เปิดใจ 2 ผู้ไม่ชนะการประมูล 4G 900MHz หวังจะทำดีที่สุดให้ลูกค้า
เมื่อวันก่อนเราได้ดูผู้ชนะการประมูลแถลงว่าจะเดินหน้าทำอะไรต่อไปแล้ว วันนี้มาดูว่าผู้ไม่ชนะการประมูล 4G คลื่น 900MHz จะทำอย่างไรกันต่อไปบ้างดีกว่า
เริ่มจากดีแทคก่อน ซึ่งออกมาประกาศกร้าวว่า ไม่ถอยการลงทุนแน่นอน แต่จะเพิ่มเรื่องงบการตลาด และการเพิ่มการลงทุนเครือข่ายแน่นอน ส่วนที่ไม่ชนะการประมูลนั้น ดีแทคไม่ได้เสียคลื่นไป และพร้อมให้บริการนั่นเอง (คลื่น 1800MHz เป็นของ DPC และ Truemove H ส่วน 900MHz เป็นของ AIS) และแน่นอนว่าดีแทคก็จะไม่มีภาระหนี้สินในเรื่องการจ่ายค่าคลื่นต่าง ๆ ทำให้ดีแทคได้เปรียบในเรื่องการสร้างบริการ แพ็กเกจ หรือ เครือข่ายต่าง ๆ และสิทธิพิเศษของลูกค้า
แล้วทิศทางต่อไปนี้ คงเป็นเรื่องเครือข่าย จะเอาเงินที่ไม่ต้องจ่ายค่าคลื่นนั้น จะปรับคลื่นให้ดีขึ้น และสามารถทำ แพ๊กเกจที่ดีขึ้น และอีกเรื่องคือการพัฒนาสังคมไทยในเรื่องของ Digital Content ก็จะเกิดขึ้นรวมทั้ง Digital Economy เช่นการให้บริการทางการเงินบนมือถือ และพัฒนา Mobile Wallet ในปีหน้า
ในเรื่องของ สัญญาณนั้น ดีแทคได้ทำ Hi-Speed 4G ซึ่งทำความเร็วได้มากถึง 100Mbps แล้วและเตรียมขยายที่หัวเมืองใหญ่ ๆ ให้ครบก่อน และทุกพื้นที่จะใส่ 4G ให้ครบในปีหน้า โดยตอนนี้มีผู้ใช้งาน 4G กว่า 2.2 ล้านรายและขยายเป็น 4.5 ล้านรายในปีหน้า และจะทำให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ได้ 60 - 70% ในปีต่อไป
แล้วการตอบแทนลูกค้าดีแทค นั้นจะจัด dtac reward ฉลอง ถึง 9 วันเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม จนถึง 2 มกราคม ที่จะถึงนี้
รวมทั้ง ยังมีการส่งเสริม Startup ให้เกิดขึ้นในไทย ส่วนการลงทุนเครือข่ายในปี 2015 นั้นใช้เงินกว่า 2 หมื่น ล้านบาท ส่วนในเรื่องการเสนอราคาประมูล แม้จะไม่ได้ชนะ แต่ก็เห็นว่าราคาที่เสนอไปก็ถือว่ามีความสำคัญและมีมูลค่าที่จะนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งก็อาจจะเห็นการประมูลคลื่นออกมาในอนาคตแน่นอน
ส่วน Telenor นั้นถอยหลังหลังไม่ ผู้บริหารดีแทคบอกว่าไม่ถอนการลงทุนแน่นอนเพราะ เทเลนอร์เองก็ผ่านอะไรมาเยอะอยู่พอสมควร และในปี 2018 ที่สัมปทานหมดลง ดีแทคเชื่อว่าจะต้องนำไปประมูลนั่นเอง และดีแทคพร้อมที่จะสู้ที่จะนำคลื่นกลับมาให้บริการนั่นเอง และทำให้เครือข่ายมีสัญญาณแรงขึ้น แม้ว่าอาจจะเสี่ยงก็ตาม
ดีแทคเผยว่าถ้ามีคลื่นความถี่มากก็จะทำช่องขยายสัญญาณได้ง่ายกว่า แต่ถ้ามีน้อยถามว่าทำได้ไหม ก็ทำได้เพราะมีเทคโนโลยี อีกคำถามที่หลายคนสงสัยว่าดีแทคเจรจากับ กสท (Cat Telecom) นั้นเป็นเรื่องจริง แต่ยังคงทำแบบ Reseller มากกว่า ฉะนั้นคงยังไม่ต้องโวยวายอะไรตอนนี้ รอดูกันไปก่อน แต่ที่รู้คือเมื่อสัมปทานหมด ในปี 2018 ดีแทคคงต้องสู้เพื่อดึงคลื่น 1800MHz กลับมาใช้บริการให้ได้ก่อนที่อะไรจะสายเกินไป
จากที่ดีแทคได้กล่าวออกมานั้น ทีมงาน Sanook! Hitech ได้มองว่า แม้จะไม่ได้คลื่น 900MHz หรือ 1800MHz มาครอบครองก็ไม่เป็นไร เพราะดีแทคนั้นก็มีคลื่นที่ก็เพียงพอ และดีแทคก็ไม่ได้ก่อหนี้เพิ่มและสามารถใช้เงินที่นำไปประมูล ไปใช้ในการพัฒนาบริการทั้งเครือข่ายและลูกค้านั่นเอง ต้องอย่าลืมว่าดีแทคนั้นมีคลื่นอยู่เยอะก็จริงแต่บางตัวกำลังจะหมดสัมปทานเร็ว ๆ นี้ซึ่งเมื่อถือเวลานั้น ผมว่าดีแทคจะต้องสู้เพื่อรักษาคลื่นของตัวเองให้ได้แน่นอน เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดความเสียหายได้แน่นอน
และผมเชื่อว่าดีแทคก็ปักธงพร้อมรบเกี่ยวการทำสงครามราคาของโปรโมชั่น 4G ถือว่าน่าจับตามองอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้บริโภคชาวไทยทั้งหลาย
อีกฝั่งที่ไม่ชนะการประมูลอย่าง AIS นอกจากคลื่น 900MHz ที่ไม่ได้แล้ว ยังมีลูกค้ากว่า 1.5 ล้านรายนั้นก็เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ โดยผู้บริหารจาก AIS ได้กล่าวว่าที่ AIS ไม่ประมูลคลื่น 900MHz ต่อเนื่องจากราคาไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เพราะอาจจะก่อนให้มูลค่าเพิ่มแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นนั่นเอง
สิ่งที่ AIS จะแก้เกมคือเรื่องการจะใช้คลื่นความถี่ 2100MHz ที่มีจำนวน 15MHz และครอบคลุมกว่า 98% ของประชากรและสามารถใช้งานได้นาน 12 ปี และคลื่น 1800MHz ที่พึ่งประมูลได้ และล่าสุดยังมีการร่วมมือกับ TOT นำคลื่น 2100MHz จำนวน 15MHz มาให้บริการอีกด้วย
ส่วนผู้ใช้บริการคลื่น 900MHz เดิมที่มีตัวเลขลดลงเรื่อย ๆ นั้น ยังมีแผนกระตุ้นให้ย้ายมาใช้งาน 3G และ 4G ด้วยการออกโปรโมชั่นและดูพฤติกรรมของลูกค้า หนึ่งในวิธีคือการเปิดให้แลกเครื่องเก่า 2G มาเป็นเครื่องใหม่ในเครือข่าย3G/4G ด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นการแลกเครื่อง AIS Lava ซึ่งเป็น Smart Phone ที่มีราคาคุ้มค่าและได้รับความนิยมนั่นเอง
ความเห็นจากทีมงาน Sanook Hitech สำหรับ AIS นี้คงให้ความสำคัญกับลูกค้าที่ใช้บริการเครื่อง 2G ทั้งโปรโมชั่น และการอัพเกรดเครื่องฟรีก็ว่าได้ เรียกได้ว่าเขาจะยังรักษากลุ่มลูกค้าได้อยู่
แต่เรื่องที่ประมูลคลื่นแต่ไม่ได้นั้นก็เป็นความน่าเสียดายจริง ๆ แต่ว่า ถ้าเกิดได้แต่เกิดผลกระทบทั้งลูกค้า หนี้เยอะเกินไปก็อาจจะไม่คุ้มกับการดำเนินการธุรกิจนั่นเอง เรียกได้ว่ามองได้อย่างฉลาดเลยล่ะ
ย่านคลื่นความถี่หลักในการสื่อสารเคลื่อนที่ไร้สาย อยู่ในมือใครบ้าง? กสทช.เล็งหยิบ 700MHz กับ 2600MHz มาประมูลด้วย pic.twitter.com/Ll3bhOzfiE
— YO•WARE (@yoware) December 19, 2015
หลังจากที่ได้ฟังกันไปแล้ว สรุปออกมาเป็นรูปคลื่นทั้งหมดดังนี้ ต้องขอบคุณรูปจาก @yoware อาจจะเป็นรูปที่สามารถตัดสินได้ว่า ทั้งหมดของผู้ให้บริการที่ถือนั้นใครมีคลื่นอะไรได้บ้าง แต่ก็อาจจะไม่สามารถฟันธงว่าใครจะให้บริการดีที่สุด ซึ่งผู้บริโภคต้องลองเองนะครับ