อย่าลืมเช็คเครื่อง (ภาค Software) ต้อนรับงานคอมมาร์ท Update2010

อย่าลืมเช็คเครื่อง (ภาค Software) ต้อนรับงานคอมมาร์ท Update2010

อย่าลืมเช็คเครื่อง (ภาค Software) ต้อนรับงานคอมมาร์ท Update2010
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลับมาพบกันอีกครั้งแล้วนะครับ ต่อเนื่องจากภาคแรกเลยครับ มาภาคนี้จะเป็นการตรวจสอบและทดสอบเครื่องในแบบ Software ซึ่งถ้าหากเป็นเครื่องที่มีการลงวินโดวส์ไว้แล้วก็จะสามารถเอาโปรแกรมเหล่า นี้ไปทดสอบได้เลยสามารถใช้ได้ทั้งวินโดวส์ XP และวินโดวส์ Vista และก็เป็นโปรแกรม Free Ware ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายครับ อีกทั้งบางโปรแกรมก็ไม่ต้องติดตั้งแค่ดับเบิลคลิกก็ใช้งานได้เลย

1. CPU-Z ( ตรวจสอบสเปก CPU RAM Main board )

โปรแกรมแรกที่แนะนำก็คือโปรแกรม CPU-Z เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากมาย เอาไว้ตรวจสอบสเปกของ CPU RAM Main board อย่างละเอียดแบบไม่มีหมกเม็ด มีความเชื่อถือได้เป็นอย่างดี โดยผมจะแนะนำในส่วนของที่จำเป็นต้องใช้งานก่อนนะครับ ในส่วนอื่นๆ จะแนะนำในโอกาสต่อไปครับ

เปิดโปรแกรมมาหน้าแรกก็จะพบกับสเปกของซีพี ยูแบบละเอียด ให้สังเกตุส่วนของ Specification เป็นหลักครับเพราะตรงนั้นเป็นส่วนที่บอกรุ่นของซีพียูในเครื่องเรา (ที่เน้นสีแดงๆนะครับ) ถ้ารุ่นตรงกัน ก็แสดงว่าสเปกก็ถูกต้อง

ในส่วนนี้จะเป็นส่วนของสเปกของเมนบอร์ดโดยจะมีบอกว่าเป็นเมนบอร์ดยี่ห้ออะไร และบอกในส่วนของรุ่นชิบเซตที่ใช้

ในส่วนนี่ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญในการตรวจสอบ คือในส่วนของสเปกแรมและบอกถึงความจุของแรม หลักๆเลยให้ดูว่าแรมให้มาตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ เช่นในโบรชัวเขียนไว้ว่า 2 กิก เมื่อดูด้วยโปรแกรมก็ควรจะได้ความจุ 2 กิก หรือว่าถ้าหากเป็นของแถม ก็ต้องได้ความจุรวมในโปรแกรมเท่ากัน

Web Site
http://www.cpuid.com/cpuz.php
ลิงค์ดาวโหลด
Download

2. GPU-Z ( ตรวจสอบสเปกการ์ดจอ )
โปรแกรมนี้อาจจะยังใหม่สำหรับหลายๆท่าน แต่ก็เป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นไม่แพ้โปรแกรม CPU-C เลย โปรแกรม GPU-Z สามารถตรวจสอบสเป็กของการ์ดจอได้ละเอียดมากๆเลย สามารถตรวจสอบได้แม้กระทั้ง Bios เลย และที่สำคัญคือไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมแค่รันโปรแกรมก็สามารถใช้งานได้เลย เหมือนกับ CPU-Z

สเปกหลักของการ์ดจอที่เราต้องตรวจสอบก็มี รุ่นของการ์ดจอที่อยู่บริเวณด้านบนสุด หรือก็คือ Name และส่วนของ Memory Type และ Memory Size ให้ตรงกับในใบโบรชัวรุ่นที่เราตกลงไว้ หรือถ้าโบรชัวไม่มี ในส่วนของสเปก Memory ก็เอาชื่อรุ่นเป็นสำคัญครับ

Web Site
http://www.techpowerup.com/gpuz/
ลิงค์ดาวโหลด
Download

3. Nero Info Tool ( ตรวจสอบไดร์ฟ DVD )

มาถึงการตรวจสอบสเปกของไดร์ฟ บางท่านอาจจะคิดว่าไม่ต้องตรวจสอบก็ได้มั้ง เพราะเดียวนี้ไดร์ฟมาตรฐานก็เขียนแผ่น DVD ได้อยู่แล้ว แต่จริงๆแล้วก็น่าจะตรวจสอบมั่งเช่นความเร็วที่สามารเขียนแผ่นได้ หรือสามารถเขียนแผ่นชนิดใดได้บ้าง เพราะบางท่านก็ต้องการใช้งานเฉพาะทาง เช่นต้องการใช้งานแผ่นแบบ Dual Layer หรืออ่านแผ่นแบบ DVD RAM ซึ่งในไดร์ฟของบางเครื่องที่มีราคาถูกๆ หน่อยก็อาจจะไม่มีฟังค์ชั่นนี้ แค่รันโปรแกรมก็สามารถใช้งานได้เลยครับ

โปรแกรมรองรับภาษาไทยจึงสามารถใช้งานได้ไม่ยาก โดยโปรแกรมจะแสดงว่าสามารถเขียนและอ่านแผ่นแบบ DVD ได้ที่ความเร็วเท่าไร และสามาระเขียนและอ่านแผ่นแบบใดได้บ้าง โดยจะแสดงเป็นเครื่องหมายถูกหากสามารถใช้งานได้และเครื่องหมาย X หากไม่สามารใช้งานได้

Web Site
http://www.nero.com/ena/downloads-infotools.html
ลิงค์ดาวโหลด
Download

4. HDtune ( ตรวจสอบ HDD )

ฮาร์ดดิสต์ถือเป็นอุปกรณ์นึงที่ค่อนข้างบอบบางและมีมากมายหลายขนาด จึงยิ่งควรที่จะต้องตรวจสอบทั้งในส่วนของสเปกเช่นขนาดความจุ และคุณสมบัติอื่นๆ ที่ควรทราบว่าตรงตามสเปกเครื่องหรือเปล่า และในส่วนของ Bad sector ที่ในฮาร์ดดิสต์ใหม่ๆไม่ควรมี ซึ่งถ้าหากเราตรวจสอบด้วยโปรแกรมแล้วก็ทำให้ท่านมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง ข้อเสียอย่างนึงคือต้องติดตั้งโปรแกรมลงไปก่อนจึงจะใช้งานได้ครับ

โปรแกรมสามารแสดงความจุของ ฮาร์ดดิสต์ ขนาด บัฟเฟอร์ และรูปแบบการเชื่อมต่อ หลักๆ ก็คงดูในส่วนของความจุว่าตรงกับสเปกหรือเปล่าถือเป็นใช้ได้

ส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบ Bad sector หรือ Error ของฮาร์ดดิสต์ โดยก่อนคลิก Start ให้ติ๊กที่ Quick Scan ก่อนนะครับ จะได้ตรวจสอบได้เร็วขึ้น(ไม่เกิน 2 นาที) เดียวจะรอนานเกินไปหรือถ้ามีเวลาน่อยก็ตรวจสอบแบบช้าก็ได้ครับ (5-10 นาที ) โดยเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วฮาร์ดดิสต์ไม่มีปัญหาก็จะแสดงเป็นสีเขียวเหมือนดัง ภาพ แต่ถ้าฮาร์ดดิสต์ มีปัญหาก็จะแสดงเป็นสีแดงตามจุดที่มีปัญหา ซึ่งไม่ควรมีแม้แต่จุดเดียวเลย

Web Site
http://www.hdtune.com/
ลิงค์ดาวโหลด
Download

5. Hardware Monitor ( ตรวจสอบอุณหภูมิเครื่อง )

Hardware Monitor เป็นโปรแกรมที่เอาไวตรวจสอบอุณหภูมิตามตำแหน่งเซนเซอร์ต่างๆ ที่มีในเครื่องเพื่อดูว่าเครื่องมีอุณหภูมิมากน้อยขนาดไหน โปรแกรมค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือ แต่ก็อุณหภูมิจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่อุณหภูมิแวดล้อมในขณะนั้นด้วยครับ ไม่ต้องติดตั้งก็ใช้ได้เช่นเดิมครับ

โปรแกรมจะแสดงอุณหภูมิทั้งแบบองศาเซลเซียดและแบบองศาฟาเรนไฮ แต่อุณหภูมิที่ได้นั้นไม่ได้ส่งผลถึงประสิทธิภาพเครื่องนะครับ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องที่ใช้ Body แบบเดียวกันนั้นอุณหภูมิจะใกล้เคียงกัน เน้นที่สเปกเครื่องดีกว่าครับ

Web Site
http://www.hmonitor.net/
ลิงค์ดาวโหลด
Download

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook