รีวิว ASUS ProArt Studiobook H5600Q Workstation สเปกจัดเต็มเพื่อสายพกพา

รีวิว ASUS ProArt Studiobook H5600Q Workstation สเปกจัดเต็มเพื่อสายพกพา

รีวิว ASUS ProArt Studiobook H5600Q Workstation สเปกจัดเต็มเพื่อสายพกพา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ASUS ProArt Studiobook ถ้ากล่าวถึงชื่อนี้คือคอมพิวเตอร์ Notebook ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ Workstation โดยสเปกของเครื่องจะมาพร้อมสเปกสูงและหน้าจอคมชัด เพื่อคนทำงานสายกราฟิกโดยเฉพาะ โดยพัฒนามาหลายรุ่น แต่ะสำหรับในรุ่น H5600Q รุ่นใหม่ล่าสุดที่ทีม Sanook Hitech ได้รับการมารีวิวครั้งนี้มันจะมีความน่าสนใจแค่ไหน ราคาของเครื่องจะเป็นอย่างไร มารับชมได้เลย

รูปร่างดีไซน์ของ ASUS ProArt Studiobook H5600Q 

สำหรับ ASUS ProArt Studio Book ในรุ่นปี 2021 นี้ภายนอกไม่ได้แตกต่างจาก ProArt Studio รุ่นก่อนหน้านี้ โดยเริ่มตันกับสวนรายละเอียดชองฝาหน้าจะมีการสลักด้วยคำว่า ProArt ที่ชัดเจนอย่างมากครับ

 

ใต้เครื่องจะมีช่องระบายอากาศ พร้อมกับส่วนบนจะสลักคำว่า ProArt ที่เห็นได้ชัดเจนและมีแผ่นยางกันลื่น

 batch_sa_20211119_172737

รอบตัวเครื่องเป็นวัสดุแบบโลหะอย่างดีครับ โดยมีช่องระบายอากาศทั้งด้านหลังเครื่อง, ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของเครื่องแบบจัดเต็ม และมีช่องเสียบครบเริ่มจากฝั่งซ้ายจะมี USB-A, HDMI, DC-IN, USB-C ทั้งหมด 2 ช่อง และ Kensinton Lock

batch_sa_20211119_172520

 batch_sa_20211119_172527

batch_sa_20211119_172535

ส่วนฝั่งขวามือมีทั้ง LAN RJ-45 แบบเต็ม, USB-A อีก 1 ช่อง, SD Card Reader และ ช่องเสียบหูฟังแบบ Combo Port รองรับทั้งไมโครโฟน และช่องเสียบหูฟัง

 batch_sa_20211119_172558
batch_sa_20211119_172604
batch_sa_20211119_172607

ส่วนหน้านั้นจะมีไฟบอกสถานะว่าเครื่องเปิดอยู่หรือไม่, Battery และ ไฟสถานะการประมวลผล มีการเว้นร่องให้เปิดฝาเครื่อง

 batch_sa_20211119_172639
batch_sa_20211119_174031

ข้างหลังจะมีแค่บานพับของเครื่องโดยมีการเปิดได้ถึง 178 องศา

 batch_sa_20211119_172503
batch_sa_20211119_172810

เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาพบกับ

 batch_sa_20211119_180649

หน้าจอแบบ OLED ค่าสีตรงมากและที่สำคัญคือยังมีโหมดถนอมสายตา ทั้งหมดเดี๋ยวค่อยเล่าต่อในส่วนของหน้าจอ ความละเอียด 4K และเป็นหน้าจอแบบที่คนชอบออกแบบที่เน้นเรื่องสีสัน แต่ถามว่าจอแบบนี้เล่นเกมได้ไหม ก็พอได้ครับแค่ค่า Refresh Rate ไม่ได้สูงขนาดนั้น และมีกล้อง Webcam และสามารถปิด / เปิดได้

แผง Keyboard ของเครื่องรุ่นนี้

 batch_sa_20211119_172900

Keyboard ของ ASUS ProArt Studiobook มาพร้อมกับการออกลักษณะ Full Size พร้อมกับ Number Pad แยกออกมา ลักษณะการสัมผัสของ Keyboard มันมีความนุ่มกำลังดี แต่อาจจะชิดไปหน่อยเท่านั้นเองแต่ถ้าคุณชินกับการพิมพ์งานบน Notebook ทั่วไป ทั้งนี้ Touchpad มี 3 ปุ่มเพราะเพื่อใช้กับโปรแกรมออกแบบ 3D

 batch_sa_20211119_173339

แต่ยังไม่หมดครับ ProArt Studiobook รุ่นนี้ยังรองรับปากกา Stylus วาดเขียนสั่งงานได้ทันทีถือว่าสะดวกมากสำหรับคนที่ชอบวานภาพนอกสถานที่

 batch_sa_20211117_115155

และยังมีปุ่ม ASUS Dial ปุ่มศูนย์รวมการตั้งค่าทั้งเรื่องระบบเสียง, ปรับความสว่าง, และยังเชื่อมต่อกับโปรแกรมหลากหลายเช่น Adobe Photoshop, lightroom Classic, Premiere Pro และยังตั้งค่าผ่าน Creator HUB ได้ด้วย ซึ่งไว้ดูต่อในส่วนของฟีเจอร์ต่อไป

 batch_sa_20211119_174135

น้ำหนักของเครื่องเป็นอย่างไร

batch_sa_20211119_172657

แม้การออกแบบของ ASUS ProArt Studiobook จะออกแบบให้เครื่องสามารถตอบสนองการทำงานฝั่งกราฟิก แต่ว่าสิ่งที่หลายคนสงสัยว่าเครื่อรุ่นนี้อยู่ที่เท่าไหร่ คำตอบคือ 2.4 กิโลกรัมครับ เหมาะกับการวางบนโต๊ะทำงานเท่านั้นนะ เพราะการระบายความร้อนของเครื่องค่อนข้างร้อนจนอาจจะทำให้หลายคนทนไม่ไหว

 batch_sa_20211119_173517

เปิดเครื่องลองใช้งาน ASUS ProArt Studiobook H5600Q

รายละเอียดของ ASUS ProArt Studiobook H5600Q  (สเปกที่ได้มาทดลองใช้งาน)

  • หน้าจอแสดงผลขนาด 16 นิ้ว OLED ความละเอียด 4K (3840 x 2400 พิกเซล) อัตราส่วน 16:10 พร้อมกับความสว่าง 500 nits ให้ค่าสี 100% DCI-P3 color gamut, PANTONE Validated, Glossy display, Screen-to-body ratio: 85 % ค่าสี 1 ล้านสี
  • ขนาด : 36.20 x 26.40 x 1.99 ~ 2.14 เซนติเมตร
  • หนัก : 2.40 กิโลกรัม
  • ชิปเซ็ตประมวลผล : AMD Ryzen™ 9 5900HX Processor 3.3GHz (16M Cache, up to 4.6GHz, 8 cores)
  • AMD Radeon™ Vega 7 Graphics, NVIDIA® GeForce® RTX™ 3070 Laptop GPU, Boost up to 1410MHz at 90W (110W with Dynamic Boost)
    NVIDIA Max-Q Technologies for peak performance and efficiency, 8GB GDDR6
  • RAM : แบบ DDR4 32GB สามารถอัปเกรดได้อีก 64GB
  • ความจุ : 1TB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 Performance SSD
  • กล้องหน้า : HD Camera พร้อมกับปุ่ม ปิด / ปิดกล้อง
  • ตัวเชื่อมต่อ (Port)
    • 2x USB 3.2 Gen 2 Type-A
    • 2x USB 3.2 Gen 2 Type-C support display / power delivery / VR
    • 2x USB 3.2 Gen 2 Type-C support display / power delivery
    • 1x HDMI 2.1
    • 1x 3.5mm Combo Audio Jack
    • 1x RJ45 Gigabit Ethernet
    • 1x DC-in
    • SD Express 7.0 card reader
  • เชื่อมต่อ Wi-Fi 6(802.11ax)+Bluetooth 5.2 (Dual band) 2x2
  • ลำโพง : 2 ด้านล่าง พร้อมกับปรับจูนโดย Harman / Kardon
  • ไมโครโฟน : 4 ตัว + AI Noise Cancellation
  • ระบบปฏิบัติการ : Windows 11
  • แบตเตอรี่ขนาด 92 Wh ที่ชาร์จแบบ 240W Power Adapter แบบ AC-IN
  • สีเครื่อง ดำ

ผลการทดสอบประสิทธิภาพ / ระบบการชาร์จไฟ

batch_3dmarkfirestrike
batch_3dmarknightriad
batch_3dmarkpostroyal
batch_cpu-zbench
batch_disk

ประสิทธิภาพของ ASUS ProArt Studio ถือว่าประสิทธิภาพสมกับการเป็น WorkStation ที่เน้นการประมวลผลกราฟิก 3D และเน้นทำงานมากกว่าการเล่นเกม เพราะการ์ดจอที่ติดตั้งนั้นจะเขียนว่า GeForce RTX Studio

อย่างไรก็ตาม หากประสิทธิเบื้องต้นไม่แรงพอก็สามารถใช้โปรแกรม ProArt Creator HUB ปรับประสิทธิภาพขึ้นมาได้ด้วย

และการเชื่อมต่อของเครื่องรองรับ Wi-Fi 6E, Bluetooth 5.2 ใหม่ล่าสุดถือว่าทันสมัยอย่างมากเลยครับ

การแสดงผล / ระบบเสียงของเครื่อง

batch_sa_20211119_173505

ส่วนหน้าจอของเครื่องจะเป็นแบบ OLED และให้สีสันตรงทั้ง Pantone, DCI-P3 และทั้งหมดสีทั้งหมด 100% แม้จะไม่ได้รองรับการทัชสกรีน แต่การแสดงผลของหน้าจอถือว่าคมชัดและมีความละเอียดสูงถึง 4K !!! เลยทีเดียว สายตัดต่อหรือคนทำกราฟิกต้องชอบแน่นอนครับ

batch_sa_20211119_172737

batch_sound1

ส่วนระบบเสียงถือว่าดังดีครับเพราะมากรตคิดตั้งลำโพงหันเข้ามาที่หน้าโดยตรงทำให้เสียงที่ออกมาถือว่ามีความดังกังวาน ผ่านเทคโนโลยีลำโพงจาก Harman / Kardon ครับ

batch_sa_20211119_172851

ส่วนระบบของไมโครโฟนเครื่องจะมาพร้อมกับระบบ AI Noise Canceling โดยทำงานผ่านไมโครโฟนทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน ทั้งนี้ในเรื่องง

ระบบปฏิบ้ติการ / ฟีเจอร์ของเครื่อง / ระบบความปลอดภัย

เปิดเครื่อง ASUS ProArt Studiobook H5600Q พบกับระบบปฏิบัติการ Windows 11 มาให้ทันทีและสามารถอัปเดตและฟีเจอร์ต่างๆ มาแบบครบครัน

ส่วนลูกเล่นนั้นมีให้เลือกเยอะผ่านทั้ง ProArt Creator HUB และ My ASUS โดยเริ่มจาก

batch_sa_p1-tile

  • ProArt Creator HUB ศูนย์รวมการจัดการสำหรับเครื่อง ASUS ProArt มีคุณสมบัติตั้งแต่
    • ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่อง พร้อมกับพัดลมของเครื่องให้มีระดับความดังประมาณไหน พร้อมแจ้งสถานะของ RAM และความจำภายในเครื่องว่ามีเหลือประมาณไหน
    • Color Calibration เวลาที่ใช้งานหน้าจอไปนานๆ แล้วสีอาจจมีความผิดปกติหรือเปลี่ยนไป บางครั้งการm Software เข้ามาช่วยจะทำให้สีหน้าจอตรงในแบบสถานการณ์ฉุกเฉินได้ แต่ทั้งนี้ถ้าหน้าจอสีผิดปกติ แนะนำเข้าศูนย์บริการให้ปรับค่าสีจะดีกว่า
    • WorkSmart โปรแกรมเสริมทำให้คุณสามารถเปิดโปรแกรมได้ตามแต่โอกาส โดยสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 8 กลุ่มด้วยกัน
    • Control Setting เป็นการตั้งค่าของตัวเครือ่องที่เหลือรวมถึงการปรับให้ การกดเป็น Shortcut ต่างๆ นั้นสามารถทำได้ผ่านปุ่ม Customized Key

batch_sa_20211119_172719

batch_sa_20211117_114843

แต่ที่จะเล่าแยกจากส่วนนี้คือ ASUS Dual ปุ่มสั่งงานที่มีลักษณะเป็นเป็นแบบกลมและสามารถกดลงไปได้ จุดเด่นของปุ่มแบบนี้คือ ช่วยให้นักสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้เช่นการเลือกเปลี่ยนกลุ่มของแปรงใน Photoshop, Lightroom จะเป็นเรื่องของการปรับแสงสีความสว่างของภาพ และรวมไปถึงใน Premiere Pro สามารถซูมหรือเลือกโฟกัส Timeline ได้ โดย ASUS เองจะปล่อย API เพื่อให้นักพัฒนานำปุ่มนี้ไปสร้างสรรค์งานของตัวเองได้ดีในอนาคต

batch_sa_my1-tile

  • My ASUS การทำงานของระบบภารวมจะเหมือนกับ ASUS Expertbook ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ประกอบด้วย
    • การตรวจสอบปัญหาเบื้องต้นของเครื่อง รวมถึงการขึ้น Blue Screen
    • ปรับระบบเสียง AI Noise Canceling จัดการเสียงรบกวนให้เหลือน้อยที่สุดได้
    • อัปเดต Software ภายในเครื่อง
    • AppDeal สำหรับคนที่อยากได้ของถูกและเสียตังค์น้อย ASUS ก็จัดมาให้
    • ติดต่อกับ Call Center ผ่านเครื่องได้
    • โปรแกรมจัดการแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้ยาวนาน หรือต้องการถนอมแบตเตอรี่
    • Link to MyASUS เชื่อมต่อกับมือถือได้แบบไร้รอยต่อไม่ว่าจะเป็นการแชร์หน้าจอ, File, แชร์หน้าจอ เป็นต้น
    • ตรวจสอบการทำงานที่ผิดพลาดของ Hardware ได้

batch_sa_20211119_172851

ส่วนระบบความปลอดภัยไม่ได้ติดตั้งระบบสแกนนิ้วและสแกนใบหน้ามาให้ในรุ่นนี้ ใช้ระบบการกด PIN ผ่านทาง Windows Hello อย่างเดียวเท่านั้น และยังมีที่ปิด / เปิด Web Cam

แบตเตอรี่ / การชาร์จไฟ

batch_batmon

สำหรับแบตเตอรี่ของเครื่องมีขนาด 92W ถือว่าใหญ่มาก และจากการทดองใช้พบว่าสามารถใช้งานได้ยาวนาน 9 ชั่วโมง โดยเป็นการทำงานทั่วไป แต่ถ้าใช้งานเน้นกราฟิกอย่างหนักเช่นการลองตัดต่อภาพ 5 ชั่วโมง เท่านั้น

ส่วนระบบชาร์จไฟนอกจาก DC-IN Adapter กำลัง 240W แต่ถ้าใครบอกว่า มันชาร์จไฟด้วย DC-IN อย่างเดียวแล้วผิดครับ ความจริงมันชาร์จไฟจากระบบ PD หรือ Power Delivery ได้กำลังสูงสุด 90W แต่ที่จริงจากที่ลองชาร์จจากที่ชาร์จกำลัง 65W ก็เข้าแล้วแต่จะใช้เวลานาน และต้องปิดเครื่องถึงจะได้ผลดี

สรุปหลังจากทีม Sanook Hitech ที่ได้ทดลองใช้งาน ASUS ProArt Studiobook H5600Q

batch_sa_20211117_120636

เรียกได้ว่า ASUS ProArt Studiobook H5600Q จะเป็นคอมพิวเตอร์ในกลุ่มของ WorkStation รุ่นใหม่ที่มีจุดเด่นเพื่อคนทำงานสายกราฟิกแต่ว่าต้องการพกพาไปทำงานต่อเนื่องแม้ว่าจะมีขนาด 16 นิ้ว ใหญ่โต แต่ว่าน้ำหนักของเครื่อง 2.4 กิโลกรัม และความสะดวกสบายทั้ง Touchpad รองรับปากกา Stylus และยังมี ASUS Dial กับสเปกใหม่ล่าสุดเห็นแบบนี้ใครที่มองหาคอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้ไม่ควรมองข้าม

สำหรับราคาของ ASUS ProArt Studiobook ในรุ่นปี 2021 - 2022 ในกลุ่มที่พกพาไปได้ทุกที่จะเป็นอย่างไรโดยเริ่มต้นที่กับสเปกดังนี้

  • H5600QR-L2911WS : AMD Ryzen™9 5900HX / 16GB DDR4 SO-DIMM *2 / 1TB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 Performance SSD / AMD Radeon™ Vega 7 Graphics / NVIDIA® GeForce® RTX™ 3070 Laptop GPU/WQUXGA (3840 x 2400) 16:10 / OLED / Office Home and Student 2021 included ราคา 79,990 บาท << เครื่องที่รีวิว
  • H5600QM-L2911WS : AMD Ryzen™9 5900HX / 16GB DDR4 SO-DIMM *2 / 1TB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 Performance SSD / AMD Radeon™ Vega 7 Graphics / NVIDIA® GeForce® RTX™ 3060 Laptop GPU/WQUXGA (3840 x 2400) 16:10 / OLED / Office Home and Student 2021 included ราคา 70,990 บาท

และ ASUS ProArt Studiobook ยังมีรุ่น H7600 และอื่นๆ อีกมากมายให้คุณได้เลือกซื้อเช่นเดียวกัน และตัวเครื่องรุ่นนี้จะเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จุดเด่น

  • การออกแบบเครื่องทำให้ตอบสนองกับด้านกราฟิกดีกว่าปกติ
  • Touchpad รองรับการใช้งานปากกาและมีปุ่มที่ 3 สำหรับใช้ 3D
  • สเปกของเครื่องแรงประสิทธิภาพการำทงานสูง
  • หน้าจอ OLED คมชัด
  • ASUS Dial สามารถเลือกเมนูต่างๆ ทำได้รวดเร็ว
  • ระบบไมโครโฟนทำงานได้ดีเพราะมี AI Noise Canceling

ข้อสังเกต

  • ยังไม่รองรับการชาร์จไฟแบบ Power Delivery มาให้
  • สเปกเครื่องแรงแต่ทำมาเพื่อการทำงานกราฟิกมากกว่า การเล่นเกม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook