กมธ.แก้รธน.ถกต่อคุณสมบัติต้องห้าม ส.ส.ร.

กมธ.แก้รธน.ถกต่อคุณสมบัติต้องห้าม ส.ส.ร.

กมธ.แก้รธน.ถกต่อคุณสมบัติต้องห้าม  ส.ส.ร.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 7 ใช้เวลาเกือบ 7 ชั่วโมง โดยแบ่งป็นช่วงเช้า ช่วงบ่าย และจากการเชิญตัวแทนภาคประชาชน ที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญ 3 ร่าง ซึ่งประกอบด้วย นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ ประธานสมาพันธ์ประชาชนรักประชาธิปไตย 20 จังหวัดภาคอีสาน และ นายนิรันดร์ ด่านไพบูลย์ ตัวแทนกลุ่มประชาชนผู้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 พร้อมตัวแทนขององค์กรวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล คือ นายโคทม อารียา อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา เข้าให้ข้อมูล และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากทั้งกรรมมาธิการฝ่ายค้าน และรัฐบาลแล้ว ยังไม่มีข้อสรุปใดๆด้าน นายสามารถ แก้วมีชัย ประธาน กมธ. กล่าวขอบคุณตัวแทนภาคประชาชน และตัวแทนขององค์กรวิชาการที่เข้าร่วมหารือในครั้งนี้ และจะนำข้อมูลทั้งหมด รวบรวมประกอบเพื่อให้ กมธ. พิจารณา ก่อนกล่าวปิดประชุม กมธ.แก้รธน.ยังถกที่มา สสร.- 'โคทม'ชง200คน การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ในวันนี้ เป็นการประชุม ครั้งที่ 7 ซึ่งจะเป็นการหารือต่อจากมาตรา 291/3 เรื่องคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ที่จะลงสมัครเลือกตั้ง  สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ซึ่งวานนี้ ประเด็นดังกล่าวเกิดความเห็นไม่ตรงกันของ กรรมาธิการฝ่ายค้านและรัฐบาล เนื่องจาก ตามร่างของรัฐบาล ได้ตัดข้อความที่อ้างอิงมาจากการระบุผู้มีสิทธิ์รับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (5) เรื่อง ห้ามผู้ถูกคำพิพากษาจำคุกและเพิ่งพ้นโทษจำคุก ไม่ถึง 5 ปี มาลงสมัคร ส.ส.ร. ทิ้งไป จึงทำให้ กรรมาธิการฝ่ายค้าน ระบุว่า การเขียนด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นการเจาะจง เพื่อประโยชน์แก่กลุ่มบุคคลใดหรือไม่ทั้งนี้ ในวันนี้จะมีการประชุมต่อในภาคบ่ายด้วย และจะมีการเชิญตัวแทนภาคประชาชน ที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญ 3 ร่าง พร้อมตัวแทนขององค์กรวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความคิดเห็นด้วย "สมชาติ"ตำหนิ"ชุมพล"ไม่ร่วมประชุมกมธ.ทำชทพ.เสียโอกาสนายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.... เปิดเผยสำนักข่าว INN ว่า ในการประชุมกรรมาธิการเมื่อวานที่ผ่านมา บรรยากาศในการประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการประชุมหารือกันมา ทั้งฝ่ายค้าน และรัฐบาล ไม่มีการโต้แย้งกันเลย ต่างฝ่ายต่างใช้เหตุและผลในการเสนอความเห็น ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของการทำงาน แต่ยอมรับว่ารู้สึกเสียดายโอกาสแทน ส.ส.ของพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ร่วมกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เข้ามาแสดงความเห็นในชั้นกรรมาธิการ โดยเฉพาะ นายภราดร ปริศนานันทกุล เพราะว่าเลือก นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค มาเป็นกรรมาธิการ แต่ก็ไม่ได้เข้ามาเสนอความเห็นเลย และที่ผ่านมา ก็เข้ามาร่วมประชุมเพียงแค่ครั้งดียวเท่านั้น    พร้อมกันนี้ นายสมชาติ ได้ทิ้งท้ายว่า จากภาพความราบรื่นในการประชุมวานนี้ ทำให้มั่นใจว่า กรรมาธิการจะสามารถพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของ ส.ส.ร. ได้เสร็จทันตามกรอบเวลาอย่างแน่นอน สมชาติชี้สูตรจำนวนส.ส.ร."เทพไท"ดูดีที่สุดนายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.... เปิดเผยสำนักข่าว INN ว่า จากการหารือของกรรมาธิการ เรื่องจำนวน ส.ส.ร. ที่มีหลายคนเสนอความเห็นมานั้น คิดว่า แนวคิดของ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอให้ มี ส.ส.ร.เลือกตั้ง 130 คน โดยยึดกับสัดส่วนประชากร และอีก 20 คน มาจากการสรรหา เป็นความเห็นที่ดูดี เหมาะสม และมีแนวโน้มว่าจะถูกใจกรรมาธิการมากที่สุด พร้อมกันนี้ นายสมชาติ มั่นใจว่า การประชุมในวันนี้ จะสามารถพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติ ส.ส.ร. เสร็จสิ้นทั้งหมด และน่าจะหารือในส่วนของอำนาจหน้าที่ของ ส.ส.ร. รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ทั้งหมดได้ และการทำงานของกรรมาธิการ น่าจะทำงานได้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาอย่างแน่นอน "สามารถ"ยันถกปม ส.ส.ร.ราบรื่น ย้ำลงมติหลังฟังภาคปชช.นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... รัฐสภา กล่าวในรายการเปิดข่าวเด่นเจาะประเด็นดัง ทางเอฟเอ็ม 102.75 ว่า ในการประชุมวานนี้บรรยากาศเป็นไปด้วยดี มีการแลกเปลี่ยนความคิดของแต่ละฝ่าย ก่อนที่จะมาทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อแสดงว่า เป็นการสงวนคำแปรญัตติ และจากนั้นจึงจะมาลงมติกันอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ของ นายโคทม อารียา ในวันนี้ นายสามารถ แก้วมีชัย ยืนยันว่า การที่ นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ ไม่ค่อยได้ร่วมประชุม เป็นเพราะติดภารกิจรัฐมนตรี ถกกมธ.แก้รธน.แล้วคุณสมบัติสสร.-ปธ.สั่งแขวนปมลักษณะต้องห้ามการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ครั้งที่ 7 เริ่มการประชุมที่ มาตรา 291/4 เรื่องสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.  ตามมาตรา 291/1 (2) ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 291/1 (1) และ (2) และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 291/3 (1) และ (3) ซึ่งนายแพทย์เหวง  โตจิราการ  กรรมาธิการฝ่ายรัฐบาล กล่าวว่า ให้ตัดทิ้งทั้งมาตรา เนื่องจากเป็นการพูดถึง ส.ส.ร. แบบที่ 2 ซึ่งยืนยันว่า แม้ ส.ส.ร. จะมีแบบเดียวที่มาจากประชาชน ก็สามารถจัดการร่างรัฐธรรมนูญได้ และเพื่อให้สอดคล้องว่า อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ด้าน นายอลงกรณ์ พลบุตร  กรรมาธิการฝ่ายค้าน กล่าวว่า ให้คงไว้ตามร่างแต่ตนเองขอสวงนคำแปรญัตติ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุป  ซึ่งประธานในที่ประชุม จึงสั่งแขวนไว้ และเริ่มหารือใน มาตรา 291/5 ต่อ กมธ.แก้รธน. ถก มาตรา 291/5 ไม่จบ พักถก รอภาค ปชช.การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... เริ่มการหารือ มาตรา 291/5 แต่มีเหตุผลที่หลากหลาย จนทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งทางฝ่ายค้านได้เรียกร้องให้ตัวแทนรัฐบาล ออกมาชี้แจงถึงสาเหตุของการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรา    หลังจากนั้น ประธานในที่ประชุมได้ให้ตัวแทน คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.  ชี้แจงถึงการดำเนินการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่ง กกต. ยอมรับว่า มีความอึดอัดพอสมควร ในการกำหนดร่างหลักเกณฑ์ และวิธีการในการเลือกตั้ง ส.ส.ร. และในขณะนี้ กกต.  อยู่ระหว่างการประชุมหารือกันในประเด็นดังกล่าวทั้งนี้ การหารือในมาตรา 291/5 ยังไม่เสร็จสิ้น และยังคงมีประเด็นที่เห็นต่าง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล แต่ในที่ประชุมเห็นว่า ในภาคบ่าย ยังต้องมีการประชุมและมีตัวแทนจากภาคประชาชนและตัวแทนขององค์กรวิชาการจาก มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความคิดเห็น จึงเห็นควรให้พักการประชุม ประชาธิปไตยใหม่ ยื่น 9 ข้อเสนอ ตั้ง ส.ส.ร. ขออย่าจำกัดวุฒิฯนายวารินทร์  อัฐนาค รองหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ เดินทางมายื่นหนังสือ เรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. จำนวน 9 ข้อ คือต้องมี อายุ 18 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยใช้จำนวนประชากรและระบบเขตเหมือนการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศ สมาชิกพรรคการเมือง มีสิทธิ์ลงรับสมัครได้ ไม่ควรกำหนดอายุการทำงานของ ส.ส.ร. สั้นเกินไป ให้ขึ้นอยู่กับภารกิจ  ผู้สมัคร ส.ส.ร. มีสิทธิ์รณรงค์หาเสียงได้ พร้อมต้องกำหนดค่าใช้จ่าย และแจ้งบัญชีหลังการเลือกตั้ง กกต. มีสิทธิ์สอยใบแดงและตัดสิทธิ์ทางการเมืองถ้าทุจริตการเลือกตั้ง และต้องไม่ไขหมวดที่ว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่ง นายสามารถ แก้วมีชัย  ประธานคณะกรรมาธิการฯ  กล่าวว่า จะนำไปประกอบการพิจารณา ซึ่งหลายข้อที่เสนอมานั้นเหมือนกับกรรมาธิการ หลายคน ที่ได้เสนอแปรญัตติไว้แล้ว พร้อมจะนำไปประกอบให้กรรมาธิการ เสนอแปรญัตติต่อไป "ธิดา" เสนอแนวทางตั้ง ส.ส.ร. 100 คน ต่อ กมธ.แก้ รธน. นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ว่า ร่างรัฐธรรมนูญของ นปช. ต้องการแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่รัฐธรรมนูญของพรรคการเมือง ส่วนกรณีที่ร่างของ นปช. ระบุว่าจะให้มีจำนวน ส.ส.ร. 100 คนนั้น เป็นจำนวนที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป และไม่เห็นด้วยกับ ส.ส.ร.สรรหา เนื่องจากอาจจะมีข้อครหาได้ว่า เป็นการตั้งไว้ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และการร่างเช่นนี้ จะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ความปรองดองได้อย่างยั่งยืน และอยากให้ รัฐธรรมนูญ ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั้งหมดนอกจากนี้ นางธิดา กล่าวอีกว่า ร่างรัฐธรรมนูญของ นปช. ร่างด้วยหลักการ และเหตุผลจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ และ รัฐธรรมนูญที่ดี อยู่ที่ว่าประชาชนจะเป็นเจ้าของได้มากแค่ไหน เพื่อป้องกันการถูกฉีกรัฐธรรมนูญโดยการทำรัฐประหาร   "โคทม" เสนอ กมธ.แก้ รธน. ส.ส.ร. ควรมี 200 คน มาจาก ลต. ทั้งหมดนายโคทม อารียา อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ว่า ผลการศึกษาเปิดเวทีมีข้อเสนอเกี่ยวกับจำนวนและที่มาของ ส.ส.ร. และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยห็นว่า ส.ส.ร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และไม่ควรมีการสรรหา ส.ส.ร. ส่วนการจัดการเลือกตั้ง ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตในการเลือกตั้งคำนวณจากประชากร 3.2 แสนคนต่อ ส.ส.ร. 1 คน ให้มี ส.ส.ร. จำนวน 200 คน และการเลือกตั้ง จะต้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเลือก ส.ส.ร. ได้เพียงคนเดียว ขณะเรื่องคุณสมบัติของ ส.ส.ร. ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ส่วนการหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ส.ร. ทาง กกต. ควรจัดเวทีหาเสียงไว้ ทั้งนี้ ระยะเวลาการยกร่าง เสนอให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และไม่ควรรีบเร่งจนเกินไปนอกจากนี้ ยังเสนอให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่แต่งตั้งโดย ส.ส.ร. จำนวน 30 คน และจะต้องมีสตรีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน กกต.คาดถกข้อเสนอกมธ.แก้รธน.สัปดาห์หน้า นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้งกล่าว ว่า ตนเองคาดว่าที่ประชุม กกต. จะมีวาระการพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวันที่ 27 มีนาคม นี้ แต่เบื้องต้น ในฐานะที่มีส่วนดูแลงานบริหารการเลือกตั้ง เชื่อว่า หากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ผ่านเป็นกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ร. ออกมาแล้ว กกต. นำไปออกระเบียบการเลือกตั้ง โดยที่มีกฎหมายรองรับจะไม่มีปัญหา ส่วนที่มีข้อเสนอจากคณะกรรมาธิการ ว่าจะให้เวลา กกต. 3 เดือน เพื่อยกร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งนั้น นายบุณยเกียรติ กล่าวว่า เวลา 3 เดือน น่าจะเพียงพอในการยกร่างกฎหมาย เพียงแต่คณะกรรมาธิการจะต้องบอกหลักการที่ต้องการให้ครบถ้วนเสียก่อน เพื่อให้ กกต.สามารถนำไปออกระเบียบต่อไปสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ได้ ภาค ปชช.เสนอความเห็น กมธ. ส.ส.ร.ต้องมาจากการลต.นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ ประธานสมาพันธ์ประชาชนรักประชาธิปไตย 20 จังหวัดภาคอีสาน กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะนี้เกิดความเห็นต่างในสังคมค่อนข้างรุนแรง ร่างฉบับที่เสนอขึ้นมานั้น หลักการสำคัญคือ ให้มีการแก้ไข หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 โดยการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ ส.ส.ร. ต้องเป็นอิสระจากรัฐสภา พรรคการเมือง และนักการเมือง และต้องมีประชาชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ส่วนจำนวน ส.ส.ร. ต้องคำนึงตามสัดส่วนของประชากรของประเทศ และไม่มีการกำหนดวุฒิการศึกษา โดยมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง และไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งตนอยากเห็นทิศทางในการปฏิรูปประเทศ และการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยด้าน นายนิรันดร์ ด่านไพบูลย์ ตัวแทนกลุ่มประชาชนผู้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวว่า อยากให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ และมี ส.ส.ร. ที่เป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วน มีเลือกตั้งโดยตรงจากจังหวัดละ 1 คน เป็นจำนวนทั้งหมด 77 คน และมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ จำนวน 24 คน และให้มีการทำประชามติ  กมธ.ปรองดอง ปชป.ยื่นหนังสือพล.อ.สนธิทบทวนรายงานวิจัย คณะกรรมาธิการปรองดอง พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ และ นายกนก วงษ์ตระหง่าน เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปรองดอง ให้มีการเปิดประชุมทบทวนรายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ของสถาบันพระปกเกล้า โดย พล.อ.สนธิ กล่าวว่า จะกลับไปอ่านและทำการศึกษา ซึ่งยังคงย้ำแนวทางปรองดองเดิม โดยไม่นำเรื่องในอดีตมาพูดให้เกิดความขัดแย้ง ถ้าหากปรับความคิดเห็นตรงกัน ความปรองดองเกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งปฏิบัติเสธ ว่า ไม่มีผู้อื่นชักนำ ส่วนผลสรุปปรองดอง มาจากคณะกรรมาธิการ ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว ทั้งนี้ แนวทางการสร้างความปรองดอง จะไม่กระทบกับหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม เพราะต้องทำไปตามหลักการ อย่างไรก็ตาม พล.อ.สนธิ ยังกล่าวผ่านสื่อให้ตั้งคำถามที่สร้างสรรค์ ไม่ชี้นำไปสู่ความขัดแย้ง นิพิฏฐ์ชี้ปรองดองไม่ควรเริ่มลงมติเสียงข้างมาก นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการปรองดอง กล่าวให้สัมภาษณ์หลังยื่นหนังสือให้เปิดการประชุม ทบทวนรายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ของสถาบันพระปกเกล้า ต่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปรองดอง ว่า หลักการปรองดอง ไม่ควรเริ่มจากการลงมติใช้เสียงข้างมาก ข้อเท็จจริงบางประการในรายงานวิจัยยังไม่ครบถ้วน เช่น มีการคำพิพากษาคดีปี 2536 มาเปรียบเทียบกับคดีของ คตส. ยังมีความคลาดเคลื่อน ด้าน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า รายงานวิจัยต้องทำควบคู่กับประชาเสวนา จึงจะได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ โดยผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการร่วมแสดงความคิดเห็น หาข้อสรุปร่วมกัน รายงานจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามหาก พล.อ.สนธิ หรือ สถาบันพระปกเกล้า ยังไม่มีการทบทวน ทางคณะกรรมาธิการปรองดอง พรรคประชาธิปัตย์ จะพูดคุยในที่ประชุมอีกครั้ง ที่ปรึกษาผู้ตรวจฯแนะแก้รธน.อย่าใช้หลักพวกมากลากไป นายกิตติศักดิ์ ปรกติ โฆษก 10 ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมในวันนี้ว่า ที่ประชุมในวันนี้ ได้มีข้อเสนอทางทฤษฎีให้กับผู้ตรวจการแผ่นดิน 2 ข้อ คือ รัฐธรรมนูญปี 2550 มาจากการทำประชามติของประชาชน หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวทั้งฉบับ ต้องมีการทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว ต้องมีการทำประชามติอีกครั้ง และอีกข้อหนึ่งคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยยกร่างทั้งฉบับนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องหาความเห็นฟ้องต้องกันของสังคม ไม่ใช่เสียงข้างมากลากไป เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงเสียงข้างมากในอนาคต จะทำให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับอีกครั้ง ทั้งนี้ข้อเสนอทั้ง 2 ข้อดังกล่าว จะมีการเสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณาต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook