ทำไมคนญี่ปุ่นเรียก “ซิปกางเกง” ว่า “หน้าต่างทางสังคม”!?

ทำไมคนญี่ปุ่นเรียก “ซิปกางเกง” ว่า “หน้าต่างทางสังคม”!?

ทำไมคนญี่ปุ่นเรียก “ซิปกางเกง” ว่า “หน้าต่างทางสังคม”!?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าคำ ๆ นี้อาจเลิกใช้กันไปแล้วในปัจจุบัน แต่เมื่อหลายสิบปีก่อน ชาวญี่ปุ่นเรียก “ซิปกางเกง” ว่า “ฉะไค โนะ มาโดะ” (社会の窓) แปลตรงตัวว่า “หน้าต่างทางสังคม” โดยมักใช้เพื่อบอกเป็นนัย ๆ ว่า “โอ้ย, ฉะไค โนะ มาโดะ งะ ไอเตะรุโซะ” (おい、社会の窓が開いてるぞ) แปลว่า “นี่! หน้าต่างทางสังคมกำลังเปิดอยู่นะ” ซึ่งก็หมายถึง “ไม่ได้รูดซิปกางเกง” นั่นเอง วันนี้เราจะพาย้อนไปดูว่า เพราะอะไรชาวญี่ปุ่นถึงเรียกซิปกางเกงว่า “หน้าต่างสังคม”!

ที่มาของ “หน้าต่างทางสังคม”

คำ ๆ นี้มีที่มาจากรายการวิทยุ “Information Hour” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ NHK ตั้งแต่ปี 1948 – 1952 ซึ่งรายการจะนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างไปในแต่ละวัน ประกอบไปด้วย “อะตาราชี่ โนซน” (新しい農村), “โรโด โระ จิคัง” (労働の時間), “ฉะไค โนะ มาโดะ” (社会の窓), “ซังเกียว โนะ ยู” (産業の夕), “Local Show” (ローカル・ショー), “คะเท โนะ วะได” (家庭の話題) และ “โทคิ โนะ อุโกะคุ” (時の動き) ทั้งหมดนี้ เป็นรายการที่ศูนย์บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (GHQ) มีส่วนร่วมอย่างมาก หลังสิ้นสุดสงครามในประเทศญี่ปุ่นได้เพียงไม่นาน

รายการ “Information Hour ตอน ฉะไค โนะ มาโดะ” จะนำเสนอในหัวข้อเกี่ยวกับ “การขุดคุ้ยเบื้องหลังของปัญหาทางสังคมต่าง ๆ” ซึ่งทางรายการพยายามจะสื่อกับผู้ชมว่า “คุณจะมองเห็นบางสิ่งที่ตามปกติจะมองไม่เห็น” จนเกิดการตีความเพี้ยนมาเรื่อย ๆ ว่า “เหมือนกับกางเกงในที่ถูกซิปซ่อนเอาไว้ในกางเกง”

อย่างไรก็ตาม “หน้าต่างทางสังคม” มักหมายถึง ซิปกางเกงของผู้ชาย ส่วนซิปกางเกงของผู้หญิงจะใช้คำว่า “ริกะ โนะ มาโดะ” (理科の窓) แปลตรงตัวว่า “หน้าต่างทางวิทยาศาสตร์” แต่ทว่า ไม่มีใครใช้คำ ๆ นี้เลย

สรุปเนื้อหาจาก : gaku-sha

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook