จรัญเผยเที่ยงรู้พ.ร.ก.กู้เงินขัดรธน.หรือไม่ ยันไม่หนักใจ

จรัญเผยเที่ยงรู้พ.ร.ก.กู้เงินขัดรธน.หรือไม่ ยันไม่หนักใจ

จรัญเผยเที่ยงรู้พ.ร.ก.กู้เงินขัดรธน.หรือไม่ ยันไม่หนักใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า เวลา 09.30 น. วันนี้ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน ได้เรียกประชุมเพื่อลงมติคำวินิจฉัย กรณีที่ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า การออกพระราชกำหนดเงินกู้ของรัฐบาล 2 ฉบับ ไม่ใช่กรณีเร่งด่วน และขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งองค์คณะทั้ง 9 ท่าน จะรวบรวมคำวินิจฉัย และแถลงต่อที่ประชุม และมีการลงมติ ซึ่งคาดว่าในเวลาไม่เกิน 12.00 น. จะทราบผลการตัดสินแน่นอน อย่างไรก็ตาม นายจรัญ กล่าวอีกว่า ในการลงมติและแถลงคำวินิจฉัยเรื่องนี้ ไม่หนักใจหากจะถูกกดดันจากใคร เพราะถือว่าได้วินิจฉัยไปตามอำนาจ หน้าที่ กิจจา ชี้พ.ร.ก.เงินกู้ ไม่ผ่าน ไม่กระทบแก้น้ำท่วมปี 55นายกิจจา ผลภาษี คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.เกี่ยวกับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะตัดสินชี้ขาด พ.ร.ก.เงินกู้ 2 ฉบับ ของรัฐบาล ซึ่ง 1 ฉบับ เป็นการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท แก้ปัญหาและวางระบบป้องกันน้ำท่วมนั้น จะส่งผลให้แผนการรับมือน้ำท่วมในปีนี้ของรัฐบาล เกิดปัญหาล่าช้า และอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนเมื่อปีก่อนอีกครั้ง ว่า เรื่องดังกล่าว ไม่น่าเป็นห่วง เพราะว่าในปี 2555 กยน. และรัฐบาล มีแผนสำหรับการจัดการน้ำในปีนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว มีงบประมาณเพียงพอ ประชาชนไม่ต้องกังวลปัญหาดังกล่าว แต่ยอมรับว่า หาก พ.ร.ก. ดังกล่าว ไม่ผ่านนั้น จะส่งผลกระทบต่อแผนระยะยาวในปี 2556 - 2557 ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล มาดำเนินการโครงการต่างๆ มากกว่า นอกจากนี้ นายกิจจา ยังเสนอแนะว่า ถึงเวลาแล้ว ที่รัฐบาลควรจะรวบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งหมดในกระทรวงต่างๆ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก มารวมเป็นหน่วยงานเดียว หรือเป็นกระทรวงน้ำ เพื่อที่จะมีการทำงานที่กระชับ และรวดเร็ว ในการจัดการเรื่องน้ำที่ดีขึ้น เพราะมีตัวอย่างในปีที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างแบ่งแยกกันทำงาน โดยขาดการประสานงานที่ดี ทำให้การแก้ปัญหาค่อนข้างล่าช้า ตลก.ศาลรธน. ถกทำความเห็น 2 พ.ร.ก. ก่อนนั่งบัลลังก์ 14.00 น.วันนี้เวลา 09.00 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีการประชุม เพื่อจัดทำความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตัวพระราชกำหนดกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศปี 2555 และพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินปี 2555 ซึ่งหลังจากนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด จะแถลงความเห็นด้วยวาจา ต่อที่ประชุม ก่อนจะมีการลงมติ ซึ่งประเด็นในการวินิจฉัย พระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ นั้น มี 2 ประเด็นด้วยกัน คือ การออกพระราชกำหนดดังกล่าว เป็นการป้องกันภัยพิบัติสาธารณะหรือไม่ และมีความจำเป็นเร่งด่วน ในการออกพระราชกำหนดทั้ง 2 หรือไม่ ทั้งนี้ มติของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมานั้น ต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 จากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 6 เสียง และหลังจากนั้น คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะออกนั่งบันลังก์ เพื่ออ่านคำวินิจฉัย ในเวลา 14.00 น. 'เฉลิม'ระบุ รัฐไม่ต้องรับผิดชอบ หาก พ.ร.ก.เงินกู้ ตกร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญว่า จะวินิจฉัย พ.ร.ก. เงินกู้ 2 ฉบับ ผ่านหรือไม่ แต่หากศาลเห็นว่า ไม่ผ่าน ถือว่าไม่เสียหายเป็นประเด็นที่แตกต่างกันกับ กรณีการโหวตในสภาผู้แทนราษฎร ที่หาก พ.ร.ก. ตก รัฐบาลต้องมีการรับผิดชอบ แต่ พ.ร.ก.เงินกู้ 2 ฉบับ เป็นการตีความของศาล รัฐบาลสามารถเสนอใหม่ในรูปแบบของ พ.ร.บ. เข้าสู่การพิจารณาของสภาได้ แต่ยอมรับ อาจทำให้เกิดความล่าช้า รัฐบาลปฏิบัติงานลำบาก ประชาชนจะเดือดร้อน  'ประชา'บอกรัฐยังไม่เตรียมการหากพรก.คว่ำ  พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า รัฐบาลยังไม่ได้เตรียมการใด ๆ หาก พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ ถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ โดยขอฟังคำวินิจฉัยก่อนว่า จะออกมาในทิศทางไหน อย่าคาดการณ์ล่วงหน้า แต่ส่วนตัวตนก็พร้อมจะยอมรับคำตัดสิน แต่ถ้า พ.ร.ก. ทั้ง 2 ฉบับ ตกลงไปจริง ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายกฎหมาย พรรคจะเป็นผู้พิจารณาว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร และรัฐบาล ก็ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบ เพราะเป็นความเห็นของแต่ละฝ่ายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า พ.ร.ก. ทั้ง 2 ฉบับ มีความสำคัญ เนื่องจาก รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟูเยียวยาปัญหาน้ำท่วม ส่วนการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองในพื้นที่ภาคใต้นั้น ได้มีการกำหนดการช่วยเหลือออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เจาะไอร้อง ตากใบ บุคคลที่สูญหาย หรือ ทรมาน และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยอธิปไตย โดยคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ภายใน 2 สัปดาห์ 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook