กองกำลังกัดดาฟีสกัดคน 3 หมื่นไม่ให้ออกปท.

กองกำลังกัดดาฟีสกัดคน 3 หมื่นไม่ให้ออกปท.

กองกำลังกัดดาฟีสกัดคน 3 หมื่นไม่ให้ออกปท.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กองกำลังทหารกัดดาฟี เข้าสกัดกั้นแรงงานข้ามชาติ กว่า 30,000 คน ที่กำลังอพยพออกจากประเทศ พร้อมต้อนกลับเข้ากรุงตริโปลี เพื่อใช้แรงงาน

สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) หรือ Federation เปิดเผยว่า กองกำลังที่ให้การภักดีต่อ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียเข้าทำการสกัดกั้นแรงงานข้ามชาติที่พยายามอพยพออกจากประเทศลิเบียสู่ประเทศตูนิเซีย ผ่านช่องทางชายแดนกว่า 30,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบังกลาเทศอียิปต์ และจากกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา ในทวีปแอฟริกา พร้อมบังคับให้กลับไปใช้แรงงานในกรุงตริโปลี เมืองหลวงของลิเบียตามเดิม เพื่อใช้แรงงานขั้นพื้นฐาน ในการทำความสะอาดตามโรงพยาบาล

ด้านข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เปิดเผยถึงความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น โดยกองกำลังติดอาวุธชาวลิเบีย และกลุ่มทหารรับจ้าง ในพื้นที่ทางตะวันออกของประเทศลิเบีย และที่มั่นของกัดดาฟี ในพื้นที่ทางตะวันตก ขณะที่ผู้ลี้ภัยชาวซูดานได้เดินทางถึงประเทศอียิปต์ ผ่านชายแดนทางตะวันตกของลิเบียแล้วและมีเด็กหญิงชาวซูดานวัย 12 ปี คนหนึ่งเปิดเผยว่าถูกข่มขืนระหว่างการอพยพและอีกหลายคนถูกทำลาย หรือ ยึด หลักฐานแสดงตน

นอกจากนี้กองกำลังสนุบสนุน กัดดาฟี ยังคงใช้เครื่องบินรบและรถถัง ถล่มที่มั่นฝ่ายต่อต้านอย่างหนัก และยังมีการถกเถียงเรื่องการบังคับใช้เขตห้ามบิน

โดยกองกำลังที่ภักดีต่อ พันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ได้ส่งรถถังและเครื่องบินรบ ไปถล่มที่มั่นของฝ่ายต่อต้านอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ประชาชนในเมืองซาวิยาห์ มีประชาชนจำนวนมากติดอยู่ท่ามกลางการโจมตีอย่างหนักของฝ่าย พันเอกกัดดาฟี โดยมีการใช้ทั้งรถถังราว 40 - 50 คัน และเครื่องบินรบยิงถล่ม แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงใจกลางเมือง

ขณะเดียวกันมีการเปิดเผยว่า สหรัฐฯ ได้ออกมาเผยว่า การบังคับใช้เขตห้ามบิน เพื่อขัดขวางปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของฝ่าย พันเอกกัดดาฟี จะต้องได้รับฉันทามติจากโลกด้วย แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติ และ สหประชาชาติควรเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้ ไม่ใช่สหรัฐฯ

รวมทั้ง การหาข้อสรุปเพื่อให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต ใช้ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์อย่างเต็มรูปแบบ เท่าที่จะทำได้ ที่รวมทั้งการสอดแนม, การบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม, การบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรด้านอาวุธ และกำหนดเขตห้ามบิน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook