จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Chulalongkorn University (CU)

ก่อตั้ง: พ.ศ. 2459
ต้นไม่ประจำสถาบัน: ต้นจามจุรี
สีประจำสถาบัน: สีชมพู
จำนวนคณะ: 18 คณะ 4 วิทยาลัย 1 สถาบัน และ 1 สำนักวิชา
จำนวนนักศึกษา: ประมาณ 35,579 คน
อัตราค่าเล่าเรียน: เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 14,500 และ 18,000 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์: 254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
โทร 02-215-0871-3
เว็บไซต์: www.chula.ac.th


"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย"

ประวัติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442 ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" ในปี 2445 จนกระทั่งปี 2453 ในรัชกาลพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนมหาดเล็กได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษา ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนข้าราชการพลเรือน" ของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนจะได้รับการสถาปนาอีกครั้งในปี 2459 เป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
คำว่า "จุฬาลงกรณ์" หมายถึง เครื่องประดับศีรษะหรือจุลมงกุฎ ซึ่งจุลมงกุฎนี้ยังมีความเกี่ยวโยงถึงพระนามาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความเกี่ยวพันถึงพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความหมายว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงชื่อ "เพลงมหาจุฬาลงกรณ์"
เขตมหาวิทยาลัยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ จุฬาฯ ใหญ่ ฝั่งหอประชุมด้านที่มีทางออกถนนอังรีดูนังต์ ไปถึงฝั่งตรงกันข้ามโรงเรียนเตรียมอุดม ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลจุฬาฯ และเป็นที่ตั้งของคณะแพทย์ศาสตร์และพยาบาล และจุฬาฯ ฝั่งศูนย์กีฬา หรือที่รู้จักกันว่าฝั่งนิเทศ หรือฝั่งสาธิตจุฬาฯ โดยมีถนนพญาไทขั้นกลางและมีอุโมงค์ใต้ดินเชื่อมระหว่างคณะวิทย์และนิเทศ และมีสะพานลอยให้นักศึกษาข้ามไปมาอย่างสะดวกสบาย

สัญลักษณ์
"พระเกี้ยว" เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า "เกี้ยว" ถ้าเป็นคำนามแปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่า ผูกรัดหรือพัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระเกี้ยวเป็นพิจิตรเลขา (สัญลักษณ์) ประจำราชกาลของพระองค์ เมื่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือนหรือโรงเรียนมหาดเล็ก จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียนมหาดเล็ก รวมถึงเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน และเมื่อโรงเรียนมหาดเล็ดได้วิวัฒน์ขึ้นมาจนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริการก็ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนข้อความใต้พระเกี้ยวตามชื่อซึ่งได้รับพระราชทานใหม่ตลอดมา

"สีชมพู" เป็นสีประจำพระองค์ของราชกาลที่ 5 ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร ทางมหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรให้อัญเชิญสีประจำพระองค์นี้ เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อนเป็นเกียรติและสิริมงคล

"ต้นจามจุรี" มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย ด้วยวัฏจักรของจามจุรีมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ มีสีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในช่วงภาคต้นของการศึกษา เปรียบเสมือนนิสิตปี 1 ที่ร่าเริงสดใส เมื่อเวลาผ่านไปยังภาคปลายของการศึกษา ใบและฝักจะย้ำเตือนให้นิสิตเตรียมตัวสอบปลายปี และในวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุกๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็กๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้กับนิสิตใหม่ เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู

มีอะไรเรียนบ้าง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนทั้งสิ้น 19 คณะ 3 วิทยาลัย 1 สถาบัน และ 1 สำนักวิชา แต่ที่มีหลักสูตรปริญญาตรีนั้น ได้แก่

1. คณะครุศาสตร์
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษาปฐมวัย
ดนตรีศึกษา
ธุรกิจศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษา
ศิลปศึกษา

2. คณะจิตวิทยา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
จิตวิทยา

3. คณะทันตแพทยศาสตร์
หลักสูตรทันตแพทย์ศาสตรบัณฑิต
ทันตแพทย์ศาสตร์

4. คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

5. คณะนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
การกระจายเสียง
การประชาสัมพันธ์
การภาพยนตร์และภาพนิ่ง
การโฆษณา
วาทวิทยา
วารสารสนเทศ
สื่อสารการแสดง
การจัดการสื่อสาร

6. คณะพยาบาลศาสตร์
(ไม่มีหลักสูตรปริญญาตรี)

7. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
หลักสูตรบริการธุรกิจบัณฑิต
การจัดการ
การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
การตลาด
การธนาคารและการเงิน
การบัญชี
ระบบสารสนเทศทางการจัดการ
การจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
การบัญชี
หลักสูตรสถิติศาสตรบัณฑิต
ประกันภัย
สถิติคณิตศาสตร์
สถิติประยุกต์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ

8. คณะแพทยศาสตร์
หลักสูตรแพทย์ศาสตรบัณฑิต
แพทยศาสตร์

9. คณะเภสัชศาสตร์
หลักสูตรเภสัชบริบาลศาสตรบัณฑิต
เภสัชบริบาลศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
เภสัชศาสตร์

10. คณะรัฐศาสตร์
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
การปกครอง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รัฐประศาสนศาสตร์
สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

11. คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
คณิตศาสตร์
จุลชีววิทยา
ชีววิทยา
ชีวเคมี
ธรณีวิทยา
พฤกษาศาสตร์
พันธุศาสตร์
ฟิสิกส์
วัสดุศาสตร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
วิทยาศาสตร์ทางทะเล
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
สัตววิทยา
เคมี
เคมีประยุกต์
เคมีวิศวกรรม
เทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์
เทคโนโลยีทางอาหาร

12. คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- การพัฒนาซอฟท์แวร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
วิศวกรรมปิโตรเลียม
วิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมเรือ
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์
วิศวกรรมนาโน
วิศวกรรมอากาศยาน
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร

13. คณะศิลปกรรมศาสตร์
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ดุริยางคศิลป์
ทัศนศิลป์
นฤมิตศิลป์
นาฏยศิลป์

14. คณะเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
เศรษฐศาสตร์การเงิน
เศรษฐศาสตร์การเกษตรและธุรกิจการเกษตร
เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี
เศรษฐศาสตร์ปริมาณวิเคราะห์
เศรษฐศาสตร์พัฒนาการ
เศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
เศรษฐศาสตร์สาธารณะ

15. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมบัณฑิต
การออกแบบอุตสาหกรรม
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
ภูมิสถาปัตยกรรม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมภายใน
สถาปัตยกรรมไทย
หลักสูตรการผังเมืองบัณฑิต
สถาปัตยกรรมผังเมือง

16. คณะสหเวชศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
กายภาพบำบัด
เทคนิคการแพทย์
โภชนาการอาหารและการกำหนดอาหาร

17. คณะสัตวแพทย์
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต
สัตวแพทยศาสตร์

18. คณะอักษรศาสตร์
หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต
ประวัติศาสตร์
ปรัชญา
ภาษาจีน
ภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาสเปน
ภาษาอังกฤษ
ภาษาอิตาเลียน
ภาษาเยอรมัน
ภูมิศาสตร์
ศิลปะการละคร
สารนิเทศศึกษา
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาไทย
International Programme
ภาษาและวัฒนธรรม

19. บัณฑิตวิทยาลัย

20. วิทยาลัยการสาธารณะสุข
(ไม่มีหลักสูตรปริญญาตรี)

21. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
(ไม่มีหลักสูตรปริญญาตรี)

22. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
(ไม่มีหลักสูตรปริญญาตรี)

23. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ
(ไม่มีหลักสูตรปริญญาตรี)

24. สำนักวิชาวิทยาศาสตรการกีฬา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- วิทยาศาสตร์การกีฬา

ค่าใช้จ่าย
สำหรับนักศึกษาชาวไทย ทางจุฬาฯ จะคิดค่าเทอมในอัตราเหมาจ่าย โดยกลุ่มสายวิทย์อันได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ สหเสชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ภาคการศึกษาละ 18,000 บาท และกลุ่มสายศิลป์อันได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ ครุศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี นิติศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ เหมาจ่ายภาคละ 14,500 บาท ไม่รวมค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่นๆ ในส่วนภาคฤดูร้อนของทั้งสองกลุ่มจะอยู่ที่ภาคละประมาณ 4,500 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
- สถาบันวิทยบริการ ตั้งอยู่ที่อาคารมหาธีรราขานุสรณ์ มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการของจุฬาฯ โดยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัยมาใช้ เช่น การนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุด หรือสืบค้นข้อมูลจากเอกสารการพิมพ์ทุกสาขาวิชาในต่างประเทศ จาก CU Reference Databases นอกจากนั้นยังให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ CU Cyber Zone และให้บิการในการเชื่อมโยงและกระจายความรู้โดยผ่านเครือข่ายการเรียนรู้ทางไกลทั่วโลกของธนาคารโลก (GDLN)
- สถาบันภาษาจุฬาฯ ที่อาคารเปรมบุรฉัตร ให้บริการสอน การฝึกอบรม การทดสอบ และการวิจัยเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ รวมไปถึงการเผยแพร่ข่าวสารด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
- ห้องสมุด ให้นักศึกษาได้ยืม ค้นหา หนังสือ เอกสาร วัสดุทางการศึกษา ยืมครั้งละไม่เกิน 7 เล่มในระยะเวลา 14 วัน และในบางคณะจะมีห้องสมุดของคณะด้วย เช่น ห้องสมุดนิเทศศาสตร์ และห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์
- สำนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ ให้บริการนักศึกษาในด้านการเรียนการสอน การวิจัย ให้บริการ CUNET โดยนิสิตจะได้รับรหัสผ่านในการใช้ free internet นอกจากนี้ยังมีบริการโฮมไดเร็กทอรี่ บริการ web mail การลงทะเบียนผ่านอินเทอร์เน็ต บริการห้องสมุดดิจิทอล ค้นหาสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุดจุฬาฯ
- ศูนย์ทดสอบทางวิชาการ เปิดให้บุคคลทั่วไปและนิสิตทำการวัดผลความสามารถในแต่ละสาขาวิชาต่างๆ ของตนได้ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
- ศูนย์หนังสือจุฬาฯ นอกจากจะให้บริการแก่นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแล้ว ตอนนี้ยังกลายเป็นร้านหนึ่งในดวงใจของคนไทยทั้งประเทศเพราะเป็นศุนย์รวมหนังสือมากมาย โดยเฉพาะหนังสือวิชาการที่หายาก มีหลานสาขา ได้แก่ สาขาศาลาพระเกี้ยว สาขาสยามสแควร์ และสาขา ม.นเรศวร นอกจากนี้ยังมีร้านหนังสือออนไลน์ ซึ่งถือเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เปิดให้บริการตลอด 24 ชม. ดูรายละเอียดที่ www.chulabook.com
- ร้านสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำหน่ายเครื่องเขียน เครื่องแบบนิสิต สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ
- ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสนามกีฬาในร่ม สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และร้าน CU Sports Shop ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายเสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา พร้อมสินค้าที่ระลึกตราจุฬาฯ
- ประกันอุบัติเหตุ นักศึกษาทุกคนจะได้รับการจัดทำประกันชีวิตและอุบัติเหตุ ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองหากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
- การลดค่าโดยสารรถไฟ ทางมหาวิทยาลัยมีบริการออกหนังสือขอลดค่าโดยสารรถไฟให้แก่นิสิตที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ยังไม่มีรายได้ และอยู่ในความอุปการะของผู้ปกครอง
- บริการจัดหางานและแนะแนวอาชีพสำหรับนิสิตและบัณฑิตเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่โลกแห่งอาชีพ
- โครงการจ้างนิสิตทำงานพิเศษ เพื่อช่วยเหลือนิสิตระดับปริญญาตรีที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และนิสิตที่ต้องการหาประสบการณ์ในการทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้นิสิตมีทัศนคติที่ดีในการพึ่งพาตนเอง
- บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาและจิตแพทย์แก่นิสิตที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ โดยเปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ
- หอพักนักศึกษา เพื่อให้นิสิตได้มีที่พักซึ่งมีบรรยากาศเอื้อต่อการศึกษา รวมทั้งให้นิสิตได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การมีน้ำใจและความสามัคคี และสามารถรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม จุฬาฯ จึงได้จัดหอพักให้กับนิสิตชายและหญิงดังนี้
- หอพักนิสิตชาย มี 2 หลัง พักได้ 1,280 คน ได้แก่ อาคารหอพักนิสิตชาย 14 ชั้น (ตึกจำปี) และอาคารหอพักนิสิตชาย 5 ชั้น (ตึกจำปา) ทั้งสองแห่งพักได้ห้องละ 4 คน และเสียค่าใช่จ่าย 4,000 บาทต่อคนต่อภาคการศึกษาปกติ ส่วนภาคฤดูร้อนคิดครึ่งราคา
- หอพักนิสิตหญิง มี 3 หลัง พักได้ 1,625 คน ได้แก่ อาคารหอพักนิสิตหญิง 14 ชั้น (ตึกพุดตาน) อาคารหอพักนิสิตหญิง 3 ชั้น (ตึกชวนชม) ทั้งสองอาคารนี้พักได้ห้องละ 3 คน ค่าใช้จ่าย 4,000 บาทต่อคนต่อภาคการศึกษาปกติ และอาคารหอพักหญิง 14 ชั้น (ตึกพุดซ้อน) ซึ่งพักได้ห้องละ 4 คน ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5,000 บาทต่อคนต่อภาคการศึกษาปกติ ส่วนภาคฤดูร้อนคิดครึ่งราคา
- อาคารหอพักนานาชาติศึกษิตนิเวศน์ ตั้งอยู่ที่ จุฬาฯ ซอย 6 ตรงข้ามสนามศุภชลาศัย รับนิสิตโครงการแลกเปลี่ยนชาวต่างชาติและนิสิตหญิงระดับบัณฑิตศึกษา พักได้เกือบ 200 คน
- หอพักพวงชมพู (U-Center) ตั้งอยู่บริเวณจุฬาฯ ซอย 42 เป็นหอพักในกำกับของมหาวิทยาลัย แต่บริหารจัดการโดยเอกชน นิสิตสามารถพักได้ประมาณ 720 คน

ทุนการศึกษา
มหาวิทยาลัยมีทุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่ขาดแคลนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ทุนประเภท ก ช่วยเหลือค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายรายเดือน วงเงินไม่เกิน 48,000 บาทต่อปี ทุนประเภท ข (1) ช่วยเหลือค่าเล่าเรียน วงเงินไม่เกิน 48,000 บาทต่อปี ทุนประเภท ข (2) ช่วยเหบือค่าใช้จ่ายรายเดือน วงเงินไม่เกิน 48,000 บาทต่อปี และทุนประเภท ค ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายบางส่วน วงเงินทุนไม่เกินทุนละ 10,000 บาท นอกจากนี้ก็ยังมีทุนคณะต่างๆ เงินกู้ยืมชั่วคราว ซึ่งนักศึกษาสามารถกูได้ครั้งละไม่เกิน 4,000 บาท และทุนกู้ยืมรัฐบาล วงเงินไม่เกิน 78,000 บาทต่อปี

ชีวิตนักศึกษา
ท่ามกลางบรรยากาศสวยงามของตึกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยความขลังของความเก่าแก่ ถึงแม้ว่านิสิตส่วนมากใช้รถส่วนตัวในการมาเรียน แต่เนื่องจากที่จอดรถมีน้อย บางคนก็เลือกที่จะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งปัจจุบันมีให้บริการอย่างสะดวกสบาย กล่าวคือ ที่บริเวณคณะบัญชีจะมีประตูออกไปยังรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือไม่ก็ขึ้นรถไมโครบัสของจุฬาฯ รับส่งนิสิตนักศึกษาที่เดินทางโดยรถไฟฟ้า ใกล้ๆ บริเวณที่นักศึกษาอาจต้องมาต่อรถกลับบ้านก็มีศูนย์การค้ามากมาย อาทิ มาบุญครอง สยามสแควร์ และตลาดสามย่าน

นักศึกษาจุฬาฯ จะเรียนรวมกันและอยู่เป็นหมู่คณะ มีกิจกรรมมากมายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมเด่นๆ ได้แก่ พิธีไหว้ครู งานกีฬามหาวิทยาลัย วันลอยกระทง และพิธีต้อนรับน้องใหม่ ซึ่งเป็นพิธีการที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะนิสิตใหม่จะได้กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า โดยมหาวิทยาลัยได้ฟื้นฟูประเพณีของโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นมาปฏิบัติอย่างเป็นทางการ เพื่อให้นิสิตใหม่ประทับใจต่อการต้อนรับที่อบอุ่นของอาจารย์และรุ่นพี่
นอกจากนั้นก็ยังมี งาน "จุฬาฯ วิชาการ" เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกก 3 ปี โดยจัดมาตั้งแต่ปี 2515 เพื่อแสดงผลงานทางวิชาการของนิสิตทุกคณะ และงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จัดขึ้นทุกปีเพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างนิสิตทั้ง 2 สถาบัน โดยเริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจามจุรีคือ พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 และที่ 6 ซึ่งนิสิตนิยมสักการะเป็นประจำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook