ประเทศญี่ปุ่นให้สิ่งที่มีค่า มากกว่าความรู้

ประเทศญี่ปุ่นให้สิ่งที่มีค่า มากกว่าความรู้

ประเทศญี่ปุ่นให้สิ่งที่มีค่า มากกว่าความรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่มา " เรียนรอบโลก " ผู้เขียน : edu / watta1999@hotmail.com สำหรับคอลัมน์ ?Alumni? ฉบับนี้เราจะพาท่านไปพบกับความรักและความประทับใจที่มีมากมายในแดนปลาดิบ กับ ผศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นักเรียนทุนรัฐบาลในการเดินทางไกลใช้ชีวิตนานนับ 10 ปีที่ประเทศญี่ปุ่น

เรียนต่อ, ญี่ปุ่น, อนรรฆ ขันธะชวนะ, ประเทศญี่ปุ่น, แดนปลาดิบ, นักเรียนทุน

ผมเริ่มสอบชิงทุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ตอนอยู่ชั้น ม.5 และเนื่องจากคะแนนฉิวเฉียดกับรุ่นพี่โรงเรียนเดียวกัน ผมจึงสอบได้อันดับที่สอง ขณะนั้นผมเลือกประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่น่ากลัวในเรื่องของภาษามากที่สุด เป็นที่รู้กันว่าประเทศญี่ปุ่นจะไม่เรียนหรือพูดภาษาอังกฤษเลย นอกจากภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ส่งผลให้ผมต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ 1 ปีเต็ม ๆ จึงเริ่มเข้าสอบเอ็นทรานซ์โดยมีข้อจำกัดว่านักเรียนต่างชาติต้องสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นให้ได้ ?อิคคิว? หรือ level 1 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดขึ้นถึงจะสามารถเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรัฐบาลได้ และสุดท้ายผมก็ทำได้ ผมได้เรียนที่ University of Tsukuba ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของโตเกียว มีลักษณะพิเศษคือ เป็นเมืองวิทยาศาสตร์ แหล่งร่วมสถาบันวิจัยและแหล่งรวมสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งผมเลือกเรียนในสาขา Materials and Metallurgical Engineering (MME) : วิศวกรรมวัสดุและโลหการ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเรียนทั้งสิ้น 4 ปี เรียนต่อ, ญี่ปุ่น, อนรรฆ ขันธะชวนะ, ประเทศญี่ปุ่น, แดนปลาดิบ, นักเรียนทุนการเรียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างไร้บาง 3 ปีแรกกับการเรียนในประเทศญี่ปุ่น เหมือนประเทศไทยทุกอย่างคือเรียนวิชาพื้นฐานทั่ว ๆ ไป และเริ่มเลือกสาขาวิชาในตอนปี 3 เมื่อขึ้นปี 4 การทำงานวิจัยเริ่มมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เจอเรื่องที่น่าสนใจ คือ ระบบ ?Smart Materials? หรือ ?วัสดุฉลาด? สามารถแสดงความฉลาดในการทำงานได้หลากหลายแบบ โลหะจำรูป หรือ ?Shape Memory Alloys? ที่บางคนรู้จักก็เป็นวัสดุฉลาดชนิดหนึ่ง เป็นโลหะที่สามารถจำรูปร่างตัวเองได้ และสามารถกลับคืนรูปร่างได้ด้วยความร้อน แต่คนไทยไม่รู้จักจึงสนใจและทำวิจัยเรื่องนี้ตอนอยู่ปี 4 ด้วยความสนใจที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับชื่นชอบและรักมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างจริงใจ จึงเลือกเรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยเดิม งานวิจัยที่ทำส่วนใหญ่เป็นเรื่องของวัสดุฉลาด การผลิต การประเมินผลของวัสดุ รวมทั้งการดีไซน์วัสดุในการทำแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ลักษณะเด่นของประเทศที่ไปเรียนเป็นอย่างไร เอกลักษณ์สำคัญในการเรียนด้านเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นคือ เน้นการทำวิจัยและลงมือทำเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างกับหลายประเทศที่เน้นทฤษฎีและการคำนวณ ถือว่าเป็นโอกาสดีที่ได้มาเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความไฮเทคและเต็มไปด้วยเทคโนโลยี การทำวิจัยสร้างให้เราเป็นนักเทคโนโลยี มีความชำนาญในการลงมือทำงานวิจัย เนื่องจากวิธีการทำงานวิจัยของญี่ปุ่นคือ การนำข้อมูลหรืองานวิจัยของนักศึกษาออกเผยแพร่ในระดับนานาชาติประมาณปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับผู้ที่สนใจกลับมาเป็นอาจารย์ เราจะได้ประสบการณ์การทำวิจัย การเรียนรู้ การทำข้อมูลวิชาการ และการนำเสนอเป็นอย่างดี เรียนต่อ, ญี่ปุ่น, อนรรฆ ขันธะชวนะ, ประเทศญี่ปุ่น, แดนปลาดิบ, นักเรียนทุนประสบการณ์ที่ยากจะลืม นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีเมื่อ University of Tsukuba เปิดโอกาสให้เราได้บรรจุเข้าเป็นอาจารย์ข้าราชการประจำมหาวิทยาลัย ผมจึงถือโอกาสนี้รับราชการเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่ญี่ปุ่น 1 ปี อันที่จริงแล้วสามารถเป็นอาจารย์ได้มากกว่านี้ แต่ติดเรื่องการใช้ทุนของประเทศไทย จึงขอเวลาหาประสบการณ์ที่ University of Tsukuba ได้เพียง 1 ปีเท่านั้น 1 ปีที่ผ่านมาทำให้ผมได้เรียนรู้ถึงระบบการทำงานของระบบมหาวิทยาลัยมากมาย และได้ข้อคิดที่ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนด้านงานวิจัยสูง ซึ่งปัจจัยหลักที่จะทำให้งานวิจัยเดินหน้าคือเงินลงทุน จึงไม่แปลกถ้างานวิจัยของประเทศญี่ปุ่นจะไปไกลกว่าหลาย ๆ ประเทศ สิ่งที่ได้นำมาปรับใช้ในเมืองไทย ด้วยประสบการณ์ที่ได้ ผมสามารถนำมาปรับใช้ได้มากมาย รวมทั้งการสร้างงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุฉลาดให้เกิดขึ้นในเมืองไทย และพยายามผลักดันให้ทุกคนสนใจการสอนหนังสือ สอนวิชาเลือก เปิดห้องแล็บให้น้อง ๆ มัธยมเข้ามาใช้บริการ เดินสายอบรมให้กับโรงเรียนมัธยมปลายและตามมหาลัยวิทยาลัยต่าง ๆ ขณะนี้งานวิจัยเริ่มกระจายออกไปสู่คนทั่วไปมากขึ้น และสิ่งที่กำลังเห็นเป็นรูปธรรมในขณะนี้คือลวดดัดฟัน ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำจากวัสดุฉลาดหรือโลหะจำรูป ซึ่งจะช่วยล้นระยะเวลาการจัดฟันให้เร็วขึ้นโดยคนไข้ไม่เจ็บมากนัก ซึ่งขณะนี้เริ่มนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยแล้ว และเป้าหมายหลักคือเราต้องการจะผลิตเองในประเทศไทย เรียนต่อ, ญี่ปุ่น, อนรรฆ ขันธะชวนะ, ประเทศญี่ปุ่น, แดนปลาดิบ, นักเรียนทุนประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่เหมือนกันมาก สังเกตได้จากคนญี่ปุ่นประทับใจคนไทยมาก เนื่องจากคนไทยสอนให้มีความเคารพผู้ใหญ่ นอบน้อม มีความเกรงใจเหมือนกับคนญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นชื่นชอบคนไทยเป็นพิเศษ และทำให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น เกือบทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น และด้วยความชำนาญประกอบกับประสบการณ์ที่มีมากมาย ส่งผลให้ผมได้ช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกไปขายแรงงานในประเทศญี่ปุ่นกลับสู่ประเทศได้แล้วกว่า 300 คน ทำให้มีโอกาสได้เห็นมุมมองที่หลากหลายจากสังคมมากยิ่งขึ้น ขณะนี้ทุนรัฐบาลไทยที่ส่งไปเรียนประเทศญี่ปุ่นมีมากมายหลายสาขาวิชา และสาขาที่น่าสนใจกำลังไปได้ไกลในอนาคตคือ ?สาขานาโนเทคโนโลยี? เพราะแน่นอนว่าคนที่ค้นพบนาโนคนแรกคือคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเก่งในเรื่องนี้มาก นอกจากนี้ยังมี สาขาวัสดุศาสตร์ (Materials Science) และสาขาปฐพีวิทยา (Earth Science) เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่มีภัยธรรมชาติมากมาย ทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีสาขานี้เกิดขึ้น ด้าน BioMedical ด้านการศึกษา ด้าน Architecture ประเทศญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญในการสร้างอาคารในพื้นที่ที่จำกัด และด้าน Product Design ซึ่งคนญี่ปุ่นเก่งมาก ขณะนี้ประเทศไทยกำลังส่งคนไปเรียนด้านออกแบบค่อนข้างเยอะเพื่อกลับมาพัฒนาประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพต่อไป ผมได้ประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่ามากกว่าวิชาการหลายเท่า วิชาการอยู่ที่ไหนเราค้นคว้าหาได้ แต่ประสบการณ์ชีวิตไม่สามารถค้นคว้าหาได้ในทุกที่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook