วิธีเช็คเครื่องสำหรับมือใหม่ทั้งหลาย

วิธีเช็คเครื่องสำหรับมือใหม่ทั้งหลาย

วิธีเช็คเครื่องสำหรับมือใหม่ทั้งหลาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ผมขอนำเสนอการตรวจเช็คเครื่องในกรณีไปซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่ สำหรับมือใหม่ทั้งหลาย เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ของที่เราได้มานั้นไร้ปัญหา (จะได้มีความรู้สึกว่าเริ่มต้นได้ดีๆ หุหุ) และลดความยุ่งยากในการเปลี่ยนการเคลมในกรณีที่ร้านที่เราซื้อนั้นเกิดอยากจะ มางี่เง่าใส่เราพอดี

*** คำแนะนำ (ที่สำคัญที่สุด) ***

ก่อนอื่นเลยต้องแนะนำสิ่งที่ควรท่องจำให้ขึ้นใจเลยนะครับ อย่าทำการแลกเปลี่ยนเอกสาร (กรณีขอบัตรเพื่อลงรายละเอียดในใบรับประกัน) หรือจ่ายเงินก่อนที่จะทดสอบเครื่องนั้นๆ ที่เราซื้อเสร็จสิ้นแล้วโปรดจำไว้ว่าอำนาจจะยังอยู่ในมือเราตราบเท่าที่เงิน ยังอยู่ในมือเราเช่นกัน 555+ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะถือได้ว่าเรายอมรับในตัวสินค้านั้นๆแล้ว เอาล่ะเรามาเริ่มต้นกันด้วยสิ่งที่ควรจะต้องเตรียมไปใช้ทดสอบนะครับ

1. แผ่นวินโวส์ PE

เป็นวินโดวส์แบบบู๊ตจากแผ่น ใช้ได้โดยไม่ต้องติดตั้ง ในกรณีที่รุ่นนั้นๆไม่แถม OS มาให้เลย แต่ถ้าร้านลงวินโดวส์ให้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะฉะนั้นอย่าควักออกมาจนกว่าทางร้านจะบอกว่าไม่ลงวินโดวส์ให้ เดี๋ยวเค้าเห็นแผ่นแล้วจะขี้เกียจลงให้กระทันหัน หุหุ

2. โปรแกรมสำหรับทดสอบ dead pixel

บางท่านอาจจะไม่ทราบมาก่อนว่า dead pixel คืออะไร ผมขออธิบายสั้นๆละกันนะครับ สำหรับหน้าจอ LCD นั้นจะประกอบไปด้วยจุดสีเล็กๆจำนวนมากมายมเรียงต่อกัน ทำให้เกิดภาพ และ dead pixel นั้นก็คือ การที่หน้าจอแสดงสีผิดเพี้ยนเป็นบางจุด เช่น สีดำ แต่กลับแสดงออกมาเป็นสีขาว หรือแสดงแสงสว่างออกมามากกว่าความเป็นจริง (อย่างนี้เรียกว่า bright pixel) โปรแกรมทดสอบ dead pixel เป็นโปรแกรมที่ผมให้ความสำคัญในอันดับแรกเลย เพราะส่วนของหน้าจอนั้นเป็นส่วนที่มีเงื่อนไขในการรับประกันมากกว่าส่วน อื่นๆ หากมีปัญหาแล้วจะเคลมหรือเปลี่ยนยาก หรือในบางกรณีผู้ผลิตไม่รับผิดชอบเลย เช่น บางยี่ห้อนั้นจะรับเคลมหรือเปลี่ยนให้ ในกรณีที่ dead pixel นั้นๆ ต้องมีมากกว่า 3 จุดขึ้นไป แต่ละจุดต้องอยู่ห่างกัน ไม่อยุ่รวมเป็นกระจุก และ ต้องอยู่ห่างจากขอบจอออกมาเป็นระยะตามที่เค้ากำหนด เช่น 1 ซม. จะเห็นได้ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่ควรหลีกเลี่ยงให่มากที่สุด

deadpixeldeadpixel

3. โปรแกรมตรวจสอบ Spec ของเครื่อง ไว้ใช้ตรวจว่า Spec เครื่องนั้นๆ ตรงตามที่ระบุไว้รึเปล่า

4. อุปกรณ์ทดสอบ Bluetooth เช่น โทรศัพท์ หูฟัง

5. เพลงสำหรับทดสอบระบบเสียงรวมทั้งหูฟัง

ควรเลือกเพลงที่มีการแยกเสียงสำหรับลำโพงทางซ้ายและทางขวาออกอยากชัดเจน เพื่อทดสอบระบบ stereo และหูฟังสำหรับทดสอบว่าเมื่อเสียบหูฟังเข้าไปแล้วทำงานรึไม่ หรือไม่ตัดเสียงออกจากลำโพงหลักเวลาเสียบหูฟัง (เป็นปัญหาที่พบค่อนข้างมากหลังจากยกเครื่องกลับมาบ้านแล้ว – -)

6. CD-R/DVD-R

ใช้ทำสอบสำหรับเครื่องที่สามารถเขียน CD หรือ DVD ได้ ทั้งนี้ควรเตรียมแผ่น ที่มีข้อมูลอยู่แล้วไปด้วยเพื่อทดสอบระบบอ่านของ drive หรือใครที่พอจะมีแผ่นแบบ RW ก็เอาข้อมูลใส่แผ่นแล้วค่อยไปลบตอนจะเขียนข้อมูลใหม่ก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องแบกไปเยอะ อ้อที่สำคัญควรเตรียมโปรแกรมสำหรับเขียนข้อมูลไปด้วยครับ

7. USB Flash drive และ Memory card ต่างๆ

เพื่อใช้ทำสอบ USB และ card reader แนะนำว่าควรเป็น card แบบที่มีการใช้งานแพร่หลายหน่อย เช่น SD card สำหรับสิ่งที่ต้องเตรียมไปก็คงมีเพียงเท่านี้ แต่หากใครที่ไม่มีเวลาทดสอบ เตรียมไปแค่สามอย่างแรกก็พอครับ เพราะเป็นส่วนที่มีปัญหาเยอะที่สุดและก็เคลมยากที่สุดครับ นอกนั้นค่อยยกกลับมาทดสอบต่อที่บ้าน แต่มีข้อแม้ว่าร้านนั้นๆควรมีการรับประกันเปลี่ยนของภายใน 7 วันนะครับ

ขั้นตอนในการทดสอบ

เริ่มจากภายนอกก่อนนะครับ

1. พูดคุยสอบถามในรายละเอียดกับผู้ขายเกี่ยวกับสิ่งต่างๆอย่างละเอียด เกี่ยวกับ Spec ว่าตรงตามโบว์ชัวร์หรือข้อมูลที่รู้มารึเปล่า การเพิ่มแรมว่าอนุญาตให้ใส่เองมั้ย ถ้าไม่ได้ให้ร้านจัดการได้รึเปล่า เงื่อนไขการรับประกัน รวมถึงการรับประกันเปลี่ยนสินค้าใหม่ภายใน 7 วัน เพื่อป้องกันการเล่นลิ้นในกรณีเครื่องเกิดปัญหา และสำหรับท่านที่จะซื้อประกันเพิ่มลองสอบถามเรื่องราคา เพราะตอนนั้นอาจจะมีการจัดโปรโมชั่นอยู่ รวมไปถึงการลงทะเบียนในปีที่สอง ว่าทางร้านลงให้หรือให้ไปลงเอง อย่างไร
2. ตรวจสอบริ้วรอยต่างๆ รวมไปถึงสติ๊กเกอร์ต่างๆที่ติดไว้ตามตัวเครื่องครับ สติ๊กเกอร์ทุกอันควรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะ สติ๊ก void ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสติ๊กเกอร์ที่ติดตาม อุปกรณ์ต่างๆที่ให้มาด้วยเช่น ที่ชาร์ทแบต
3. ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรงและครบตามที่คู่มือระบุไว้
4. ตรวจสอบของแถมว่าได้รับครบกับที่โปรโมชั่นระบุหรือไม่ (อันนี้โดนมากับตัว เค้าให้ไปรับของแถมที่หลัง อดได้ DVD-R กับ สมุดโน๊ต เพราะหมดแล้ว เลยโวยวายไม่ได้ – -)
5.ตรวจสอบเลข serial ต่างๆ ว่าตรงกับกล่องมั้ย ตรงกับใบรับประกันและใบเสร็จหรือไม่

ต่อด้วยการตรวบสอบภายใน

1. เริ่มจากโปรแกรมตรวจสอบ Spec เช่น Everest เพื่อตรวจสอบว่าตรงตามที่ระบุไว้รึเปล่า
2. จากนั้นต่อด้วยโปรแกรมทดสอบ dead pixel การทดสอบให้เปลี่ยนสีที่ใช้ทดสอบหลายๆสี เพราะอาจจะมีการแสดงสีผิดเพี้ยนเป็นบางสี
3. ทดสอบการใช้งาน wireless ในกรณีที่แถวนั้นมีสัญญาณ หรือ ในกรณีที่มือถือของเราสามารถเชื่อม ต่อสัญญาณ wifi ได้ เช่น iPhone ก็สามารถนำมาใช้ทดสอบโดยการต่อแบบ Ad-hoc ได้ (จะนำเสนอการติดต่อ wireless แบบ Ad-hoc ในบทความต่อไป ถ้า Boss อนุญาต หุหุ)
4. ทดสอบการใช้งาน Blue Tooth
5. ทดสอบการใช้งาน CD/DVD ROM โดยการลองอ่านไฟล์จากแผ่น หรือ copy ไฟล์ลงเครื่อง ตามด้วยการเขียนไฟล์ลงแผ่น
6. ทดสอบระบบเสียง โดยการเปิดไฟล์เพลงที่เตรียมไว้ จากนั้นทดสอบต่อด้วยระบบหูฟัง
7. ทดสอบการใช้งาน USB ผ่านทาง USB Flash drive
8. ทดสอบการใช้งาน card reader
9. การทดสอบไมโครโฟน ในกรณีมีไมโครโฟน built in มาด้วย โดยการใช้งานโปรแกรม record ที่มากับวินโดวส์
10. ทดสอบคีย์บอร์ดว่าพิมพ์ได้ทุกตัวมั้ย รวมไปถึงปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ เช่นการกด F1 ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียก help หรือ F11 ในการเปลี่ยนหน้าต่าง IE เป็น full screen แล้วอย่าลืมทดสอบปุ่มคีย์ฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับควบคุมโน๊ตบุ๊ค เช่น เพิ่มลดแสง เพิ่มลดเสียง หรือปุ่ม quickplay ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือคีย์บอร์ด

สำหรับคนที่ไม่มีเวลาทดสอบก็ทดสอบสองขั้นตอนแรกครับ นอกนั้นยกไปต่อกันที่บ้าน สำหรับการทดสอบต่างๆหากผ่านการทดสอบทั้งหมดก็ยกไปเชยชมที่บ้านได้อย่างสบาย หายห่วงครับ สำหรับการทำสอบในขั้นตอน dead pixel นั้น ต้องอาศัยความช่างสังเกตกันพอสมควรครับ เพราะบางครั้งอาจจะมีจุดเดียวและเป็นเฉพาะบางสี ทำให้คลาดสายตาไปได้เหมือนกัน ยังไงก็อย่าจ้องกันจนมึนนะครับ เดี๋ยวจะกลับบ้านกันไม่ถูก และสำหรับเครื่องที่แถมแผ่น driver แบบVista มาให้ ท่านอาจจะขอ driver XP มาเผื่อไว้ ถ้าทางร้านมีนะครับ สำหรับวันนี้ผมก็คงขอจบบทความแต่เพียงเท่านี้ครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : notebookspec.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook