มองผ่านเลนส์คม - บอกลาปีเก่า

มองผ่านเลนส์คม - บอกลาปีเก่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เวลาอย่างนี้นึกถึงหนังสือ พุทธธรรม และ ธรรมนูญชีวิต ของเจ้าประคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งหลายคนคุ้นชินท่านในนาม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม ว่าเหมาะเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับใจที่ปรารถนาความสงบ

ทั้งใจเราและใจเขา

// //

การแสวงหาความสงบไม่มีวาระเก่าใหม่ ดังนั้น แม้หนังสือทั้งสองเล่มจะพิมพ์ออกมาเผยแพร่นานแล้ว ก็ไม่ใช่หนังสือตกยุค

พุทธธรรมเล่มหนาอาจจะอ่านยากกว่าธรรมนูญชีวิตเล่มบาง ซึ่งเจ้าประคุณพระพรหมคุณาภรณ์สรุปให้เห็นมาตรฐานชีวิตตามพุทธพจน์ได้ครบถ้วนกระบวนความ

เกิดอารมณ์หดหู่กับความเป็นไปของสังคม ก็ให้นึกถึงคุณสมบัติของความเป็นคน ที่พิเศษกว่าสัตว์อื่นตรงที่สามารถฝึก ศึกษา และพัฒนาสติปัญญาเพื่อความรู้ตนรู้โลก

หลักประการหนึ่งของความรู้ตนคือมีวินัยชีวิต เช่น รู้ละเว้นจากกรรมกิเลสประเภททำร้ายร่างกายทำลายชีวิต ลักทรัพย์ละเมิดกรรมสิทธิ์ ประพฤติผิดทางเพศ พูดเท็จ โกหก หลอกลวง และรู้ละเว้นจากอคติ คือ ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะขลาด และลำเอียงเพราะเขลา เป็นต้น

คุณสมบัติประการหนึ่งของคนเต็มคนคือมีทิฐิสัมปทา หรือทำทิฐิให้ถึงพร้อม ซึ่งหมายถึงรู้หลักเหตุปัจจัยพิจารณาเรื่องราวตามเหตุและผล รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง สืบสวน ค้นคว้า ไม่วู่วามโวยวายเอาแต่ใจตน และไม่ปล่อยตนให้เลื่อนไหลไปตามกระแสตื่นข่าวและค่านิยม

สำหรับผู้คนในโลกบันเทิง-สังคม การฝึกสงบใจมิได้หมายถึงการตัดขาดจากโลก ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบสัมมาอาชีวะอันเป็นประโยชน์ปัจจุบัน แต่หมายถึงเพื่อลดละกรรมกิเลสและอคติที่เป็นความฟุ้งซ่านของเราและที่เราช่วยกันส่งต่อให้สังคมเสียบ้าง

งานวิจัยจากทั่วโลกของนักประสาทวิทยาสรุปตรงกันว่า ใจไม่ฟุ้งซ่านเป็นใจของสมองฉลาดกว่าที่สร้างสรรค์งานได้หลากรูปแบบกว่า และเข้าถึงความลึกซึ้งของชีวิตมากกว่า ดังนั้น ช่วยกันสร้างความคุ้นชินใหม่ให้สังคมไทยว่าอย่าอยู่กับความฟุ้งซ่านมากนัก น่าจะเป็นเรื่องดีกว่า

ถือเป็นการบอกลาปีเก่าด้วยจิตรื่นรมย์

นิธินันท์ ยอแสงรัตน์

ตะลุยข่าว - 388 ศพสึนามิ...ยังไม่ได้กลับบ้าน

แม้พิบัติภัยสึนามิจะผ่านพ้นไปแล้ว 4 ปี ทว่าภาพความเสียหาย การล้มตาย และสูญหายไปของคนอันเป็นที่รัก ยังคงติดตรึงอยู่ในใจเหมือนภาพฝันร้ายในคืนที่แสนยุ่งเหยิง หลายครอบครัวยังทำใจไม่ได้กับมหันตภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และธุรกิจ เสียงหวีดร้องโหยหวนและร่ำไห้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ยังคงก้องอยู่ในมโนสำนึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook