เพาะเมล็ดพันธุ์ 'คน'ร่วมซ่อมแซมสังคม

เพาะเมล็ดพันธุ์ 'คน'ร่วมซ่อมแซมสังคม

เพาะเมล็ดพันธุ์ 'คน'ร่วมซ่อมแซมสังคม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พร้อมกับบรรยายต่อพอให้เจ้าของคำถามหยุดคิด จากนี้ไปอย่าเหมารวมเอาภาพที่ตัวเองเห็นมาแทนค่าความจริงทั้งหมด

จริงอยู่ที่ทุกวันนี้ เรื่องของศาสนา วัฒนธรรมประเพณี รวมถึงหลักคิดความพอเพียงมักถูกพูดจากปากคนมีอายุ จนแนวทางดังกล่าวกลายเป็นสัญลักษณ์ของนามธรรมคร่ำครึ หากแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนในสังคมนี้จะหันหลังให้ไปเสียทุกคน แม้จะเป็นคนหนุ่มสาวก็เถอะ

"อย่างน้อยก็หนูนี่ละ" จุ๊บแจงว่า

มองไปรอบๆตัว ประโยคในใจความที่ว่า "ความสุขมีอยู่รอบตัว ไม่ต้องไปหาที่ไหน"เป็นทั้งคำสอนและสโลแกน ที่หาได้ตามโฆษณาคั่นละครโทรทัศน์ หรือป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ใกล้ทางด่วน

แง่ดีปรากฎการณ์เช่นนี้ กล่าวได้ว่า ท่ามกลางระบบทุนที่แข่งขันกันอย่างไม่ปราณี การแสวงหาความสุขที่แท้จริงในแบบวิถีพุทธ ยังเป็นเรื่องที่ใครก็ใฝ่ถึง

ขณะที่อีกด้านตีความได้ในลักษณะที่ว่า คำโฆษณาชั่วครู่เป็นเพียงหยาดฝนท่ามกลางอากาศที่ร้อนอ้าวเท่านั้น หาได้เป็นการแก้ต้นเหตุให้สังคมชุ่มฉ่ำถาวรได้

ประเด็นนี้ พระสนั่น โฆสนาโม แห่งสถานปฏิบัติธรรมห้วยกี้วนาราม วัดห้วยกี้วนาราม บ้านห้วยกี้ จ.แพร่ สะท้อนแนวคิดด้วยคำพูดคุ้นหูว่า กระแสการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ ตอบสนองตลาดธุรกิจตลาดแรงงานมากเกินไป ผิดกับสาขาวิชาด้านการพัฒนาสังคม การยกระดับศีลธรรมจริยธรรมที่นับวันยิ่งน้อยลง สังคมจึงไม่สมดุลย์กัน

"ความสำคัญถูกให้น้ำหนักไปที่รายได้ วัตถุ และการเป็นคนเก่ง คนที่เรียนเก่งทำงานได้เงินเยอะ กลายเป็นคนมีคุณค่ามากกว่าคนที่ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม" พระสนั่นว่า

ทั้งนี้ยืนยันว่านี่ไม่ใช่การพิพากษาตัดสินชั่ว-ดี ที่การศึกษา ด้วยเพียงแค่ต้องการเสนอว่า ระบบการศึกษาควรปรับเข็มทิศความสำคัญ ไว้ที่เรื่องของจริยธรรมส่วนรวมบ้าง

นั่นจึงเป็นที่มาของ โครงการ"เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งชุมชน" ที่สถานปฏิบัติธรรมห้วยกี้วนารามหวังเป็นแหล่งบ่มเพาะต้นกล้ามนุษย์แห่งความดี โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายพุทธิกา

"เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งชุมชน เกิดขึ้นจากความเชื่อในหลักพระธรรมคำสอน นั่นคือการฝึกตน ประพฤติและปฏิบัติไปในแนวทางที่ดี มีสติเท่าทันตนเองอยู่เสมอ ไม่หลงไปกับกระแสอันเป็นหลุมพรางของกิเลส เช่นเดียวกับการทำความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น"พระสนั่น อธิบายหลักคิด

"เราเน้นการให้คุณค่าทางจิตใจและเห็นค่าของการให้เยาวชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือชุมชน ช่วยเหลือบ้าน ที่เป็นถิ่นฐาน และรกรากทั้งชีวิตและวัฒนธรรมการให้เห็นคุณค่าในการอยู่และพัฒนาชุมชนโดยมีธรรมมะเป็นหลักยึด ก่อนปรับใช้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook