การฟิตร่างกายของนักบินอวกาศ ระหว่างทำงานอยู่นอกโลก

การฟิตร่างกายของนักบินอวกาศ ระหว่างทำงานอยู่นอกโลก

การฟิตร่างกายของนักบินอวกาศ ระหว่างทำงานอยู่นอกโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าใครก็สามารถเป็นนักบินอวกาศกันได้ง่าย ๆ เพราะนอกจากจะต้องมีความสามารถแล้ว พวกเขายังต้องมีร่างกายที่แข็งแรงอย่างยิ่ง เพื่อให้พร้อมทนต่อการเดินทางไปนอกโลก เพื่อปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ

โดยโปรแกรมการฝึกซ้อมของนักบินอวกาศมักเริ่มต้นขึ้นราว 6 เดือนก่อนการเดินทาง ไล่ตั้งแต่การฝึกความคุ้นชินกับจุดหมายปลายทางของพวกเขา เช่น สถานีอวกาศนานาชาติ ดวงจันทร์ หรือดาวอังคารในอนาคตอันใกล้ ตามด้วยการเข้านั่งในยานอวกาศจำลอง เพื่อซ้อมจำลองเหตุการณ์ระหว่างปล่อยยาน อยู่ในอวกาศ ลงจอด หรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

astronautexerxcise002

เนื่องจากร่างกายของนักบินอวกาศหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวอวกาศเองก็ตาม ต่างต้องเผชิญกับแรงที่ค่อนข้างสูง ทั้งในช่วงเดินทางขึ้นและกลับมาจากอวกาศ โดยอาจเจอกับแรงถึง 9G หรือมีน้ำหนัก 9 เท่าของน้ำหนักตัวมากดทับหากต้องลงจอดฉุกเฉินขึ้นมา จึงทำให้พวกเขาต้องฟิตร่างกายให้พร้อมตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง

แม้หน่วยงานอวกาศต่าง ๆ ไม่ได้มีบททดสอบแบบตายตัว แต่นักบินทุกคนต่างได้รับเซตการฝึกที่ถูกปรับแต่งมาให้เข้ากับสภาพร่างกายของตน โดยให้ความสำคัญกับระบบของหัวใจที่ต้องสูบฉีดเลือดและทำงานหนักขึ้นกว่าเดิมในสภาวะไร้น้ำหนัก รวมทั้งในส่วนของกระดูกและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่อาศัยทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้พร้อมกับการใช้ชีวิตที่ยาวนานถึงครึ่งปีบนความสูงอย่างน้อย 400 กิโลเมตรจากพื้นดิน

astronautexerxcise003

ทีนี้เมื่อเดินทางมาถึงอวกาศแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะทำงานเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขายังคงต้องรักษาความฟิตของร่างกายเอาไว้ ด้วยการออกกำลังกายอย่างน้อย 6 จาก 7 วันต่อสัปดาห์ด้วยกัน

การออกกำลังในสภาวะไร้น้ำหนักนั้น แบ่งเป็น 3 อย่างหลัก ๆ ประกอบด้วยการปั่นจักรยานอยู่กับที่ 60 นาที ตามด้วยการวิ่งบนลู่วิ่งอีก 60 นาที และอีกชั่วโมงสุดท้ายจะถูกใช้กับการยกน้ำหนัก ซึ่งมีความน่าสนใจ ทั้งเรื่องประโยชน์ที่ร่างกายของพวกเขาจะได้รับ และการดัดแปลงอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการอยู่นอกโลก

ไมค์ แมสซิมิโน่ อดีตนักบินอวกาศนาซา ผู้เคยเดินทางไปนอกโลกมาแล้วถึงสองครั้ง เปิดเผยว่า "การอยู่ในอวกาศ มันเหมือนกับคุณกำลังนอนอยู่บนเตียง แต่ผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและร่างกายของคุณจะแย่กว่านั้นเสียอีก เพราะบนนี้คุณจะไม่ได้ต่อสู้กับแรงอะไรเลย แต่ในขณะที่เวลาอยู่บนโลก ร่างกายของคุณจะต้องต้านกับแรงโน้มถ่วง แม้จะเป็นตอนที่นั่งหรือนอนอยู่กับที่ก็ตาม"

นักบินอวกาศจึงต้องออกกำลังกายแบบเน้นคาร์ดิโอ โดยใช้เครื่องปั่นจักรยานและลู่วิ่งแบบพิเศษ ที่นอกจากจะต้องอยู่บนระบบกันสั่น เพื่อป้องกันไม่ให้ไปกระทบกระเทือนกับตัวสถานีแล้ว ยังต้องมีสายรั้งร่างกายนักบินอวกาศเอาไว้ ไม่ให้พวกเขาหลุดลอยออกจากพื้นอีกด้วย

astronautexerxcise005

ส่วนการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานนั้น จะเป็นเครื่อง ARED หรือ Advanced Resistive Exercise Device ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถยกน้ำหนักได้ โดยอาศัยการต้านแรงกับภาวะสุญญากาศแทนการเพิ่มน้ำหนักไปกดทับไว้ และยังสามารถฝึกทำสคอวตหรือออกกำลังเพื่อเสริมความแกร่งให้ร่างกายได้เช่นกัน

นอกจากเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว นักบินอวกาศยังจำเป็นจะต้องรักษาความฟิตของตนไว้เพื่อใช้ในกรณีที่ต้องออกไปปฏิบัติภารกิจภายนอกยาน หรือคือการทำ EVA ซึ่งจะต้องออกไปอยู่ในอวกาศนานถึง 8 ชั่วโมง ในชุดที่เทอะทะและยากต่อการเคลื่อนย้ายไปมา ที่ต้องใช้แรงพอสมควรเพื่อจะทำงาน หยิบจับเครื่องมือ หรือแม้แต่เคลื่อนย้ายไปมาขณะอยู่ในอวกาศ

astronautexerxcise004

ทั้งหมดนี้ต่างเริ่มต้นจากการเตรียมร่างกาย โดยเริ่มตั้งแต่ตอนที่นักบินอวกาศแต่ละคนถูกประกาศเข้ารับการฝึกเลย ซึ่งในส่วนนี้จะกินระยะเวลาการฝึกนาน 2 ปีด้วยกัน เพื่อเตรียมทั้งร่างกาย จิตใจ และความรู้ต่าง ๆ ก่อนที่จะตามมาสู่ช่วงเวลา 6 เดือนสุดท้ายเพื่อเตรียมพร้อมไปอวกาศ และอีกมากถึง 6 วันต่อสัปดาห์กับการออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายไม่สูญเสียมวลกระดูกและกล้ามเนื้อไปมากเกินความจำเป็น รวมถึงเพื่อให้พร้อมทำงานในสภาวะไร้น้ำหนักได้นานถึงอย่างน้อยครึ่งปี

แม้จะฟังดูเป็นอาชีพที่ไม่น่าจะมาข้องเกี่ยวกับการรักษาสภาพร่างกาย แต่การจะเป็นนักบินอวกาศได้นั้น พวกเขาต้องเสียสละอะไรหลายอย่างไป เพื่อให้ออกไปท้าทายสภาพแวดล้อมอันไม่คุ้นชินของอวกาศได้ และการรักษาความฟิตของตนเองแบบแทบทุกวันไปตลอดอาชีพของเขา ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นต้องทำเช่นกัน

และในวันนี้คุณก็สามารถลองนำทริกการออกกำลังกายของนักบินอวกาศไปลองปรับใช้กันดูได้เช่นกันนะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook