อยากพ้นกรรมเรื่อง "หนี้สิน" ต้องแก้ที่ต้นเหตุ!

อยากพ้นกรรมเรื่อง "หนี้สิน" ต้องแก้ที่ต้นเหตุ!

อยากพ้นกรรมเรื่อง "หนี้สิน" ต้องแก้ที่ต้นเหตุ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเป็นหนี้โดยไม่จำเป็นและปัญหาความเดือนร้อนจากการเป็นหนี้รู้สึกว่าทำอะไรก็ติดขัดไปหมด จะได้เงินก็มีคนมาตัดหน้า ทำอะไรก็มีคนมาขวางเพราะเราอาจจะเคยโกหก หรือ เอาเปรียบใครมา เป็นวิบากกรรม หาได้มาก็มีเรื่องต้องจ่าย ทำอะไรติดขัดไม่ราบรื่น พบกับอุปสรรคต่างๆ ทำอะไรก็ไม่ขึ้น หยิบจับอะไรเป็นเสียหาย ไร้คนช่วยเหลือมองไปทางไหนก็มืดมน ซึ่งมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1.พ้นกรรมหนี้สินจะทำอย่างไร หนี้สิน ถือเป็นผลพวงของกรรมอย่างหนึ่งอันเกิดจากกิเลสความต้องการในทางกามารมณ์ ที่ควบคุมไม่ได้ เพราะความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหมือนดังเช่นผู้อื่นจึงก่อให้เกิดความพยายามตะเกียกตะกายที่จะมีทรัพย์สินให้มากขึ้น โดยที่ไม่ได้สำรวจศักยภาพความสามารถในการหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่าย จึงเกิดแต่ความทุกข์และกลายเป็นหนี้ในที่สุด

2. “อย่าคิดที่จะเพิ่มหนี้อีก” หากอยากเป็นคนดีก็ต้องหยุดทำความชั่วเสียก่อน อยากหยุดหนี้สินก็ต้องหยุดสร้างหนี้ฉันนั้น ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิตใบหนึ่งด้วยจำนวนเงินที่มากพอแล้ว ก็ไม่ควรไปสร้างหนี้เพิ่มให้กลายเป็นภาระดินพอกหางหมู หากพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นในทางธรรมก็คือ “ลดความอยากลงเสีย” หนี้ก็จะไม่เพิ่มขึ้น

3. ลดการใช้จ่ายเกินความจำเป็น คนที่ประสบปัญหามีหนี้มากก็เพราะมัวปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามความอยากเพราะ “การซื้อหาด้วยอารมณ์” มากกว่า “การซื้อหาด้วยเหตุผล” จึงเป็นเหตุให้เป็นหนี้สินมากมาย ซึ่งเมื่อได้ของสิ่งนั้นมาแล้วก็ใช่ว่าจะได้ใช้สอยอย่างคุ้มค่าตามที่ซื้อไปหรือไม่

4. หลีกเลี่ยงการหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จะก่อให้เกิดหนี้ เช่น การใช้บัตรเครดิต เปรียบเหมือนถ้าคุณเป็นจอมยุทธที่ชอบท่องเที่ยวในยุทธภพต้องการเป็นผู้ผดุงความยุติธรรม และให้สัญญากับตนเองว่าจะไม่ฆ่าหรือทำร้ายใคร แต่บังเอิญได้พกกระบี่อย่างดีที่สุดติดตัวไว้อำนวยความสะดวกที่จะสังหารผู้อื่นได้ทุกเมื่อ เช่นนี้แล้ว ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงการพลั้งเผลอฆ่าคนได้แน่นอน
การใช้บัตรเครดิตเพื่อการใช้จ่ายที่ดีนั้น ควรใช้บัตรเครดิตเพียงแค่ใบเดียวเท่านั้น โดยมูลค่าบัตร จะต้องมีวงเงินอยู่ในขั้นต่ำที่สุด ที่สำคัญต้องสามารถรูดใช้ได้ไม่เกิน 25% ของรายได้ และแนวทางป้องกันหนี้บัตรเครดิตที่ดีที่สุดก็คือ การเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลย เพราะการมีบัตรเครดิตจะทำให้ชะล่าใจ จับจ่ายซื้อของอย่างเกินความจำเป็น

5. มีการจัดสรรเงินทองอย่างเป็นระบบ เป็นข้อหนึ่งในหลักธรรมที่ว่า “สมถชีวิตา” หรือ เลี้ยงชีพให้เหมาะสม โดยการแบ่งเงินรายได้ออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ เช่น เก็บเงิน 60% และไว้ใช้จ่ายอีก 40% วิธีนี้จะทำให้มีเงินเก็บที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ที่สำคัญหากเราได้รับเงินพิเศษที่นอกเหนือไปจากเงินรายได้ที่ได้รับตามปกติแล้ว ก็ควรนำเอาเงินส่วนนั้นเก็บไว้เป็นทุนฉุกเฉินสำรองเอาไว้ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินคุณก็จะได้มีเงินทุนสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นได้

6. ต้องชำระหนี้สิน ไม่มีใครหนีหนี้ได้พ้นต่อให้เราหลบหนีไปไกลสักเท่าไหร่ก็จะถูกตามทวงถามเอาคืนได้สักวันหนึ่ง เพียงแต่การจ่ายหนี้นั้นต้องกระทำอย่างมีปัญญาด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรพึงระลึกเอาไว้เสมอ ๆ ก็คือ การชำระหนี้อย่างพอดี ๆ ควรผ่อนชำระหนี้สินอย่างพอเหมาะตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น เพื่อที่จะได้เงินเหลือใช้ทำอย่างอื่นต่อไป การทุ่มใช้หนี้ทั้งหมดจนไม่มีเงินเหลือไว้กินไว้ใช้ ต่อยอดชีวิตให้เดินหน้าต่อไปย่อมไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แต่เราต้องแสดงเจตจำนงการใช้หนี้ให้ชัดเจน นอกจากนั้นแล้วก็ควรไล่ดูหนี้สินที่มีทั้งหมด ตรวจสอบดูว่าตนเองมีหนี้สินอะไรบ้าง และแต่ละอย่างต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ เพื่อจะได้คำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้อย่างลงตัว ทั้งค่าใช้จ่าย เงินเก็บ และเงินชำระหนี้

7. มีการวางแผนการใช้จ่ายและการใช้ชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือการคิดก่อนทำ การวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ว่าวันหนึ่งๆ เราจะต้องจ่ายอะไรบ้าง และต้องมีการจำกัดวงเงินเมื่อต้องออกไปแสวงหาความสุขส่วนตัวทั้งหลาย คือไม่ว่าจะสนุกมากน้อยเพียงใด ก็ต้องใช้จ่ายตามวงเงินที่ได้กำหนดเอาไว้จะดีที่สุด วิธีนี้จะได้ผลมากน้อย ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวจิตคุณเองที่จะต้องซื่อสัตย์ และที่สำคัญต้องเลิกนิสัยการขอหยิบยืมเงินคนอื่นรวมถึงฝึกความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งเร้านอกกายมากมายไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือของใช้ต่างๆ ที่ไม่มีความจำเป็น หากลองสำรวจจิตตนเองก็จะพบว่า สิ่งใดที่เราอยากได้มามากๆ แล้วสิ่งนั้นไม่ได้มีความจำเป็นต่อชีวิตมากนัก จิตก็จะเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นได้เร็ว เพียงแค่ 3 วัน 7 วันก็ทำให้รู้สึกเฉยๆ หรือเบื่อหน่ายได้แล้ว

8. เพิ่มรายได้ด้วยงานพิเศษ รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เราสามารถวางแผนจัดการกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างลงตัวมากขึ้น และยังช่วยให้มีเงินเหลือไปชำระหนี้บางส่วนได้อีกด้วย สิ่งนี้ต้องเริ่มต้นด้วยจิตที่ขยันขันแข็งจะสร้างรายได้ ซึ่งจะนำไปสู่การหางานพิเศษที่ไม่หนักหนาจนเกินไปในช่วงนอกเวลางานปกติ เมื่อมีรายได้มากขึ้นย่อมสามารถคลี่คลายปัญหาหนี้สินได้เร็วขึ้นเช่นกัน

9. ออมเงิน หรือการรักษาให้ดี ถือเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับตัวเราเองได้มากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าเราจะมีภาระหนี้สินหรือไม่ หรือจะมีเงินรายได้มากน้อยขนาดไหน การออมเงินทีละเล็กละน้อย ก็จะทำให้เราได้มีเงินเก็บซึ่งเป็นเงินก้อนขึ้นมาเอง และเงินส่วนนี้เองจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้จ่ายในอนาคตต่อไปได้ หนี้สินที่เกิดขึ้นกับตัวเราทั้งหมดมีเหตุจากความโลภ ความอยาก จงระงับความอยากให้มากที่สุดแล้วโอกาสเกิดหนี้ก็จะน้อยลง โอกาสจะเบี้ยวหนี้ หนีหนี้ก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีพื้นฐานมาจากธรรมะของพระพุทธเจ้าว่าด้วยคาถา “หัวใจเศรษฐี” ที่ว่า “อุอากาสะ” คือ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร และเลี้ยงชีวิตให้เหมาะสม ใครได้ประพฤติปฏิบัติตามก็จะพ้นหนี้สินได้และไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเรื่องทรัพย์และความเป็นอยู่อีกต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook