น้อมรำลึก "พระปิยะมหาราช" ผู้ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจไทย

น้อมรำลึก "พระปิยะมหาราช" ผู้ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจไทย

น้อมรำลึก "พระปิยะมหาราช" ผู้ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง

พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานของระบบการบริหารบ้านเมืองไว้มากมายแทบทุกด้าน และยังคงสืบเนื่องต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันหลายประการ โดยเฉพาะระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การวางระบบราชการ การวางรากฐานโครงสร้างทางเศรษฐกิจมาให้กับประชาชนชาวไทยจนทุกวันนี้

ทั้งนี้พระองค์ได้ ปรับปรุงวางโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไว้ดังนี้

1.การปฏิรูปด้านการคลัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น ในปี พ.ศ.2416 ในพระบรมมหาราชวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากร ทุกชนิดนำส่งพระคลังมหาสมบัติ ทำบัญชีรวบรวมผลประโยชน์ ตรวจตราการเก็บ ภาษีอากรของหน่วยราชการต่างๆ ให้เรียบร้อยรัดกุม รับผิดชอบการจ่ายเงินเดือนในอัตราที่แน่นอนให้กับข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหาร
เฉพาะในส่วนกลางแทนการจ่าย เบี้ยหวัดและเงินปี

2. การปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบเงินตรา ดังนี้
2.1การประกาศกำหนดมาตราเงินใหม่ ให้มีเพียง 2 หน่วย คือ บาทกับสตางค์
สตางค์ที่ออกมาใช้ ครั้งแรก มี 4 ขนาด คือ 20 , 10 , 5 และ 2 สตางค์ครึ่ง และประกาศยกเลิกใช้เงินพดด้วง
2.2 การออกธนบัตร ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรขึ้นเพื่อทำหน้าที่ออก ธนบัตรให้ได้มาตรฐาน ธนบัตรนั้นเดิมประกาศใช้มา ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แล้ว
2.3เปรียบเทียบค่าเงินไทยกับมาตรฐานทองคำ ในพ.ศ.2451 ประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน 13 บาท เท่ากับ 1 ปอนด์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล

3.การตั้งธนาคาร มีบุคคลคณะหนึ่งร่วมมือก่อตั้งธนาคารของไทยแห่งแรกเรียกว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ได้รับพระราชทางพระบรมราชานุญาตจัดตั้งธนาคาร จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเรียกชื่อว่า แบงค์สยามกัมมาจล (Siam Commercial Bank) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

4.การทำงบประมาณแผ่นดิน ในพ.ศ.2439 รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้การรับจ่ายของแผ่นดินมีความรัดกุม โปรดให้แยกเงินส่วนแผ่นดินและส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

5.การปรับปรุงทางด้านการเกษตรและการชลประทาน มีการขุดคลองเก่าบางแห่งและขุดคลองใหม่อีกหลายแห่ง เช่น คลองนครเนื่องเขต คลองดำเนินสะดวก คลองประเวศน์บุรีรัมย์ คลองเปรมประชา คลองทวีวัฒนา สร้างประตูระบายน้ำ เพื่อช่วยส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกได้ ด้านการป่าไม้ โปรดให้ตั้ง กรมป่าไม้ ส่งเสริมให้ปลูกสวนสัก และส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาป่าไม้ ณ ต่างประเทศ

6.การพัฒนาทาด้านคมนาคม การสื่อสาร ได้มีการสร้างถนนขึ้นหลายสาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราช ดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ส่วนสะพานข้ามคลองที่เชื่อมถนนต่างๆ ก็มี สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์


ในด้านการสื่อสาร ได้ทรงตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2426 ในพ.ศ.2418 เปิดบริการโทรเลขสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ
ด้านการสร้างทางรถไฟ มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมือง
ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ทางรถไฟสายใต้
ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ กรุงเทพฯ – พระพุทธบาท
กรุงเทพฯ–มหาชัย–ท่าจีน– แม่กลอง สายบางพระแบะสายแปดริ้ว ฯลฯ

วันนี้ 23 ตุลาคม เวียนมาอีกครั้ง เป็นวันที่เราประชาชนชาวไทยควรน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสร้าง วางรากฐานของประเทศจนก้าวหน้ามาจนปัจจุบัน ยิ่ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook