คาถาบูชาพระราหู ของไหว้พระราหู ขั้นตอนการไหว้พระราหูที่ถูกต้อง
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ho/0/ud/31/155597/rahu.jpgคาถาบูชาพระราหู ของไหว้พระราหู ขั้นตอนการไหว้พระราหูที่ถูกต้อง

    คาถาบูชาพระราหู ของไหว้พระราหู ขั้นตอนการไหว้พระราหูที่ถูกต้อง

    2023-10-17T11:35:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    พระราหู เป็นอสูรและเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งตามคติของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ แต่ในทางดาราศาสตร์ดาวราหูไม่ได้มีตัวตนเหมือนกับดาวอื่น ๆ ในระบสุริยะจักรวาล แต่เป็นจุดตัดขาขึ้นระหว่าง ดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ (Ascending Node) ถ้าจุดตัดนี้อยู่ในระนาบเดียวกันก็จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา-จันทรุปราคา หรือมักเรียกกันว่า ราหูอมอาทิตย์และราหูอมจันทร์

    พระราหูในพุทธศาสนา คัมภีร์อนาคตวงศ์ระบุไว้ว่า พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์เรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 10 พระองค์ในอนาคตให้แก่พระสารีบุตรเถระ ความโดยย่อคือ องค์พระศรีอาริยเมตไตรยจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นปฐมที่ 1 และ อสุรินทราหู จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนารทะ

    ดาวราหูไม่ได้เป็นดวงดาวที่น่ากลัวเสมอไป บางครั้งจะให้ผลในเรื่องโชคลาภด้วย สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการไหว้ราหูนั้นคือ เป็นการเตือนสติตัวเองให้ระมัดระวังความคิดและการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ก็ตาม ควรใช้สติปัญญาเพื่อให้เกิดทางสว่างในใจ และดาวราหูก็จะส่งผลให้ชีวิตของเรามีความรุ่งโรจน์และความสำเร็จ

    ปกตินิยมไหว้พระราหูในทุกวันพุธกลางคืน ในปี พ.ศ. 2565 การโคจรย้ายราศีของดาวราหูเกิดขึ้นในวันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 02.24 น. ถึงวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 06.21 น. ดังนั้นจึงควรไหว้เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของดวงดาวในครั้งนี้

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นช่วงเวลากลางดึก สามารถทำบุญตามกำลังตัวเลขพระราหูคือเลข 8 และเลข 12 ในช่วงเวลาที่สะดวก เช่น ใส่บาตรพระสงฆ์ 8 หรือ 12 รูปในตอนเช้า หรือถวายสังฆทานตอนกลางวัน ด้วยสิ่งของที่เกี่ยวกับแสงสว่าง เช่น บริจาคค่าไฟ หลอดไฟ เติมน้ำมันตะเกียง ทำบุญเกี่ยวกับการศึกษา หรือถ้าจะไหว้พระราหูที่บ้านสามารถทำได้ในช่วงเวลาหลังจาก 18.00 น. เป็นต้นไป

    นอกจากนั้นช่วงที่เกิดปรากฏการณ์อุปราคา ทั้งสุริยุปราคาและจันทรุปราคา แนะนำให้สวดมนต์ด้วยบทบูชาพระราหู พระคาถาสุริยะบัพพา และพระคาถาจันทบัพพา

    ของไหว้พระราหู

    ดาวราหูมี เลข 8 เป็นสัญลักษณ์ และมีกำลังเท่ากับ 12 ดังนั้นสามารถจัดของไหว้ 8 หรือ 12 อย่างแล้วแต่ศรัทธา ของไหว้ควรประกอบไปด้วย

    1. ไก่ดำต้ม
    2. ปลาดุกย่าง
    3. เหล้าดำ
    4. กาแฟดำ
    5. เฉาก๊วย
    6. น้ำโค้ก (หรือน้ำอัดลม/น้ำหวานที่เป็นสีดำ)
    7. ซุปไก่
    8. งาดำ
    9. ถั่วดำ
    10. ข้าวเหนียวดำ
    11. สาหร่ายดำ
    12. ไข่เยี่ยวม้า

    หรือ หากไม่มีเวลาจะหาซื้อของไหว้แบบง่าย ๆ ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปก็ได้ อาทิ สาหร่ายดำ น้ำอัดลมสีดำ กาแฟดำ ชาดำ ช็อกโกแลต ซุปไก่สกัด ลูกอมสีดำ คุกกี้ เป็นต้น สาเหตุที่ไม่ระบุของไหว้ เพราะเชื่อว่าในแต่ละพื้นที่ไม่สามารถหาของได้เหมือนกัน บางอย่างอาจถูกหรือแพงกว่า ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือไหว้ของที่หาได้สะดวกและเหมาะสมกับสตางค์ในกระเป๋า ส่วนจำนวนธูปให้ใช้ตามจำนวนของที่ไหว้ เช่น ถ้าไหว้ 8 อย่างก็ใช้ธูป 8 ดอก

    ของไหว้พระราหูของไหว้พระราหู

    ไหว้พระราหูพระราหู

    ขั้นตอนการไหว้พระราหู 

    ทิศในการไหว้พระราหู ให้หันหน้าไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และ ควรไหว้กลางแจ้ง ตั้งนะโม 3 จบ ตามด้วยบทสวดดังนี้ 

    ตั้งนะโม 3 จบ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ (3 ครั้ง)

    บทสวดคาถาบูชาพระราหู

    กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
    สังวิคคะรูโป อาคัมมะกินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
    สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
    พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ
    กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
    สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
    สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
    พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ

    พระคาถาสุริยะบัพพา

    กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะ
    โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ
    โทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติฯ

    พระคาถาจันทบัพพา

    ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตัง
    มะมะตัง วะติตัง เสกามะมะ
    กาเสตัง กาติยังมะมะ ยะติกาฯ

    คำถวายเครื่องสังเวยพระราหู

    นะโมเม พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ จะปุปผัง
    สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะ
    สัมปันนัง โภชะ นานัง
    สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง
    อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา
    หิตายะ สุขายะ พระราหูเทวา
    มะหิทธิกา เตปิ อัมเห
    อะนุรัก ขันตุ อาโรคะ
    เยนะ สุเขมะจะฯ

    คาถาบูชาพระราหู (สวด 12 จบ)

    คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ

    ข้าพเจ้า (ชื่อนามสกุล) ขอบูชาพระราหูด้วยของดำ (8 หรือ 12) อย่าง ขอให้อิทธิพลของดาวราหูจงส่งผลดีแก่ดวงชะตาของข้าพเจ้า ขอให้ได้พบเจอแต่กัลยาณมิตรที่ดี ขอให้มีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคร้ายใด ๆ ขอให้เกิดความสุขในครอบครัว ขอให้ดาวราหูประทานพรโชคลาภและความสำเร็จแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ (อธิษฐานเรื่องอื่นๆ ได้ตามปรารถนา)

     ไหว้พระราหู

    การลาของไหว้และการทำบุญเสริมสิริมงคล

    เมื่อธูปใกล้หมดควรลาของไหว้แล้วนำมารับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล และก่อนรับประทานของไหว้แต่ละอย่างควรท่องคาถา “คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ” หลังจากไหว้พระราหูแล้ว เพื่อความเป็นสิริมงคล ควรทำบุญ (อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่ศรัทธา) ดังนี้

    1. ใส่บาตรพระสงฆ์ 8 หรือ 12 รูป
    2. ทำบุญ ถวายสังฆทานหรือทำบุญที่เกี่ยวกับแสงสว่าง เช่น บริจาคค่าไฟ หลอดไฟ เติมน้ำมันตะเกียง บริจาคหนังสือ
    3. สวดมนต์ ทำสมาธิเป็นประจำทุกวันพุธกลางคืน แล้วท่องคาถาบูชาพระราหู 12 จบ 

    หากบูชาพระราหูเป็นประจำ จะเกิดความร่ำรวย และมีความสำเร็จในกิจการงาน นอกจากนี้จะมีความปลอดภัยในการเดินทางไกล การเสี่ยงโชค หรือการลงทุนจะร่ำรวยและมีโอกาสก้าวหน้า หากท่าน คิดดี ทำดี พูดดี ก็จะโชคดีมีชัย เทอญ สาธุ

    อัลบั้มภาพ 14 ภาพ

    อัลบั้มภาพ 14 ภาพ ของ คาถาบูชาพระราหู ของไหว้พระราหู ขั้นตอนการไหว้พระราหูที่ถูกต้อง