อย่าเข้าใจผิด! เหตุทะเลาะวิวาทไม่ได้ปรับแค่ 500 บาท

อย่าเข้าใจผิด! เหตุทะเลาะวิวาทไม่ได้ปรับแค่ 500 บาท

อย่าเข้าใจผิด! เหตุทะเลาะวิวาทไม่ได้ปรับแค่ 500 บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเข้าใจผิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเหตุทะเลาะวิวาท ว่ามีค่าปรับแค่ 500 บาท เลยทำให้หลายคนหัวร้อนได้เร็วนั้น แท้จริงแล้วเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะตามข้อมูลของกระทรวงยุติธรรมนั้น เหตุทะเลาะวิวาท ใช้กำลังทำร้ายกัน มีอัตราโทษทั้งจำและปรับสูงกว่าที่เข้าใจผิดกัน

ดังนั้น หากคิดจะหัวร้อนง่าย จุดเดือดต่ำ เพราะคิดว่าเป็นคดีความโดนปรับเล็ก ๆ น้อย ๆ ขอให้อ่านเนื้อหาในบรรทัดต่อจากนี้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรม เผยว่าหากบุคคลเกิดเหตุการณ์ไม่พอใจกัน แล้วคิดว่าการทะเลาะและใช้กำลังทำร้ายกัน จะต้องจ่ายค่าปรับแค่ 500 บาทแล้วจะทำให้เรื่องจบนั้น ปัจจุบันอัตราโทษของการใช้กำลังมากกว่าสติ “สูงกว่าที่คิด” หากพลาดทำผิดไป มีกฎหมายรออยู่ ดังนี้

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  • มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (อัตราโทษแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558)
  • ที่สำคัญ หาก “ถ่ายคลิปวิดีโอและนำไปเผยแพร่ (Facebook live)” หรือเผยแพร่ลงที่ใดก็ตาม “จะมีโทษเพิ่มด้วย” เนื่องจากเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว คงต้องรู้จักระงับอารมณ์กันบ้าง และเรื่องใดที่ไม่ควรจะเป็นเรื่องถึงขนาดลงมือทำร้ายกัน ควรจะหาคนกลางเจรจา เพื่อให้เกิดข้อตกลงที่เห็นพ้องต้องกันทั้งสองฝ่าย และพยายามจำให้ขึ้นใจว่า เวลามีคดีความนั้น ไม่ใช่แค่โทษปรับ แต่หมายความว่า คุณจะถูกบันทึกประวัติ และนั่นหมายความว่า คุณจะมีรอยด่างพร้อยในประวัติของตนเอง หากเกิดมีการเช็กประวัติทั้งจากที่ทำงาน หรือแม้แต่การขอเอกสารทางการในต่างประเทศ โอกาสที่คุณจะถูกปฏิเสธ ก็มีไม้น้อยเลยทีเดียว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook