สมศ. รายงานการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ชี้ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ใช้ยกคุณภาพผู้เรียน

สมศ. รายงานการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ชี้ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ใช้ยกคุณภาพผู้เรียน

สมศ. รายงานการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ชี้ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ใช้ยกคุณภาพผู้เรียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วานนี้ (24 ส.ค. 2565) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รายงานความคืบหน้าผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ระหว่างเดือนตุลาคมปี 2564 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2565 มีสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกระยะที่ 1 ไปแล้วกว่า 19,500 แห่ง พร้อมเผย 5 ปัจจัยที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ

ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สมศ. ระบุว่า สมศ. ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาปี 2565 ไปแล้วกว่า 19,500 แห่ง และจากการประเมินคุณภาพภายนอกระยะที่ 2 ของสถานศึกษาที่ได้รับรองผลการประเมินแล้วในระดับการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 735 แห่ง แบ่งเป็นศูนย์พัฒนาเด็ก จำนวน 319 แห่ง พบว่าร้อยละ 42 มีผลการประเมินดีมากทั้งสามมาตรฐาน และร้อยละ 3 มีผลการประเมินระดับดีเยี่ยมทั้งสามมาตรฐาน ในส่วนของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 416 แห่ง พบว่าร้อยละ 47 มีผลการประเมินดีมากทั้งสามมาตรฐาน และร้อยละ 42 มีผลการประเมินดีเยี่ยมทั้งสามมาตรฐาน

ดร.นันทา หงวนตัดดร.นันทา หงวนตัด

ผลการประเมินคุณภาพภายนอกข้างต้น ทำให้เห็นว่าสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่างให้ความสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยมากขึ้น โดยพบว่ามี 5 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ ดังนี้ 

  1. สถานศึกษามีการระบุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการจัดกิจกรรม โครงการพัฒนาผู้เรียนทั้งในเรื่องของความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และการดำรงชีวิตในสังคม ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา 
  2. สถานศึกษามีการระบุเป้าหมายเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการ ครอบคลุมถึงการพัฒนาครู ควบคู่ไปกับการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษามากขึ้น
  3. สถานศึกษามีการนำเสนอให้เห็นกระบวนการบริหารตามจุดเน้นและเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการวางแผนการดำเนินงานในแต่ละปีการศึกษา กำหนดเป็นโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนและสถานศึกษา 
  4. สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ​ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงได้ลงมือปฏิบัติจริงมากขึ้น โดยมีครูเป็นผู้แนะแนวทาง 
  5. สถานศึกษามีการกำหนดจุดเน้นในแต่ละมาตรฐานอย่างชัดเจน พร้อมนำเสนอข้อมูลหลักฐานเอกสารอ้างอิง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่มีความน่าเชื่อถือ 

ด้าน ดร.วินัย คำวิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา กล่าวว่า หลังเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกกับ สมศ. ได้นำข้อเสนอแนะเรื่องการระบุเป้าหมายและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้เป็นการเรียน Active Learning มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน ผู้เรียนต้องได้รับการศึกษาเต็มศักยภาพ เรียนรู้ สำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน และกล้าแสดงความคิดสร้างสรรค์ พร้อมลงมือปฏิบัติ จนเกิดทักษะที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพ ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมถุงมือกันความร้อน กล่องข้าวเก็บความร้อน และอิฐสละ ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าให้กับผักตบชวาขยะหลังโรงเรียน 

นอกจากนี้ โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดายังพัฒนาศักยภาพผู้สอน ให้ความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ครูผู้สอนสามารถผลิตสื่อเทคโนโลยี เพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการเตรียมความพร้อมและมาตรการรองรับในสถานการณ์ต่าง ๆ ไว้อย่างเต็มที่ในช่วงโควิด-19 ทั้งในเรื่องของสถานที่ สื่อการเรียนการสอน รวมถึงระบบคัดกรองผู้เรียนและบุคลากร 

ดร.วินัย คำวิเศษดร.วินัย คำวิเศษ

ในช่วงท้าย ดร.นันทา ได้กล่าวว่า สมศ.ยังยึดหลักการประเมินคุณภาพภายนอกโดยไม่สร้างภาระให้กับสถานศึกษาและครูผู้สอน พร้อมเน้นการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษา ควบคู่ไปกับการผลักดันให้สถานศึกษานำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมินคุณภาพภายนอกไปปรับใช้ ผ่านโครงการส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดนได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษา 28 แห่งทั่วประเทศ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมให้คำปรึกษาและแนะแนวทางการดำเนินงาน ในการจัดทำแผนพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด ให้กับสถานศึกษาที่สนใจ ภายใต้แนวคิด ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ สมศ. รายงานการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ชี้ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ใช้ยกคุณภาพผู้เรียน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook