เลือกคณะวิชาอย่างไรดี (ต่อ)

เลือกคณะวิชาอย่างไรดี (ต่อ)

เลือกคณะวิชาอย่างไรดี (ต่อ)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความต้องการ ความถนัดเฉพาะทางและเก่งแบบไหน ควรเลือกสาขาวิชาหรือคณะใดจึงจะเหมาะกับตัวเอง และเรียนไปแล้วได้ใช้ประโยชน์จริง ไม่ใช่เรียนอย่าง ไปทำงานอีกแบบ?? หรือคำถามที่ว่า? ชีวิตจะประสบความสำเร็จได้ต้องเรียนอะไรจึงจะเหมาะกับตัวเอง...และอีกหลากหลายคำถาม

 

อะไรคือคำตอบที่ควรจะเป็น??? และถูกต้อง คำถามและคำตอบทำนองที่ว่านี้ดูเหมือนว่าจะหาสูตรสำเร็จยากเย็นแสนเค็ญ และไม่ว่าจะเป็นครูแนะแนวประเภทไหน รวมไปถึงปรมาจารย์ในการทำนายอนาคตก็คงไม่อยากจะฟันธงตอบสักเท่าใดนัก เพราะหากจะอธิบายโดยข้อเท็จจริงแล้ว ก็คงไม่มีใครบอกได้ว่า เมื่อเรียนอย่างงี้แล้วจะประสบความสำเร็จในชีวิตแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดากลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ยกเว้นกลุ่มสาขาวิชาหรือคณะทางวิทยาศาสตร์ จำพวกวิศวศาสตร์ แพทยศาสตร์ สัตวศาสตร์ เท่านั้น หรือใกล้ๆ กันหน่อยก็อาจเป็นพวกทัศนศิลป์ หรือศิลปะ เป็นต้น ด้วยกลุ่มวิชาประเภทนี้ เป็นสาขาวิชาที่เป็นความเชี่ยวชาญหรือความสามารถเฉพาะบุคคลมากกว่า อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ วิชาพวกนี้ไม่ใช่จะนึกอยากเรียนก็เรียนได้เลย แต่โดยทั่วหลักแล้วต้องเป็นลักษณะส่วนบุคคลที่อาศัยทั้งพรสวรรค์ส่วนบุคคล และรวมไปถึงความสามารถอันเกิดจากการฝึกฝนมาอย่างยาวนาน ไม่สามารถเรียนรู้หรือพัฒนากันได้ในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน

ในกลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ หรือศิลปะ ถือเป็นกรณีตัวอย่างสามารถชี้ให้เห็นความแตกต่างในกลุ่มผู้เรียนอย่างชัดเจน ด้วยสาขาวิชาดังกล่าว มักมาจากพื้นฐานหรือทักษะเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ กระบวนการสร้างคนในกลุ่มนี้มีความแตกต่างในสาขาวิชาอื่นๆ ค่อนข้างมาก และเด็กที่เรียนในกลุ่มวิชานี้ก็มักมีพรสวรรค์เฉพาะบุคคลเป็นพื้นฐาน ในขณะที่พรแสวงหรือความสามารถอันเกิดจากการฝึกฝนมักเป็นเพียงองค์ประกอบที่เกิดขึ้นในภายหลังเท่านั้น ซึ่งในกระบวนการคัดเลือกนักศึกษาฯ ในอดีตนั้น กระบวนการสอบวิชาพื้นฐานจึงกำหนดให้สอบได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น โดยมาจากหลักการที่ว่า กระบวนการเรียนรู้หรือฝึกฝนในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่สามารถช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำคัญการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้

แต่กระนั้นก็อาจมีหลายคนโต้แย้งว่า ไม่ใช่ความเป็นจริงเสมอไป ด้วยเด็กบางคนอาจพัฒนาความรู้ความสามารถได้ในเวลาอันสั้น จนกระทั่งสามารถผ่านการคัดเลือกได้ ซึ่งก็อาจเป็นข้อถกเถียงที่อาจถูกต้องแต่ก็อาจเกิดขึ้นเฉพาะบางคนเท่านั้น แต่โดยทั่วไปการพัฒนทักษะขั้นพื้นฐานจนถึงกับอยู่ในระดับที่สามามารถเข้าเรียนได้ในชั่วระยะเวลาอันสั้นถือว่ามีน้อยมากจนแถบไม่เกิดประโยชน์หากจะเปิดสอบในระดับ 2 ครั้งต่อปี

ในขณะเดียวกันกับ บรรดากลุ่มที่ต้องการจะสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาในสาขาวิชาจำเป็นแพทยศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ ประเด็นทักษะพื้นฐานของผู้เรียนก็นับว่ามีความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลทีว่า ความถนัดและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีความสำคัญต่อการเรียนเป็นอันมาก ความสนใจหรือยากเรียนถือเป็นเพียงองค์ประกอบรองเท่านั้น โดยที่การเรียนในสาขาวิชาดังกล่าวผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานหรือทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ดี หากมีทักษะพื้นฐานไม่ดีพอมักส่งผลต่อการเรียนและส่วนมากก็มักจำเป็นย้ายสาขาวิชาหรือไม่ก็มักถูกรีไทร์ไปในที่สุด

ความแตกต่างในแต่ละกลุ่มสาขาหรือคณะวิชา จำเป็นอย่างมากที่ผู้ที่สนใจหรืออยากเรียนต้องรู้หรือหาข้อมูลว่า ในแต่ละสาขาวิชานั้น มีเนื้อหาวิชาและรายละเอียด รวมถึงระบบการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง??? เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ และเรียนแล้วจะนำไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง??? โดยคำตอบที่ได้อาจทำให้หลายคนเข้าใจสาขาวิชามากขึ้น และนำไปสู่การเรียนในสาขาวิชาที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนสาขาวิชาที่ตนเองสนใจและมีความต้องการที่จะนำไปใช้เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต

การเรียนที่ตรงตามความถนัดในสาขาวิชาย่อมนำมาซึ่งการประกอบอาชีพภายหลังสำเร็จการศึกษา นับว่าสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเปิดการเรียนการสอนของกลุ่มสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษารวมไปถึงสังคมได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนดังกล่าว และเหมาะสมกับงบประมาณที่รัฐจำเป็นต้องให้การสนับสนุน เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและเอกชน อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเรียนไม่ตรงกับความต้องการทั้งของผู้เรียนและตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาอย่างที่ทราบกันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นในการตัดสินเรียนสาขาวิชาหรือหลักสูตรใดจึงควรยึดเป้าหมายในอนาคตเป็นสำคัญ โดยไม่ควรให้ความสำคัญกับกระแสหรือความนิยมของสังคมมากนัก

นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่ควรนำมาเป็นพิจารณาเป็นอย่างมากในการศึกษาต่อในปัจจุบันก็คือ ระบบการศึกษาในยุคสมัยใหม่เปิดกว้างมากและไม่จำกัดเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น หากแต่ยังมีสถานศึกษาในต่างประเทศที่เปิดการเรียนการสอนรองรับนักศึกษาเป็นจำนวนมาก และในหลายประเทศค่าใช้จ่ายในการศึกษาก็มิได้มีความแตกต่างกับการศึกษาในประเทศมากนัก โดยที่ความสำคัญของการศึกษาในต่างประเทศมีข้อดีและได้เปรียบหลายประการที่น่าสนใจกว่าการศึกษาในประเทศ อาทิ การได้เรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ รวมไปถึงการมีเพื่อนนานาชาติที่จะช่วยเปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีภายใต้โลกยุคโลกาภิวัตน์

จากที่กล่าวข้างต้น การศึกษาในสถานศึกษาต่างประเทศยังอาจเป็นช่องทางหนึ่งในการหาแหล่งทุนการศึกษาในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะทักษะภาษาต่างประเทศนับเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสมัครขอทุนการศึกษา ซึ่งปัจจุบันแหล่งทุนการศึกษาดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก เรียกว่าใครสนใจไปเรียนประเทศใดก็มีแหล่งทุนของแต่ละประเทศรองรับ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยว่าจะพิจารณารับเข้าเรียนหรือไม่เท่านั้น

ทางเลือกในการศึกษาต่อที่เปิดกว้างดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นคำตอบในการตัดสินใจเลือกอนาคตของตนเองที่สำคัญ และนับว่าเป็นสิ่งท้าทายเป็นอย่างยิ่ง โดยผู้ที่มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองและอยากแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ อาจนำมาแนวทางในการตัดสินใจได้ มิใช่จำกัดอยู่เฉพาะการเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาภายในประเทศเท่านั้น

 

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : ณัฐพงศ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook