บันไดกับฮวงจุ้ย
"ห้ามวางตำแหน่งบันไดอยู่กลางบ้าน" ตำแหน่งใจกลางของบ้าน ในทางฮวงจุ้ยจะถือว่าเป็นตำแหน่งหัวใจของบ้านเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นการจะนำอะไรไปวางในจุดนี้จะต้องพิจารณาให้มากตำราฮวงจุ้ยอธิบายไว้ว่า เจ้าของบ้านจะอยู่ไม่ติดบ้าน เป็นประเภทชีพจรลงเท้า เนื่องจากบันไดมีสภาพที่เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่งนั่นเอง
นอกจากนี้เจ้าของบ้านยังอาจเป็นโรคหัวใจได้ง่ายอีกด้วย เพราะตำแหน่งหัวใจมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาบันไดบ้านควรมีจำนวนขั้นเป็นเลขคี่ ในข้อนี้ไม้เกี่ยวกับความเป็นมงคลของเลขคี่แต่อย่างใด "บันไดบ้าน" ในทางฮวงจุ้ยถือเป็นจุดที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบน ถ้าวางตำแหน่งบันไดผิด ย่อมส่งผลเสียอย่างแน่นอน
1.บันไดไม่ควรทิ่มออกมาตรงปากประตูบ้าน โดยตรงจึงถือว่าผิดกับหลักฮวงจุ้ย ส่งผลกระทบด้านหน้าที่การงาน โชคลาภ สุขภาพ และ ความสัมพันธ์ในครอบครัว หากท่านมีปัญหาในเรื่องต่างๆเหล่านี้ บันไดที่ทิ่มออกหน้าประตูบ้านอาจจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบในทางศาสตร์ฮวงจุ้ยได้เช่นเดียวกัน ท่านสามารถแก้ไขได้โดยการนำฉาก, โต๊ะ, ชั้นวางของเล็กๆ มาวางขวางตรงทางลงบันไดไว้
2.บันไดบ้านไม่ควรเทออกจากประตูห้องนอนในระยะกระชั้น "ห้ามวางบันไดในบ้านตรงกับประตู" การเงินจะไหลออกนอกบ้านทันที
3.ควรมีชานพักคั่นกลางบันได เพื่อป้องกันการสภาพการไหลของกระแสอากาศที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาบริเวณบันได เพราะเพื่อช่วยให้คนใช้งานบันไดได้พักในขณะเดินได้ ในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุ หรือ ถือของหนักๆ ดังนั้นบันไดเวียนจะถือว่าเป็นบันไดที่ไม่ถูกต้องทั้งหลัก ฮวงจุ้ยและหลักสถาปัตยกรรมศาสตร์
4.ขนาดของบันไดที่เหมาะสม เพื่อให้การเดินขึ้นลงภายในบ้านสะดวก ขนาดของบันไดที่ดีควรจะมีขนาดดังนั้น ความกว้างไม่ควรต่ำกว่า 1 เมตร ขนาดที่เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 1.2-1.5 เมตร ความสูงอยู่ที่ระหว่าง 15-20 ซม. โดยความสูงที่ดีที่สุดอยู่ที่ 17.5 ซม. และความลึกของบันไดอยู่ที่ 25-30 ซม
5.กรณีที่จำเป็นจะต้องทำบันไดบริเวณประตูทางเข้าบ้าน ให้เลี่ยงมาทำด้านข้างแทน เพื่อให้บริเวณหน้าประตูเป็นชานพัก แต่ต้องระวังอย่าทำบันได 2 ข้าง ในลักษณะเดินขึ้นข้างหนึ่ง แล้วไปลงอีกข้างหนึ่ง จะเข้าข่ายบันไดเมรุเผาศพ
ดังนั้นการวางบันไดควรวางให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยตั้งแต่ช่วงออกแบบบ้าน เพราะบันไดนั้นถือเป็นโครงสร้างนึงของบ้านที่ไม่สามารถแก้ไขทีหลังได้ คนโบราณถือว่าอัปมงคลยิ่งบันไดใกล้ประตูยิ่งมีผลกระทบมาก ถ้าหาฉากมากั้นระหว่างประตูกับบันไดได้ก็จะเป็นการแก้ไขที่ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก Horolive (อ . ตั้ม ศรีนเรศพยากรณ์)
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com