ธ.กรุงเทพ จับมือ สนพ.ประพันธ์สาส์น เปิดค่ายวรรณกรรมแบบไฮบริด

ธ.กรุงเทพ จับมือ สนพ.ประพันธ์สาส์น เปิดค่ายวรรณกรรมแบบไฮบริด

ธ.กรุงเทพ จับมือ สนพ.ประพันธ์สาส์น เปิดค่ายวรรณกรรมแบบไฮบริด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผ่านพ้นไปพร้อมกับได้รับคลังความรู้แบบเต็มเป้ สำหรับน้องๆ นักเรียน-นักศึกษา ระดับชั้นมัธยมปลาย และอุดมศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือก 40 คน ให้เข้าร่วมโครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์” ปีที่ 7 ในค่ายวรรณกรรมรูปแบบออนไลน์และออนกราวด์ เมื่อวันที่ 29-31 ตุลาคม 2564 พร้อมทุนรางวัลเพื่อต่อยอดความคิด รวมทุนรางวัลสูงถึงแปดแสนบาท

ซึ่งกิจกรรมดี ๆ นี้ จัดโดย สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น และด้วยการสนับสนุนหลักของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อสานต่อโครงการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของเยาวชนไทย เพิ่มพูนประสบการณ์ให้มีรากฐานที่แข็งแรง พร้อมแนะแนวพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรชื่อดังชั้นครู และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่าน การเขียน และวิจารณ์ร่วมให้ความรู้ 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง ศิลปินแห่งชาติ คุณวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง นักเขียนสารคดีชื่อดัง ซึ่งได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีนี้ และ คุณจรูญพร ปรปักษ์ประลัย นักวิจารณ์มือรางวัล

123(1)

อาจารย์ชมัยภร พูดถึงภาพรวมค่ายของปีนี้ว่า “ได้ปรับปรุงในการเลือกงานวรรณกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรม โดยใช้ผลงานของศิลปินแห่งชาติ ร่วมกับการใช้ประเด็นที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ซึ่งผู้ร่วมอบรมสามารถทำโจทย์นั้นสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ตามสมควร ในระยะเวลาอันจำกัด

ศิลปินแห่งชาติยังให้ข้อคิดถึงเยาวชนในวงกว้างอีกด้วยว่า "ทุกครั้งที่คุณรับสารเข้ามาในตัว คุณต้องมีเหตุผล คุณต้องไตร่ตรอง คุณต้องวิเคราะห์ คุณต้องสังเคราะห์เป็น แค่นั้นแหละ มันก็จะเข้ามาอยู่ในตัวเองเรียบร้อย แล้วพอเราไปอ่านหนังสือมันก็เพิ่มเข้าไป เพิ่มเข้าไป เพราะฉะนั้นก็ฝากน้อง ๆ ที่อยากเข้าโครงการนี้ว่าจงอ่านทั้งหนังสือและชีวิตด้วยค่ะ"

ทางด้าน ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ผู้สนับสนุนโครงการตั้งแต่ปีแรก กล่าวว่า

“ผมก็ขอชื่นชม และขอแสดงความยินดีกับน้อง ๆ ที่ได้มีโอกาสถูกคัดเลือกเข้ามา เข้าค่ายโครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 7 แล้ว ก็ได้ทราบข้อมูลอีกด้วยว่า มีน้อง ๆ ส่งงานเข้ามามากกว่าพันคน และ 40 คนได้รับการคัดเลือกเพื่อมาเข้าค่ายครั้งนี้ ส่วนคนอื่นที่อาจจะไม่ได้ถูกคัดเลือกเข้ามาเข้าค่ายในครั้งนี้ ก็ขอให้พยายามต่อไป ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่น้อง ๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะ ในด้านการเขียน การวิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ จะเป็นทักษะที่ติดตัวน้อง ๆ ตลอดไป"

สำหรับผู้ได้รับรางวัลดีเด่น ในปีนี้ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภทสารคดี ได้แก่ นางสาวเบญจมาศ มังคะชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปี 4 นางสาวกวิสรา เพ็ชรไทย ปีที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นายวรโชติ ต๊ะนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 4 ประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่ นายธณภัทร เหล่าสุวรรณ์ ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายนพรัตน์ ภักดีศิริวงษ์ ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นางสาวอธิษฐาน ก๋งอุบล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปี 4

123(3)

และประเภทเรื่องสั้น นางสาวธุวพร มีโพธิ์ ปีที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต นางสาวรพิดา จารุจารีต ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นางสาวรัญชนา สิริประภาสุข มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 4 นายภคพล คุ้มครอง ปีที่ 1คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายมูฮัมมัดอามาล อาเก็บอุไรมหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 1

ด้าน นายปิติ มานุชานนท์ นิสิตปีที่ 3 วิชาเอกภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ เปิดความรู้สึก หลังร่วมค่ายครั้งนี้ว่า “รู้จักโครงการนี้จากอาจารย์ที่คณะครับ แล้วก็ตัดสินใจส่งมา เพราะว่าตรงกับความสนใจที่เรียนอยู่ แล้วก็หลังจากที่ได้เข้ามาอบรมได้ประโยชน์มาก ๆ เลย ทั้งอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วก็มีประสบการณ์สอนเรา ดีมาก ๆ สามารถ นำเนื้อหาที่ได้ ไปปรับใช้ ที่สำคัญคือ ได้เพื่อนใหม่ ๆ จากโครงการนี้ หลาย ๆ คนที่มา ก็มีความสนใจแบบเดียวกัน แล้วก็สามารถแลกเปลี่ยน เรียนรู้กันได้ ขอบคุณครับ”

ส่วนความเห็นของ คุณอาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น กล่าวในฐานะผู้จัดโครงการว่า

“ถ้านักเรียนมีความรู้ ความสามารถในโครงการนี้อย่างเหมาะสมกับระดับชั้นแล้ว จะทำให้การเรียนการสอนในกลุ่มประสบการณ์อื่น ดำเนินได้ด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน เยาวชนจะได้เรียนรู้แบบอย่างของภาษาไทยอันรุ่มรวย ละเมียดละไม ซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติที่ควรค่าแก่การศึกษาเพื่ออนุรักษ์ สืบทอด และพัฒนาให้สง่างามยั่งยืนสืบไป”

สำหรับกติกาในการเข้าร่วมโครงการฯ ให้น้อง ๆ เลือกอ่านหนังสือที่ทางโครงการฯ ได้กำหนดไว้ ซึ่งต้องเขียนต้นฉบับเป็นภาษาไทยอาจเป็นหนังสือประเภทสารคดีหรือบันเทิงคดีก็ได้ เช่น สารคดีแนวต่าง ๆ กวีนิพนธ์ และนวนิยายคลาสสิก

123(4)

โดยคณะกรรมการจะคัดบทวิจารณ์ดีที่สุด 40 บท ได้รับเงินรางวัลคนละ 20,000 บาท รวมเงินรางวัลทั้งสิ้น 800,000 บาท และจะได้เข้าค่ายอบรมงานวิจารณ์วรรณกรรม ซึ่งในปีนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงมีอยู่ การอบรมงานวิจารณ์วรรณกรรมจึงจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด คือมีเยาวชนเข้าร่วมเรียนรู้ในพื้นที่จริง 7 คน และผ่านระบบซูมอีก 33 คน

ติดตามบทสัมภาษณ์ และบรรยากาศการเข้าค่ายโครงการ "อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 7" ได้ทาง http://praphansarn.com/scholarships

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook