมึกยักษ์" 8 เมตร ในทะเลลึกแปซิฟิค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทยาศาสตร์และสื่อญี่ปุ่นเปิดเผยว่า สามารถจับภาพปลาหมึกยักษ์ที่มีขนาดความยาวถึง 8 เมตรในบริเวณทะเลลึกของมหาสมุทรแปซิฟิคได้สำเร็จ

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพปลาหมึกยักษ์ในถิ่นอาศัยของมัน ร่วมกับสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค และสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี แชนเนล ของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถจับภาพของปลาหมึกยักษ์ในระดับความลึก 630 เมตร ดดยใช้เรือดำน้ำเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ห่างจากชายฝั่งเกาะจิจิ บริเวณน่านน้ำแปซิฟิคตอนเหนือไปทางตะวันออกราว 15 กม.

เอ็นเอชเคเผยแพร่ภาพวิดีโอหมึกยักษ์ตัวสีเงิน ซึ่งมีดวงตาสีดำขนาดใหญ่ ขณะกำลังว่ายทวนกระแสน้ำ พร้อมทั้งใช้หนวดยึดหมึกที่ใช้เป็นเหยื่อล่อเอาไว้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หมึกยักษ์ตัวนี้มีความยาวราว 3 เมตร แต่คาดว่าอาจยาวถึง 8 เมตร หากหนวดยาวทั้ง 2 หนวดไม่ได้ถูกตัดออกไป แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนวดเหล่านั้น

เรือดำน้ำซึ่งมีลูกเรือ 3 คน รวมถึงนายสึเนมิ โคบุเดระ ผู้เชี่ยวชาญด้านหมึกจากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ ได้ตามหมึกยักษ์ไปที่ความลึก 900 เมตร ขณะที่มันกำลังกำลังว่ายน้ำลงไปที่พื้นมหาสมุทร ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นับเป็นการประสบความสำเร็จครั้งแรกในการถ่ายภาพหมึกยักษ์ในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน ซึ่งอยู่ใต้ท้องทะเลลึกในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีก๊าซออกซิเจนเพียงเล็กน้อย

ก่อนหน้านี้ในปี 2006 นายโคบุเดระได้ถ่ายภาพหมึกยักษ์เป็นครั้งแรกจากบนเรือหลังจากที่ติดเบ็ดและถูกนำตัวขึ้นมาบนผิวน้ำ เขากล่าวว่า นักวิจัยจากทั่วโลกเคยพยายามที่จะถ่ายภาพปลาหมึกยักษ์ดังกล่าวในถิ่นที่อยู่เดิมของพวกมันหลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

หมึกยักษ์ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อาร์คิทิวทิส (Architeuthis) มักจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นปริศนาลี้ลับสุดท้ายของมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากไม่เป็นมิตรกับมนุษย์ จึงทำให้มีการสำรวจสัตว์ชนิดนี้น้อยมาก

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ นักวิทย์ญี่ปุ่นถ่ายติดภาพ"ปลาหมึกยักษ์" 8 เมตร ในทะเลลึกแปซิฟิค

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook