ป.ป.ช.เสวนาบทบาทตลก.ในการป้องกันทุจริต

ป.ป.ช.เสวนาบทบาทตลก.ในการป้องกันทุจริต

ป.ป.ช.เสวนาบทบาทตลก.ในการป้องกันทุจริต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนา บทบาทของฝ่ายตุลาการ ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งเป็นการเสวนางานวิจัยในประเด็นดังกล่าว โดยงานวิจัยชิ้นนี้ จะเน้นความสำคัญของปัญหา กระบวนการพิจารณาคดี ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า มีปัญหาในประเด็นใดบ้าง ทั้งนี้ ศ.ดร.เมธี กล่าวในตอนหนึ่งว่า วัตถุประสงค์การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งมีกฎหมายที่สำคัญในหลายประเด็น เพื่อเชื่อมโยงไปถึงการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. จากนั้น รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอผลการวิจัยบทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ด้าน ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวในการประชุมเสวนาบทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่สำนักงาน ป.ป.ช. โดยเห็นว่า การไต่สวนคดีทุจริตของนักการเมืองมีความยุ่งยากซับซ้อน ตั้งแต่ขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานและการไต่สวน นอกจากนี้ ยังมีฝ่ายการเมือง ใช้อำนาจและอิทธิพลเข้ามากดดันการทำงานของ ป.ป.ช. ในหลายรูปแบบ ซึ่งตนเห็นว่า ศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีความจำเป็นในการทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมือง และขอสนับสนุนการทำหน้าที่ของศาลนี้ต่อไป อีกทั้ง ผู้พิพากษาต้องมีความรับผิดชอบสูง เนื่องจากเป็นศาลชั้นสุดท้าย และไม่สามารถกลับคำพิพากษาได้อีก อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า มีการคุกคามจากนักการเมือง โดยจะมีวิธีการบ่งบอกให้รู้ว่าต้องการให้มีการตัดสินคดีให้เป็นไปในทิศทางใด เนื่องจากโทษตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นการลงโทษที่รุนแรงกว่าการจำคุก อ.นิติศาสตร์ มธ. ชี้ 3 ขั้นตอนป้องกันการทุจริตตุลาการรศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอผลการวิจัยบทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในงานเสวนาที่จัดขึ้นโดยสำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งนี้ รศ.ประสิทธิ์ ระบุว่า จากการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งปัญหาได้ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ปัญหาก่อนการพิจารณา ปัญหาระหว่างการพิจารณา และปัญหาหลังจากที่พิจารณาคดีเสร็จสิ้น ซึ่งหมายถึงสิทธิการอุทธรณ์ และการรื้อคดีให้พิจารณาใหม่ ทั้งนี้ กฎหมายให้น้ำหนักกับการสืบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาก แต่การที่ศาลฎีกา จะยึดสำนวนของ ป.ป.ช. ทั้งที่อัยการสูงสุดได้ท้วงติงมา ดังนั้น หากเป็นกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ฟ้องเอง ศาลฎีกาควรไต่สวนหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพิ่มเติม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook