Doraemon Story of Seasons เทคนิคปลูกผักให้ได้ 5 ดาว ง่ายนิดเดียว

Doraemon Story of Seasons เทคนิคปลูกผักให้ได้ 5 ดาว ง่ายนิดเดียว

Doraemon Story of Seasons เทคนิคปลูกผักให้ได้ 5 ดาว ง่ายนิดเดียว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Doraemon Story of Seasons เกมปลูกผักรวมร่างกับการ์ตูนโดราเอมอน ที่สร้างขึ้นโดยใช้ระบบการเล่นให้เหมือนกับเกมปลูกผัก Harvest Moon ของเครื่อง PS1 แต่ว่าก็มีการผสมผสานกับระบบใหม่ๆบางอย่างจากเกมปลูกผัก Story of Seasons ภาคใหม่ๆเช่นกัน และที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ก็คือ ระบบคุณภาพของผักที่เราปลูก ซึ่งมาในรูปแบบ "ดาว"  เริ่มตั้งแต่ครึ่งดวงถึงห้าดวง และนอกจากการปลูกผักแล้ว ไม่ว่าจะไข่ นม แมลง และ ปลา ก็มี ดาว เช่นกัน แต่เราจะมาพูดถึงผัก ที่มีการเพิ่มดาวยุ่งยากที่สุดเท่านั้น

การเพิ่มคุณภาพ หรือการเพิ่ม "ดาว" ของผักที่เราปลูกนั้น ทำได้ทางเดียวคือการ "ใส่ปุ๋ย" ซึ่งในเกมเรียกว่า Fertilizer มีสองแบบคือ Fertilizer ธรรมดาราคา 20 กับ Fancy Fertilizer ราคา 40 แน่นอนว่าหากจะให้ผักคุณภาพดีถึง 5 ดาว จำเป็นต้องใช้ปุ๋ย Fancy Fertilizer เท่านั้น แต่การใส่ปุ๋ยให้ผักทุกๆวัน จนกระทั่งออกผลผลิต ก็ทำได้แค่เพิ่มดาวได้ประมาณ 2.5 ดาว เท่านั้น ยังไม่ถึง 5 ดาว แล้วจะทำอย่างไรให้ถึง 5 ดาว เรามีวิธีง่ายๆมาบอกกัน

การเพิ่มดาวด้วย Seed Maker 

ถ้าเพื่อนๆเล่นไปจนถึงวันที่ 1 ฤดูใบไม้ร่วง (Fall) จะมี Event ที่โนบิตะจะสามารถผลิตเครื่องจักรจากของวิเศษของโดราเอมอนได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นจะมี Seed Maker อยู่ด้วย ซึ่งมันสามารถเปลี่ยนผลผลิตพืชผักให้กลับเป็นเมล็ด โดยที่ยังคงคุณภาพจำนวนดาวไว้เท่าเดิม ตัวอย่างเช่น เราปลูก Turnip ได้ 2.5 ดาว ถ้านำไปใส่เครื่อง Seed Maker ก็จะได้เมล็ด Turnip ที่มีคุณภาพ 2.5 ดาว จำนวน 3 เมล็ด เพื่อนำไปใช้ปลูกให้ดาวเพิ่มขึ้นต่อไป

ข้อควรระวัง

ทันทีที่นำเมล็ดปลูกลงดิน คุณภาพของผักจะลดลงครึ่งดาว เช่นจากเมล็ด 2.5 ดาว คุณภาพจะเหลือเพียง 2 ดาว ดังนั้นจึงต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มคุณภาพไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ สำหรับพืชที่สามารถเก็บผลผลิตได้หลายครั้ง เมื่อเราเก็บผลผลิตครั้งแรกไปแล้ว คุณภาพของพืชก็จะตกลงเช่นกัน เช่นเก็บผลผลิตครั้งแรกได้ 2.5 ดาว เก็บครั้งที่สองก็จะเหลือ 2 ดาว หรือ 1.5 ดาว ดังนั้นถ้าอยากให้ผลิตคงคุณภาพเรื่อยๆ ก็จะต้องใส่ปุ๋ยอยู่เสมอๆ

 

การเพิ่มดาว โดยไม่ต้องใช้ Seed Maker 

จริงๆก็มีวิธีทำให้สามารถเพิ่มดาวผักให้ได้ 5 ดาว ด้วยการปลูกเมล็ดเพียงครึ่งดาวได้อยู่ แต่วิธีการจะค่อนข้างยุ่งยากกว่าเล็กน้อย นั่นก็คือ "การไม่รดน้ำผัก" เพราะในเกม Doraemon Story of Seasons รวมถึงเกมปลูกผักภาคอื่นๆ ผักจะโตหลังจากที่เรารดน้ำ ดังนั้นถ้าไม่รดน้ำผักก็จะไม่โต แต่ยังสามารถใส่ปุ๋ยได้ทุกวันอยู่ ทว่าวิธีนี้จะต้องระวังผักตายด้วย เพราะผักแต่ละชนิดมีความทนทานไม่เท่ากัน ผักบางชนิดไม่รดน้ำ 3 วันก็ยังไม่ตาย แต่บางชนิด 2 วันก็ตายแล้ว ดังนั้นก่อนนอนทุกครั้ง ควรจะ Save เกมไว้ก่อน ถ้าเช้ามาผักตายก็โหลดใหม่

การทำงานของ ปุ๋ย Fancy Fertilizer นั้นจะเพิ่มคุณภาพของผักให้ตามจำนวนวันที่ปลูก ซึ่งผักที่ใช้เวลาเพราะปลูกสั้น คุณภาพก็จะยิ่งไวขึ้นตามไปด้วย ส่วนผักที่ต้องใช้เวลาปลูกนาน ก็ยิ่งต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมากตามไป ยกตัวอย่างเช่น Turnip ใช้เวลาปลูก 4 วัน ส่วน Carrot ใช้เวลาปลูก 12 วัน เราใส่ปุ๋ยทุกวัน เมื่อเก็บผักก็จะได้ผัก 2.5 ดาวเท่ากัน

ใส่ปุ๋ยอย่างเดียว น้ำไม่ต้องรดทุกวัน ผักโตช้าหน่อย แต่ได้ดาวที่มากขึ้นใส่ปุ๋ยอย่างเดียว น้ำไม่ต้องรดทุกวัน ผักโตช้าหน่อย แต่ได้ดาวที่มากขึ้น

เคล็ดลับการใส่ปุ๋ยและการงดรดน้ำ

ใช้หลักการนับวันเพราะปลูกเช่นกัน ซึ่งส่วนมากผักที่ใช้เวลาเพราะปลูกสั้นจะทนต่อการไม่ให้น้ำได้นานกว่า ดังนั้นผักที่ใช้เวลาปลูกสั้น สามารถงดรดน้ำได้ติดต่อกัน 2 วันแล้วค่อยรดน้ำอีกที ตัวอย่างเช่น

Turnip ใช้เวลาปลูก 4 วัน

  • วันแรก หว่านเมล็ด ใส่ปุ๋ย รดน้ำ
  • วันที่สอง ใส่ปุ๋ย
  • วันที่สาม ใส่ปุ๋ย
  • วันที่สี่ ใส่ปุ๋ย รดน้ำ
  • วันที่ห้า ใส่ปุ๋ย
  • วันที่หก ใส่ปุ๋ย
  • วันที่เจ็ด ใส่ปุ๋ย รดน่้ำ
  • วันที่แปด ใส่ปุ๋ย
  • วันที่เก้า ใส่ปุ๋ย
  • วันที่สิบ ใส่ปุ๋ย รดน้ำ เก็บผลผลิต

จะเห็นได้ว่า ผักจะโตจนเก็บผลผลิตได้ หลังจากที่เรารดน้ำเป็นครั้งที่ 4 พอดี ตามจำนวนวันที่ผักกำหนดไว้ ถ้าเราไม่รดน้ำทุกวัน และใส่ปุ๋ยทุกวันเรื่อยๆ ผักก็จะได้คุณภาพสูงกว่าการรดน้ำทุกวันได้นั่นเอง โดยวิธีนี้สามารถได้ผักที่มีคุณภาพ 4-5 ดาวได้เลย แต่สำหรับผักที่ใช้เวลาปลูกนานกว่านี้ จะต้องใช้วิธีรดน้ำแบบวันเว้นวันแทน ไม่อย่างนั้นผักอาจตายได้

สุดท้ายที่อยากจะบอกคือ การปลูกผักให้ได้ 5 ดาวนั้น จุดประสงค์เพื่อให้ชนะการประกวดเป็นหลัก หรือไม่ก็ทำสถิติลงในสมุดบันทึก(ที่บ้านเจ้าเมือง) แต่มันไม่ได้ช่วยให้ได้กำไร ตรงข้ามต้องลงทุนกับค่าปุ๋ยเยอะมาก ขายไม่คุ้มทุน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook