ทำไมกระเพาะอาหารจึงไม่ย่อยตัวเอง?

ทำไมกระเพาะอาหารจึงไม่ย่อยตัวเอง?

ทำไมกระเพาะอาหารจึงไม่ย่อยตัวเอง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่ย่อยอาหารทุกชนิดที่เรารับประทาน แต่ทำไมกระเพาะถึงไม่ย่อยตัวเอง น้ำย่อยเมื่อขับออกมาจะทำลายเซลล์บริเวณกระเพาะบ้าง แต่กระเพาะก็สามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้เรื่อย ๆ ในเวลาเพียง 3 วันสามารถสร้างเซลล์ได้ถึง 500,000 เซลล์ ถ้ามีน้ำย่อยในกระเพาะมากเกินไป ก็อาจจะเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้

กระเพาะอาหารมีวิธีป้องกันตัวเอง โดยมีชั้นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า ชั้นแกสตริกมิวโคซา มาคลุมอยู่ส่วนประกอบในน้ำย่อย มี เปปซิน เป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีนกับกรดเกลือ (HCI) เอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้หลั่งผ่านชั้นมิวโคซาออกมาสู่กระเพาะ เอนไซม์เปปซินไม่ค่อยมีอันตรายนัก แต่กรดเกลือมีพิษสงมาก ถ้าเราไม่มีชั้นมิวโคซากั้นไม่ให้กรดเกลือเข้าไปถึงเซลล์ชั้นในได้แล้วล่ะก็ กระเพาะเราคงจะพังแน่

นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแอละบามา สหรัฐฯ พบว่า บนชั้นมิวโคซานั้นยังมีชั้นของคาร์โบไฮเดรตมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง แต่ยังไม่รู้ว่าชั้นนี้ป้องกันกระเพาะได้อย่างไร นอกจากนั้นยังมี พรอสตาแกลนดินส์ (prostaglandins) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีในเซลล์มนุษย์ทั่วไป เขาพบว่าระดับของพรอสแกลนดินส์จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระดับของคาร์โบไฮเดรตที่จะไปทำให้กรดลดความรุนแรงลงคำตอบท้ายสุดที่อาจเป็นไปได้ก็คือ ผนังของชั้นมิวโคซานั้นประกอบด้วยไขมันซึ่งไอออนของไฮโดรเจน และไอออนของคลอไรด์ไม่สามารถผ่านชั้นไขมันนี้ได้ แต่เขาพบว่าสารพวกน้ำส้มสายชู แอสไพริน น้ำส้มคั้น สารละลายสิ่งสกปรก (ที่มีอยู่ในยาสีฟันและผงซักฟอก) และสารอื่น ๆ จะไม่ถูกไอออไนซ์และสามารถซึมผ่านผนังเซลล์ของกระเพาะเข้าไปได้ ดังนั้น จึงไม่ควรดื่มน้ำส้มคั้นหรือกินยาแอสไพรินขณะที่ท้องว่างและควรกินอาหารให้ตรงเวลา อย่างปล่อยให้ท้องว่างนาน ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของกระเพาะเราเอง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

ภาพประกอบจาก www.photos.com


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook