เปิดตัว "แอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น" มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ล้ำหน้าสู่นวัตกรรมสร้างสรรค์ในยุค 5G

เปิดตัว "แอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น" มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ล้ำหน้าสู่นวัตกรรมสร้างสรรค์ในยุค 5G

เปิดตัว "แอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น" มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ล้ำหน้าสู่นวัตกรรมสร้างสรรค์ในยุค 5G
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อมรดกวัฒนธรรมหลอมรวมกับเทคโนโลยี (Cultural Technology)

นักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างความแปลกใหม่ให้มรดกวัฒนธรรม บ้านบานเย็นอันทรงคุณค่า บ้านไม้โบราณสมัยรัชกาลที่ 5 ให้สามารถเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกับคุณเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส คุณเพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น ผ่านเพลย์สโตร์ คุณจะพบกับโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นไอเดียของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นโปรเจกต์ Startup ในรายวิชา HIM496 การออกแบบอนิเมชั่นของ ผศ.ดร.อาษา ตั้งจิตสมคิด

บ้านบานเย็น บ้านประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 5

home1

บ้านบานเย็น ตั้งอยู่เลขที่ 54 ซอยเทเวศร์ 1 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ดังปรากฏภาพดาวเทียมในรูปที่ 1 ภายในบริเวณบ้านมีอาคารสำคัญจำนวน 3 หลัง เป็นเรือนไม้ที่คาดว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ถึงต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 6 โดยอาคารดังกล่าวประกอบด้วย เรือนพระยาหิรัญยุทธกิจ เรือนขุนวิเศษสากล และเรือนเพ็งศรีทอง ซึ่งเรือนทุกหลังล้วนมีความเกี่ยวข้องกับตระกูลสาโยทภิทูรทั้งสิ้น

เดิมครอบครัวสาโยทภิทูรอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นถนนราชดำเนินหน้ากองสลากฯ ในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนน   ราชดำเนิน พระองค์ได้โปรดฯ ให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวไปหาที่อยู่ใหม่ ครอบครัวสาโยทภิทูรจึงได้ย้ายมาอยู่ในบริเวณ บ้านบานเย็นในปัจจุบัน โดยสร้างเรือนพระยาหิรัญยุทธกิจขึ้นเป็นหลังแรก ซึ่งน่าจะในราวปี พ.ศ. 2446 ที่ถนนราชดำเนินเสร็จสมบูรณ์แล้ว จากนั้นเมื่อน้องสาวของท่านสมรสกับร้อยเอกขุนวิเศษสากล (เจิม นาถะดิลก) จึงได้มีการสร้างเรือนขุนวิเศษสากลขึ้น และในท้ายที่สุด เมื่อลูกสาวของท่านออกเรือนจึงได้สร้างเรือนเพ็งศรีทองขึ้น

เรือนขุนวิเศษสากล home4

เป็นเรือนหลังที่ 2 ของบ้านบานเย็น มีการประดับลายฉลุไม้มากกว่าเรือนพระยาหิรัญยุทธกิจ ลักษณะเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ยกพื้นสูงประมาณ 1.00 เมตร หลังคามุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์ ระหว่างหลังคากับผนังมีช่องลมลายไม้ฉลุเป็นแนวยาว ผนังเรือนทั้งหมดเป็นไม้ หน้าต่างเป็นบานลูกฟัก และบางบานมีช่องระบายลมด้านบนและลูกฟักด้านล่าง ภายในเรือนปัจจุบันยังคงมีเตียงเหล็กโบราณ ตุ้มกระเบื้องหุ้มสายไฟเพดาน ฯลฯ เรือนขุนวิเศษสากลนี้สร้างขึ้นโดยใช้ไม้ของเรือนเก่าที่ถนนราช โดยการรื้อย้ายเรือนมาปลูกในบ้านบานเย็นสิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 99 บาท

เรือนเพ็งศรีทอง home9

เป็นเรือนที่สร้างหลังสุด และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มของเรือนโบราณบ้านบานเย็น โดยเรือนหลังนี้ในเบื้องต้นใช้เป็นเรือนหอของนางสาวประยงค์ สาโยทภิทูร บุตรสาวคนโตของพระยาหิรัญยุทธกิจ ซึ่งสมรสกับนายเปล่ง เพ็งศรีทอง ผู้จัดการบริษัทบอร์เนียว

เริ่มต้นกับการพัฒนาแอปบ้านบานเย็น 5G

แอปพลิเคชั่น Baan Baanyen มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้ของบ้านบานเย็น ประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมา บุคคลสำคัญ รูปแบบของเรือนไม้ รวมไปถึงของเก่าโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับว่าเป็นสถานที่ที่ทรงคุณค่าในเชิงอดีตเป็นอย่างยิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และปกป้องสืบต่อไป

ทางทีมงานจึงได้คัดเลือกและนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น โดยค้นคว้าหาข้อมูลจาก รศ.โรจน์ คุณเอนก ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS Thailand) และยังเป็นทายาทรุ่นปัจจุบันของพระยาหิรัญยุทธกิจ ที่เป็นเจ้าของบ้านบานเย็น

จากนั้นจะเป็นการสร้างฉากในแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็นด้วยโปรแกรม Photoshop ฉากในแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็นมีทั้งหมด 30 ฉาก เมื่อเข้าแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็น ระบบจะพาท่านเข้าสู่หน้าหลัก ที่ประกอบด้วย เมนูข้อมูลขอวบ้านบานเย็น เมื่อท่านกดเมนูที่ท่านต้องการ ระบบจะพาท่านเข้าสู่หน้าข้อมูลต่างๆ และเมื่อท่านต้องการกลับสู่หน้าหลัก สามารถกดปุ่ม Back เพื่อกลับสู่หน้าหลัก ทำให้แอปนี้สมบูรณ์แบบด้วยการเล่าเรื่องแบบ Story Telling รวมถึงทำให้ผู้ใช้จดจำข้อมูลของบ้านบานเย็นได้ด้วย Gamification ผ่านการเล่นเกมภายในแอป

พาทัวร์แอปบ้านบานเย็น

หน้าหลัก โลโก้บ้านบานเย็น

logoapp

เมื่อกดเข้าแอปพลิเคชั่นจะเจอหน้าโลโก้บ้านบานเย็นซึ่งเป็นหน้าจอหลักของแอปพลิเคชั่นนี้ เมื่อแตะหน้าจอจะนำไปสู่หน้าเมนูหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย 6 เมนูหลัก คือ (1) เกี่ยวกับ (2) บ้านบานเย็น (3) ของสะสม (4) สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง (5) เกมส์ (6) และติดต่อ/สอบถาม

home9

เมื่อแตะที่หน้าเมนู ตรงไอคอนเกี่ยวกับ จะปรากฏหน้าที่มาของบ้านบานเย็นและประวัติพระยาหิรัญยุทธกิจ

pong2

เมื่อแตะที่หน้าเมนู ไอคอนของสะสม จะปรากฏหน้ารายละเอียดของ ของสะสมโบราณ ซึ่งถ้าหาก Click ไปที่ของแต่ละชิ้น จะปรากฏรายละเอียดข้อมูลของ ของสะสมแต่ละชิ้น

pic1

เมื่อแตะที่หน้าเมนู ตรงไอคอนบ้านบานเย็น จะปรากฏหน้าแผนผังบ้านบานเย็น ซึ่งถ้า Click เข้าไปที่หมายเลข 1,2,3 ของเรือนแต่ละหลัง จะปรากฏรายละเอียดข้อมูลของเรือนนั้นๆ

เมื่อแตะที่หน้าเมนู ตรงไอคอนสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง จะปรากฏรายละเอียดของสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับบ้านบานเย็น อาทิเช่น วัดอินทรวิหาร ตลาดเทเวศร์และวังบางขุนพรหม

a

กิจกรรมตอบคำถาม เมื่อแตะที่หน้าเมนู ตรงไอคอนเกมส์ จะปรากฏหน้ากิจกรรมตอบคำถามทั้งหมด 10 ข้อ เป็นท้าทายความจำจากผู้พัฒนาไปสู่ผู้ใช้งาน

q1

สุดท้ายคือรายละเอียดที่ตั้งบ้านบานเย็น Facebook Fanpage และเบอร์โทรติดต่อเมื่อแตะที่หน้าเมนู ตรงไอคอนติดต่อ/สอบถาม จะปรากฏหน้าข้อมูลรายละเอียดของที่ตั้งบ้านบานเย็น รวมไปถึงFacebook Fanpage และเบอร์โทรติดต่อ

contact

โหลดแอปพลิเคชั่น Baan Baanyen ได้ที่ Google PlayStore

บทสัมภาษณ์ทีมงาน

“นุ่น” นฤฌา อยู่ไมย์ ฝ่าย Development หนึ่งในสมาชิกของทีม เล่าถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็น Baan BaanYen Application ว่าโปรเจกต์นี้เริ่มมาจากการผลักดันทางความคิดของ ผศ.ดร.อาษา ตั้งจิตสมคิด ที่อยากให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์ทำงานจริง โดยมีความคิดตั้งต้นว่า เราคือบริษัท start up ที่เหมือนได้โจทย์จากลูกค้า แล้วต้องทำโปรดักชั่นส่งลูกค้าจริง มีการติดต่อประสานงานกับลูกค้าที่เราต้องการทำ MOU ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ท้าทายความสามารถของทีมอย่างมาก ต้องมีการออกไปติดต่อกับลูกค้า นำแผนงานไปนำเสนอให้กับลูกค้าหลายครั้ง เพื่อให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด ซึ่งบนความท้าทายนี้ยังมีความโชคดีของทีมเรา ที่ได้ลูกค้าเป็น รศ.โรจน์ คุณเอนก หนึ่งในคณะกรรมการโบราณสถานแห่งชาติว่าด้วยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS Thailand) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนในรายวิชาของวิทยาลัย ทำให้การติดต่อประสานงานค่อนข้างเป็นไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น

“อ๋อง” พลกฤต วงศ์อนุการ ฝ่าย Information หนึ่งในสมาชิกของทีม กล่าวว่า เราต้องการนำมรดกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่และกำลังจะเลือนหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่มาพัฒนาต่อยอดให้มรดกทางวัฒนธรรมนั้นมีความน่าสนใจและใกล้ชิดกับคนรุ่นใหม่อย่างสร้างสรรค์ ผ่านการนำเสนอในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ Android ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ทีมเราได้นำทรัพยากรมรดกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ นำมา Curate ให้เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้มรดกวัฒนธรรมยังคงอยู่และถูกตระหนักรู้อย่างยั่งยืน และเชื่อว่า I can do it, you can do it.

รศ.โรจน์ คุณเอนก เจ้าของบ้านบานเย็นและลูกค้าคนสำคัญของทีม Jai-Yen เมื่อได้ทดลองเล่นแอปพลิเคชั่นบ้านบานเย็นก็รู้สึกชอบ สนุก และเพลิดเพลินไปกับแอปพลิเคชั่น ที่เต็มไปด้วยสาระความรู้เกมส์กิจกรรมตอบคำถามซึ่งบางคำถามก็ถือว่ายากพอสมควร จนอาจารย์เจ้าของบ้านก็ยังลืมไปบ้าง ท้ายที่สุดอาจารย์ได้กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจและขอบคุณที่นักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมนี้ และนำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ ถึงกับถามทางทีมงานว่าจะมีการพรีเซ็นต์แอปพลิเคชั่นนี้ให้อาจารย์ประจำรายวิชาฟังเมื่อไหร่ “ถ้าว่างผมจะมาฟังถึงความสำเร็จนี้แน่นอน อย่าลืมบอกผมนะครับ”

img_4706

รายชื่อนักพัฒนาของทีม Jai-Yen

  1. มุกรดา ตั้งโชควิพุธ ฝ่าย Creative ออกแบบโลโก้และโปรดักชั่น 
  2. พลกฤต วงศ์อนุการ ฝ่าย Information หาข้อมูลหน่วยงาน จัดทำวารสารวิชาการ
  3. ศศินิภา ธเนศตระกูล ฝ่าย Information หาข้อมูลหน่วยงาน ติดต่อประสานงาน 
  4. นฤฌา อยู่ไมย์ ฝ่าย Development รวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่ายเพื่อนำมาสร้างเป็นแอปพลิเคชั่น
  5. กนกวรรณ ปิ่นสิรานนท์ ฝ่าย Creative ออกแบบโลโก้และโปรดักชั่น
  6. ณัฐนิช คุปต์กาญจนากุล ฝ่าย Information หาข้อมูลหน่วยงาน ติดต่อประสานงาน
  7. พรรัตน์ จันฟูวงษ์ ฝ่าย Creative ออกแบบโลโก้และโปรดักชั่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook