"มงคลชีวิต 38 ประการ" สู่ความสุขและความสำเร็จในชีวิต

"มงคลชีวิต 38 ประการ" สู่ความสุขและความสำเร็จในชีวิต

"มงคลชีวิต 38 ประการ" สู่ความสุขและความสำเร็จในชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มงคลชีวิต 38 ประการ เป็นหมวดธรรมะที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการในการนำไปปฎิบัติ เพราะเป็นหมวดธรรมะที่เป็นขั้นเป็นตอนเกี่ยวเนื่องกัน และสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวัน ได้อย่างเหมาะสม ฝึกให้เป็นคนดี สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์ บำเพ็ญประโยชน์ ต่อครอบครัวและสังคม เพื่อกำจัดกิเลสให้สิ้นไป ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจที่สะอาด บริสุทธิ์ บริบูรณ์ หมดกิเลส สร้างบารมีให้ถึงที่สุดแห่งธรรมได้ในที่สุด

มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี 38 ประการได้แก่

บทความมงคลชีวิต 38 ประการ 

มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล

มงคลที่ 2 คบบัณฑิต

มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

มงคลที่ 5 มีบุญวาสนามาก่อน

มงคลที่ 6 ตั้งตนชอบ 

มงคลที่ 7 พหูสูต

มงคลที่ 8 มีศิลปะ

มงคลที่ 9 มีวินัย

มงคลที่ 10 มีวาจาสุภาษิต

มงคลที่ 11 บำรุงบิดามารดา

มงคลที่ 12 เลี้ยงดูบุตร

มงคลที่ 13 สงเคราะห์ภรรยา-สามี

มงคลที่ 14 ทำงานไม่คั่งค้าง

มงคลที่ 15 บำเพ็ญทาน

มงคลที่ 16 ประพฤติธรรม

มงคลที่ 17 สงเคราะห์ญาติ

มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ

มงคลที่ 19 งดเว้นจากบาป

มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรม

มงคลที่ 22 มีความเคารพ

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ

มงคลที่ 25 มีความกตัญญู

มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล

มงคลที่ 27 มีความอดทน

มงคลที่ 28 เป็นคนว่าง่าย

มงคลที่ 29 เห็นสมณะ

มงคลที่ 30 สนทนาธรรมตามกาล

มงคลที่ 31 บำเพ็ญตบะ

มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์

มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจ

มงคลที่ 34 ทำพระนิพพานให้แจ้ง

มงคลที่ 35 จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

มงคลที่ 36 จิตไม่โศก

มงคลที่ 37 จิตปราศจากธุลี

มงคลที่ 38 จิตเกษม

อันจบมงคลสูตร ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ข้อ 4-5 และอรรถกถาเพียงเท่านี้ หากยึดปฏิบัติแล้วจะส่งให้ชีวิตพบเจอแต่ความสุข ความเจริญ ถือได้ว่าเป็นเครื่องที่ยึดเหนี่ยวและเป็นที่พึ่งทางใจให้กับ "พุทธศาสนิกชน" ทุกคน ทั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนและแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องและมีความสุข

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook