ปริศนาธรรม 11 ข้อ "บายศรี" ที่ใช้ในพิธีทำขวัญบวชนาค

ปริศนาธรรม 11 ข้อ "บายศรี" ที่ใช้ในพิธีทำขวัญบวชนาค

ปริศนาธรรม 11 ข้อ "บายศรี" ที่ใช้ในพิธีทำขวัญบวชนาค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บายศรี เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราจะเห็นได้ในพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การบวงสรวง การบูชาครู การบูชาเทพยดา งานบุญ หรืองานมงคลต่างๆ โดยบายศรีนั้นเป็นเครื่องเชิญ หรือเครื่องรับขวัญที่ทำด้วยใบตอง นำมาทำเป็นชั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น และการใช้ในพิธีต่างๆ ซึ่งบายศรีที่จะมากล่าวถึงกันในวันนี้ คือ "บายศรี" ในพิธีทำขวัญนาค มาดูกันว่าบายศรีในพิธีทำขวัญนาคนั้น แฝงไว้ด้วยคติธรรมคำสอนในเรื่องใดบ้าง

  • บายศรีต้น 5 ชั้น หมายถึง ศีล 5 ข้อ
  • บายศรีปากชาม 3 หวี หมายถึง ไตรสิกขา 3 อย่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา
  • อาหารคาวหวาน เปรียบเหมือนร่างกายของคนเราที่มีอายุขัย ต้องสูญสิ้นไปตามเวลา
  • ไม้ไผ่ 3 ซีกที่ใช้ค้ำบายศรี หมายถึง บุญกุศล กรรม ที่คอยค้ำจุนไว้ให้ชีวิตเป็นอยู่
  • ด้ายผูกมัดบายศรี เปรียบเหมือนกับทิฐิ (ความเห็น) อุปาทาน (ความยึดมั่น)
  • ใบตองสด 3 ใบ หมายถึง โลภะ โสทะ และโมหะ
  • ผ้าหุ้มบายศรี เปรียบด้วยบุคคลที่ยังไม่ได้บรรพชาอุปสมบท ย่อมมืดมนอนธการ
  • แว่นเทียน 3 แว่น เปรียบเหมือน ภพทั้ง 3 ภพ ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
  • เหตุที่หมอขวัญนำเทียนมาจ่อที่หน้าผากนาค เพื่อให้พิจารณาว่าไฟนี้เป็นของร้อน ต้องเป่าให้ดับ 3 ครั้ง
  • แป้งหอมละลายเจิมให้นาค เปรียบดั่งเครื่องเตือนใจ ต้องดับไฟ 3 กอง ได้แก่ ไฟ คือ ราคะ ไฟ คือ โทสะ และไฟ คือโมหะ
  • น้ำมะพร้าว เปรียบเหมือนจิตของนาคที่บริสุทธิ์ในยามที่จะได้อุปสมบท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook